เมนู

[345] จริงอยู่ วัตถุมีไม้เส้าเป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ที่ถึงความรวมลง
ว่าเป็นเครื่องรอง มีช่องเจาะไว้ข้างในก็ตาม เจาะไว้โดยรอบก็ตาม ควร
เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า เอกภาชเน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
หากว่า ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาผลไม้ หรือขนมจากภาชนะไป, ครั้นเมื่อ
ภิกษุนั้นหลีกไปแล้ว การที่ภิกษุนอกนี้จะฉันผลไม้หรือขนมที่ยังเหลือ ย่อม
ควร. แม้ภิกษุนอกจากนี้ จะถือเอาอีกในขณะนั้นก็ควร.

[ว่าด้วยการคว่ำบาตร]


วินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐหงฺเคหิ นี้พึงทราบดังนี้:-
การที่สงฆ์คว่ำบาตรในภายในสีมา หรือไปสู่ภายนอกสีมาคว่ำบาตรใน
ที่ทั้งหลายมีแม่น้ำเป็น แก่อุบาสกผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อันหนึ่ง ๆ ย่อมควรทั้ง
นั้น.
ก็แล เมื่อบาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วอย่างนั้น ไทยธรรมไร ๆ ในเรือน
ของอุบาสกนั้น อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับ. พึงส่งข่าวไปในวัดแม้เหล่าอื่นว่า
ท่านทั้งหลายอย่ารับภิกษา ในเรือนของอุบาสกโน้น
ก็ในการที่จะหงายบาตร ต้องให้อุบาสกนั้น ขอเพียงครั้งที่ 3 ให้
อุบายสกนั้นละหัตถบาสแล้ว หงายบาตรด้วยญัตติทุติยกรรม.

[เรื่องโพธิราชกุมาร]


สองบทว่า ปุรกฺขิตฺวา ได้แก่ จัดไว้โดยความเป็นยอด.
บทว่า สํหรนฺตุ มีความว่า ผ้าทั้งหลายอันท่านจงม้วนเสีย.
บทว่า เจฬปฏิกํ ได้แก่ เครื่องปูลาด คือ ผ้า

ได้ยินว่า โพธิราชกุมารนั้น ปูลาดแล้วด้วยความมุ่งหมายนี้ว่า ถ้าว่า
เราจักได้บุตร, พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเหยียบผืนผ้าของเรา.
จริงอยู่ โพธิราชกุมารนั้น ไม่สมควรได้บุตร; เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงเหยียบ. หากว่า พระองค์พึงทรงเหยียบไซร้, ภาย
หลังเมื่อกุมารไม่ได้บุตร จะพึงถือทิฏฐิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ มิใช่พระ
สัพพัญญู. นี้เป็นเหตุในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบก่อน.
ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเล่า เธอเหล่าใด ไม่รู้อยู่ พึงเหยียบ, เธอเหล่านั้น
พึงเป็นผู้ถูกพวกคฤหัสถ์ดูหมิ่น, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
บัญญัติสิกขาบท เพื่อปลดภิกษุทั้งหลายจากความดูหมิ่น. นี้เป็นเหตุในการทรง
บัญญัติสิกขาบท.
ข้อว่า มงฺคลตฺถาย ยาจิยมาเนน มีความว่า สตรีจะเป็นผู้ปราศ
ครรภ์ หรือเป็นผู้มีครรภ์แก่ก็ตามที, อันภิกษุซึ่งเขาอ้อนวอนเพื่อต้องการมงคล
ในฐานะเห็นปานนั้น สมควรเหยียบ.

[ว่าด้วยเครื่องเช็ดเท้า]


เครื่องปูลาด เป็นของที่เขาลาดไว้ใกล้ที่ล้างเท้า เพื่อประโยชน์
ที่จะเหยียบด้วยเท้าซึ่งล้างแล้ว ชื่อว่าเครื่องลาดสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว . ภิกษุ
ควรเหยียบเคลื่องลาดนั้น.
วัตถุที่มีท่าทางคล้ายฝักบัว ซึ่งเขาทำให้หนามตั้งขึ้น เพื่อเช็ดเท้า
ชื่อว่าเครื่องเช็ดเท้า, เครื่องเช็คเท้านั้น จะเป็นของกลม หรือต่างโดยสัณฐาน
มี 4 เหลี่ยมเป็นต้นก็ตามที เป็นของที่ทรงห้ามทั้งนั้น เพราะเป็นของอุดหนุน
แก่ความเป็นผู้มักมาก; ไม่ควรรับ ไม่ควรใช้สอย.
ศิลา เรียกว่า กรวด แม้หินฟองน้ำ ก็ควร.