เมนู

[ว่าด้วยภิกษุผู้มักอ้วก]


วินิจฉัยในคำว่า โรมฏฺฐกสฺส นี้ พึงทราบดังนี้:-
เว้นภิกษุผู้นักอ้วกเสีย เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ ผู้ยังอาหาร
ที่อ้วกออกมาให้ค้างอยู่ในปากแล้วกลืนกิน. แต่ถ้าว่า อาหารที่อ้วกออกมานั้น
ไม่ทันค้าง ไหลลงลำคอไป ควรอยู่.
คำว่า ยํ ทียมานํ นี้ ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้วในโภชนวรรค.

[ว่าด้วยมีดตัดเล็บ]


สองบทว่า กุปฺปํ กริสฺสามิ มีความว่า เราจักทำซึ่งเสียง.
ไม่มีอาบัติเพราะตัดเล็บด้วยเล็บเป็นต้น . แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตมีดตัดเล็บ ก็เพื่อรักษาตัว.
บทว่า วีสติมฏฺฐํ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ให้แต่งเล็บทั้ง 20
ให้เกลี้ยงด้วยการขูด.
บทว่า มลมตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตให้แคะแต่มูลเล็บออกจากเล็บ.

[ว่าด้วยผมและหนวด]


บทว่า ขุรสิปาฏิกํ ได้แก่ ฝักมีดโกน.
สองบทว่า มสฺสุํ วปฺปาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ตัด
หนวดด้วยกรรไกร.
สองบทว่า มสฺส ํ วฑฺฒาเปนฺติ ได้แก่ ให้แต่งหนวดให้ยาว เครา
ที่คางที่เอาไว้ยาวดังเคราแพะ เรียกว่า หนวดดังพู่ขนโค.
บทว่า จตุรสฺสกํ ได้แก่ ให้แต่งหนวดเป็น 4 มุม.
บทว่า ปริมุขํ ได้แก่ ให้ทำการขมวดกลุ่มแห่งขนที่อก.
บทว่า อฑฺฒรุกํ ได้แก่ เอาไว้กลุ่มขนที่ท้อง.

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏในที่
ทั้งปวงมีตัดหนวดเป็นต้น.
หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา สมฺพาเธ โลมํ มีความว่า เรา
อนุญาตให้นำขนในที่แคบออก เพราะปัจจัย คือ อาพาธมีฝีแผลใหญ่และแผล
เล็กเป็นต้น .
หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา กตฺตริกาย มีความว่า เราอนุญาต
ให้ตัดผมด้วยกรรไกร เพราะปัจจัย คือ อาพาธด้วยอำนาจแห่งโรคที่ศีรษะ คือ
ฝีแผลใหญ่และแผลเล็ก.
ไม่มีอาบัติ เพราะถอนขนจมูกด้วยวัตถุมีกรวดเป็นต้น ส่วนแหนบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อรักษาตัว.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ปลิตํ คาหาเปตพฺพํ นี้ พึงทราบ
ดังนี้ :-
ขนใดขึ้นที่คิ้ว หรือที่หน้าผาก หรือที่ดงหนวด เป็นของน่าเกลียด
ขนเช่นนั้นก็ตาม จะหงอกก็ตาม ไม่หงอกก็ตาม สมควรถอนเสีย.
บทว่า กํสปตฺถริกา ได้แก่ พ่อค้าเครื่องสำริด.
บทว่า พนฺธนมตฺตํ ได้แก่ ปลอกแห่งมีดและไม้เท้าเป็นต้น .

[ว่าด้วยประคดเอว]


วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อกายพนฺธเนน นี้ พึงทราบดังนี้:-
ประคดเอว อันภิกษุผู้มิได้คาดออกไปอยู่ คนระลึกได้ในที่ใดพึงคาด
ในที่นั้น, คิดว่า จักคาดที่อาสนศาลา ดังนี้ จะไปก็ควร, นึกได้แล้วไม่ควร
เที่ยวบิณฑบาต ตลอดเวลาที่ยังมิได้คาด.
ประคดเอวมีสายมาก ชื่อ กลาพุกํ.
ประคดเอวคล้ายหัวงูน้ำ ชื่อ เทฑฺฑุภกํ.