เมนู

[345] จริงอยู่ วัตถุมีไม้เส้าเป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ที่ถึงความรวมลง
ว่าเป็นเครื่องรอง มีช่องเจาะไว้ข้างในก็ตาม เจาะไว้โดยรอบก็ตาม ควร
เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า เอกภาชเน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
หากว่า ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาผลไม้ หรือขนมจากภาชนะไป, ครั้นเมื่อ
ภิกษุนั้นหลีกไปแล้ว การที่ภิกษุนอกนี้จะฉันผลไม้หรือขนมที่ยังเหลือ ย่อม
ควร. แม้ภิกษุนอกจากนี้ จะถือเอาอีกในขณะนั้นก็ควร.

[ว่าด้วยการคว่ำบาตร]


วินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐหงฺเคหิ นี้พึงทราบดังนี้:-
การที่สงฆ์คว่ำบาตรในภายในสีมา หรือไปสู่ภายนอกสีมาคว่ำบาตรใน
ที่ทั้งหลายมีแม่น้ำเป็น แก่อุบาสกผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อันหนึ่ง ๆ ย่อมควรทั้ง
นั้น.
ก็แล เมื่อบาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วอย่างนั้น ไทยธรรมไร ๆ ในเรือน
ของอุบาสกนั้น อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับ. พึงส่งข่าวไปในวัดแม้เหล่าอื่นว่า
ท่านทั้งหลายอย่ารับภิกษา ในเรือนของอุบาสกโน้น
ก็ในการที่จะหงายบาตร ต้องให้อุบาสกนั้น ขอเพียงครั้งที่ 3 ให้
อุบายสกนั้นละหัตถบาสแล้ว หงายบาตรด้วยญัตติทุติยกรรม.

[เรื่องโพธิราชกุมาร]


สองบทว่า ปุรกฺขิตฺวา ได้แก่ จัดไว้โดยความเป็นยอด.
บทว่า สํหรนฺตุ มีความว่า ผ้าทั้งหลายอันท่านจงม้วนเสีย.
บทว่า เจฬปฏิกํ ได้แก่ เครื่องปูลาด คือ ผ้า