เมนู

จีวร เตียง และตั่ง เป็นของบังสกุล ย่อมควร. ส่วนของที่จะพึง
กลืนกิน อันเขาให้แล้วนั่นแล พึงถือเอา.
บทว่า จลกานิ ได้แก่ อามิสที่จะทิ้งคายออกไม่กลืน.
บทว่า อฏฺฐิกานิ ได้แก่ ก้างปลาหรือกระดูกเนื้อ.
บทว่า อุจฺฉิฏฺโฐทกํ ได้แก่ น้ำบวนปาก. เมื่อภิกษุผู้ใช้บาตร
ขนทิ้งซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในอามิสที่เป็นเดนเป็นต้นนั้น เป็นทุกกฏ ภิกษุย่อม
ไม่ได้ แม้เพื่อจะทำบาตรให้เป็นกระโถนล้างมือ จะใส่แม้ซึ่งน้ำล้างมือล้างเท้า
ลงในบาตรแล้วนำไปเท ก็ไม่ควร. จะจับบาตรที่สะอาด ไม่เปื้อน ด้วยมือ
ที่เปื้อน ก็ไม่ควร. แต่จะเอามือซ้ายเทน้ำลงในบาตรที่สะอาดนี้แล้ว อมเอา
น้ำอม 1 แล้วจึงจับด้วยมือที่เปื้อน ควรอยู่. จริงอยู่ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บาตรนั้น ย่อมเป็นบาตรเปื้อนด้วย.
อนึ่ง จะล้างมือที่เปื้อนด้วยน้ำข้างนอกแล้ว จึงจับ (บาตร) ควรอยู่
เมื่อฉันเนื้อปลาและผลาผลเป็นต้นอยู่ ในของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นก้าง
หรือกระดูกหรือเป็นเดน เป็นผู้ใคร่จะทิ้งเสีย จะเอาสิ่งนั้นวางลงในบาตร
ย่อมไม่ได้. ส่วนสิ่งใด ยังอยากจะฉันต่อไปอีก จะเอายาสิ่งนั้นวางลงในบาตร
ก็ได้. จะวางเนื้อที่มีกระดูกและปลาที่มีก้างเป็นต้น ในบาตรนั้นและเอามือ
ปล้อนออกฉัน ก็ควร. แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เอาออกจากปากแล้ว ยังอยากจะฉันอีก
จะเอาสิ่งนั้นวางในบาตรไม่ได้.
ชิ้นขิงและชิ้นมะพร้าวเป็นต้น กัดกินแล้วจะวางอีกก็ได้.

[ว่าด้วยมีดและเข็ม]


บทว่า นมตกํ ได้แก่ ท่อนผ้าสำหรับห่อมีด.
บทว่า ทณฺฑสตฺถกํ ได้แก่ มีดที่เข้าด้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมีด
พับหรือมีดอื่นก็ได้.

สองบทว่า กณฺณกิตาโย โหนฺติ คือ เป็นของอันสนิมจับ.
สองบทว่า กิณฺเณน ปูเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้เต็ม
ด้วยผงเป็นแป้งเหล้า.
บทว่า สตฺตุยา มีความว่า เราอนุญาตให้บรรลุให้เต็มด้วยผงแป้งเจือ
ด้วยขมิ้น.
แม้จุลแห่งศิลา เรียกว่า ผงหิน. ความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้
เต็มด้วยผงศิลานั้น.
สองบทว่า มธุสิตฺถเกน สาเรตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้พอก
(เข็ม) ด้วยขี้ผึ้ง.
สองบทว่า สริตกมฺปิ ปริภิชฺชติ มีความว่า ขี้ผึ้งที่พอกไว้นั้น
แตกกระจาย.
บทว่า สริตสิปาฏกํ ได้แก่ ผ้าห่อขี้ผึ้ง คือปักมีด.
ในกุรุนที่กล่าวว่า และผูกมีดก็อนุโลมตามผ้าห่อเข็มนั้น.

[ว่าด้วยไม้สะดึง]


ไม้สะดึงนั้น ได้แก่ แม่สะดึงบ้าง เสื่อหวายหรือเสื่อลำแพนอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่จะพึงปูบนแม่สะดึงนั้นบ้าง.
เชือกผูกไม้สะดึงนั้น ได้แก่ เชือกสำหรับผูกจีวรที่ไม้สะดึงเมื่อเย็บ
จีวร 2 ชั้น.
สองบทว่า กฐินํ นปฺปโหติ มีความว่า ไม้สะดึงที่ทำตามขนาด
ของภิกษุที่สูง จีวรของภิกษุที่เตี้ย เมื่อขึงลาดบนไม้สะดึงนั้นย่อมไม่พอ คือ
หลวมอยู่ภายในเท่านั้น, อธิบายว่า ไม่ถึงไม้ขอบสะดึง.
บทว่า ทณฺฑกฐินํ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกสะดึงอื่นตามขนาด
ของภิกษุผู้เตี้ยนอกนี้ ในท่ามกลางแห่งแม่สะดึงยาวนั้น.