เมนู

[ว่าด้วยพัด]


พัดเรียกว่า วิธูปนํ แปลว่า วัตถุสำหรับโบก. ส่วนพัดมีด้ามอย่าง
ใบตาล จะเป็นของที่สานด้วยใบตาลหรือสานด้วยเส้นดอกไม้ไผ่และเส้นตอกงา
หรือทำด้วยขนหางนกยูง หรือทำด้วยจัมมวิกัติทั้งหลายก็ตามที ควรทุกอย่าง.
พัดปัดยุงนั้น แม้มีด้ามทำด้วยงาหรือเขาก็ควร. แม้พัดปัดยุงที่ทำด้วย
ย่านแห่งไม้เกดและใบมะพูดเป็นต้น สงเคราะห์เข้ากับพัดที่ทำด้วยเปลือกไม้.

[ว่าด้วยร่ม]


วินิจฉัยในคำว่า คิลานสฺส ฉตฺตํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุใด มีความร้อนในกาย หรือมีความกลุ้มใจ หรือมีตาฟางก็ดี
หรืออาพาธบางชนิดอย่างอื่น ที่เว้นร่มเสีย ย่อมเกิดขึ้น, ภิกษุนั้นควรกางร่ม
ในบ้านหรือในป่า. อนึ่ง เมื่อฝนตก จะกางร่มเพื่อรักษาจีวร และในที่ควร
กลัวสัตว์ร้ายและโจร จะกางร่มเพื่อป้องกันตนบ้าง ก็ควร. ส่วนร่มที่ทำด้วย
ใบไม้ใบเดียว ควรในที่ทั้งปวงทีเดียว.

[ว่าด้วยทัณฑสมมติเป็นต้น]


บทว่า อุสิสฺส ตัดบทว่า อสิ อสฺส แปลว่า ดาบของโจรนั้น.
บทว่า วิโชตลติ ได้แก่ ส่องแสงอยู่.
วินิจฉัยในคำว่า ทณฺฑสมฺมตึ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ไม้คาน ควรแก่ประมาณ คือยาว 4 ศอกเท่านั้น อันสงฆ์พึงสมมติ
ให้. ไม้คานที่หย่อนหรือเกินกว่า 4 ศอกนั้น แม้เว้นจากการสมมติ ก็ควรแก่
ภิกษุทั้งปวง.
ส่วนสาแหรก ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. สงฆ์จึงสมมติให้เฉพาะ
แก่ภิกษุผู้อาพาธเท่านั้น.

[ว่าด้วยภิกษุผู้มักอ้วก]


วินิจฉัยในคำว่า โรมฏฺฐกสฺส นี้ พึงทราบดังนี้:-
เว้นภิกษุผู้นักอ้วกเสีย เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ ผู้ยังอาหาร
ที่อ้วกออกมาให้ค้างอยู่ในปากแล้วกลืนกิน. แต่ถ้าว่า อาหารที่อ้วกออกมานั้น
ไม่ทันค้าง ไหลลงลำคอไป ควรอยู่.
คำว่า ยํ ทียมานํ นี้ ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้วในโภชนวรรค.

[ว่าด้วยมีดตัดเล็บ]


สองบทว่า กุปฺปํ กริสฺสามิ มีความว่า เราจักทำซึ่งเสียง.
ไม่มีอาบัติเพราะตัดเล็บด้วยเล็บเป็นต้น . แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตมีดตัดเล็บ ก็เพื่อรักษาตัว.
บทว่า วีสติมฏฺฐํ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ให้แต่งเล็บทั้ง 20
ให้เกลี้ยงด้วยการขูด.
บทว่า มลมตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตให้แคะแต่มูลเล็บออกจากเล็บ.

[ว่าด้วยผมและหนวด]


บทว่า ขุรสิปาฏิกํ ได้แก่ ฝักมีดโกน.
สองบทว่า มสฺสุํ วปฺปาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ตัด
หนวดด้วยกรรไกร.
สองบทว่า มสฺส ํ วฑฺฒาเปนฺติ ได้แก่ ให้แต่งหนวดให้ยาว เครา
ที่คางที่เอาไว้ยาวดังเคราแพะ เรียกว่า หนวดดังพู่ขนโค.
บทว่า จตุรสฺสกํ ได้แก่ ให้แต่งหนวดเป็น 4 มุม.
บทว่า ปริมุขํ ได้แก่ ให้ทำการขมวดกลุ่มแห่งขนที่อก.
บทว่า อฑฺฒรุกํ ได้แก่ เอาไว้กลุ่มขนที่ท้อง.