เมนู

สองบทว่า กณฺณกิตาโย โหนฺติ คือ เป็นของอันสนิมจับ.
สองบทว่า กิณฺเณน ปูเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้เต็ม
ด้วยผงเป็นแป้งเหล้า.
บทว่า สตฺตุยา มีความว่า เราอนุญาตให้บรรลุให้เต็มด้วยผงแป้งเจือ
ด้วยขมิ้น.
แม้จุลแห่งศิลา เรียกว่า ผงหิน. ความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้
เต็มด้วยผงศิลานั้น.
สองบทว่า มธุสิตฺถเกน สาเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้พอก
(เข็ม) ด้วยขี้ผึ้ง.
สองบทว่า สริตกมฺปิ ปริภิชฺชติ มีความว่า ขี้ผึ้งที่พอกไว้นั้น
แตกกระจาย.
บทว่า สริตสิปาฏกํ ได้แก่ ผ้าห่อขี้ผึ้ง คือปักมีด.
ในกุรุนที่กล่าวว่า และผูกมีดก็อนุโลมตามผ้าห่อเข็มนั้น.

[ว่าด้วยไม้สะดึง]


ไม้สะดึงนั้น ได้แก่ แม่สะดึงบ้าง เสื่อหวายหรือเสื่อลำแพนอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่จะพึงปูบนแม่สะดึงนั้นบ้าง.
เชือกผูกไม้สะดึงนั้น ได้แก่ เชือกสำหรับผูกจีวรที่ไม้สะดึงเมื่อเย็บ
จีวร 2 ชั้น.
สองบทว่า กฐินํ นปฺปโหติ มีความว่า ไม้สะดึงที่ทำตามขนาด
ของภิกษุที่สูง จีวรของภิกษุที่เตี้ย เมื่อขึงลาดบนไม้สะดึงนั้นย่อมไม่พอ คือ
หลวมอยู่ภายในเท่านั้น, อธิบายว่า ไม่ถึงไม้ขอบสะดึง.
บทว่า ทณฺฑกฐินํ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกสะดึงอื่นตามขนาด
ของภิกษุผู้เตี้ยนอกนี้ ในท่ามกลางแห่งแม่สะดึงยาวนั้น.

บทว่า วิทลกํ ได้แก่ การพับชายโดยรอบแห่งเสื่อหวายทำให้เป็น
2 ชั้น พอได้ขนาดกับกระทงสะดึง.
บทว่า สุลากํ ได้แก่ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่างแห่งจีวร 2 ชั้น.
บทว่า วินทฺธนรชฺชุํ ได้แก่ เชือกที่มัดแม่สะดึงเล็กกับแม่สะดึง
ใหญ่ ที่ไม้สะดึงนั้น.
บทว่า วินทุธนสุตฺตกํ ได้แก่ ด้ายที่ตรึงจีวรติดกับแม่สะดึงเล็ก.
สามบทว่า วินทฺธิตฺวา จีวรํ สิพฺเพตุํ มีความว่า เราอนุญาต
ให้ตรึงจีวรที่แม่สะดึงนั้น ด้วยด้ายนั้นแล้วเย็บ.
สองบทว่า วิสมา โหนฺติ มีความว่า ด้วยเกษียนบางแห่งเล็ก
บางแห่งใหญ่.
บทว่า กฬิมฺพกํ ได้แก่ วัตถุมีใบตาลเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับทำการวัดขนาด.
บทว่า โมฆสุตฺตกํ ได้แก่ การทำแนวเครื่องหมาย ด้วยเส้น
บรรทัคขมิ้น ดังการทำแนวเครื่องหมายที่ไม้ ด้วยเส้นบรรทัดดำของพวกช่าง
ไม้ฉะนั้น.
สองบทว่า องฺคุลิยา ปฏิคฺคณฺหนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
(เย็บจีวร) รับปากเข็มด้วยนิ้วมือ.
บทว่า ปฏิคฺคหํ ได้แก่ สนับแห่งนิ้วมือ.
ภาชนะมีถาดและผอบเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อภาชนะสำหรับใส่
และกระบอก.
บทว่า อุจฺจวตฺถุกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุถมดินทำพื้นที่
ให้สูง.

หลายบทว่า โอคุมฺเพตฺวา อุลฺลิตฺตาวลิตฺตํ กาตุํ มีความว่า
เราอนุญาตให้ภิกษุรื้อหลังคาเสียแล้วทำระแนงให้ทึบ โบกทั้งข้างในและข้างนอก
ด้วยดินเหนียว.
บทว่า โคฆํสิกาย มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ไม้ไผ่หรือไม้จริง
ไว้ข้างในแล้วม้วนแม่สะดึงกับไม้นั้น.
บทว่า พนฺธนรชฺชุํ ได้แก่ เชือกสำหรับมัดแม่สะดึงที่ม้วนแล้ว
อย่างนั้น

[ว่าด้วยเครื่องกรอง]


ผ้ากรองที่ผูกติดกับไม้ 3 อัน ชื่อกระชอนสำหรับกรอง.
ข้อว่า โย น ทเทยฺย มีความว่า ภิกษุใดไม่ให้ผ้ากรองแก่ภิกษุ
ผู้ไม่มีผ้ากรองนั่นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นแท้.
ฝ่ายภิกษุใด เมื่อผ้ากรองในมือของตนแม้มีอยู่ แต่ยังยืม ไม่อยากให้
ก็อย่าพึงให้ภิกษุนั้น.
บทว่า ทณฺฑกปริสฺสาวนํ มีความว่า พึงผูกผ้ากับไม้ที่ทำดังแม่
บันไดขั้นกลาง ซึ่งผูกติดบนขา 4 ขา แล้วเทน้ำลงตรงกลางไม้ที่ดังเครื่องกรอง
ด่างของพวกช่างย้อม. น้ำนั้นเต็มทั้ง 2 ห้องแล้วย่อมไหลออก. ภิกษุทั้งหลาย
[343] ลาดผ้ากรองใดลงในน้ำแล้วเอาหม้อตักน้ำ ผ้ากรองนั้น ชื่อ โอตฺถริกํ.
จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายผูกผ้าติดกับไม้ 4 อัน ปักหลัก 4 หลักลงใน
น้ำแล้ว ผูกผ้ากรองนั้นติดกับหลักนั้น ให้ริมผ้าโดยรอบทั้งหมดพ้นจากน้ำ
ตรงกลางหย่อนลง แล้วเอาหม้อตักน้ำ.
เรือนที่ทำด้วยจีวร เรียกว่า มุ้งกันยุง.