เมนู

[ว่าด้วยจงกรมและเรือนไฟ]


บทว่า อภิสนฺนกายา คือ ผู้มีกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษมี
เสมหะเป็นต้น.
เสาสำหรับใส่ลิ่ม ขนาดเท่ากับบานประตูพอดี เรียกชื่อว่าอัคคฬวัฏฎิ
เสาสำหรับใส่ลิ่มนั้น เป็นเสาที่เขาเจาะรูไว้ 3-4 รู แล้ว ใส่ลิ่ม.
ห่วงสำหรับใส่ดาล ที่เขาเจาะบานประตูแล้วตรึงติดที่บานประตูนั้น
เรียกชื่อว่า สลักเพชร. ลิ่มที่เขาทำช่องที่ตรงกลางสลักเพชรแล้วสอดไว้ ชื่อ
สูจิกา กลอนที่เขาติดไว้ข้างบนสลักเพชร ชื่อฆฎิกา.
สองบทว่า มณฺฑลิกํ กาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ก่อพื้นให้ต่ำ.
ปล่องควันนั้น ได้แก่ ช่องสำหรับควันไฟออก.
บทว่า วาเสตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้อบด้วยของหอมทั้งหลาย.
อุทกนิธานนั้น ได้แก่ ที่สำหรับขังน้ำ ภิกษุใช้หม้อตักน้ำขังไว้ใน
นั้นแล้ว เอาขันตักน้ำใช้.
ซุ้มน้ำ ได้แก่ ซุ้มประตู.
วินิจฉัยในคำว่า ติสฺโส ปฏิจฺฉาทิโย นี้ พึงทราบดังนี้ :-
เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ 1 เครื่องปกปิด คือ น้ำ 1 ควรแก่
ภิกษุผู้ทำบริกรรมเท่านั้น. ไม่ควรในสามีจิกรรมทั้งหลายมีอภิวาทเป็นต้นที่ยัง
เหลือ. เครื่องปกปิด คือ ผ้า ควรในกรรมทั้งปวง
ข้อว่า น้ำไม่มีนั้น ได้แก่ ไม่มีสำหรับอาบ. I
บทว่า ตุลํ ได้แก่ คันสำหรับโพงเอาน้ำขึ้น ดังคันชั่งของพวกชาว
ตลาด.
[344] ยนต์ที่เทียมโค หรือใช้มือจับชักด้วยเชือกอันยาว เรียกว่า
ระหัด.