เมนู

การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัย
ที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.
สองบทว่า พาหิรโลมึ อุณฺณึ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่มผ้า
ปาวารขนสัตว์เอาขนไว้ข้างนอก. เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทรงอย่างนั้น. จะห่ม
เอาขนไว้ข้างใน ควรอยู่. .
สมณกัปปกถา ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งภูตคามสิกขาบท.
หลายบทว่า น ภิกฺขเว อตฺตโน องฺคชาตํ มีความว่า เป็น
ถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาตเท่านั้น. แม้เมื่อภิกษุตัดอวัยวะอื่นอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีหูจมูกและนิ้วเป็นต้นก็ตาม ยังทุกข์เช่นนั้นให้เกิดขึ้นก็ตาม เป็น
ทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กอกโลหิตหรือตัดอวัยวะเพราะถูกงูหรือร่าน
กัดเป็นต้นก็ตาม เพราะปัจจัยคืออาพาธอย่างอื่นก็ตาม.

[ว่าด้วยบาตร]


สามบทว่า จนฺทนคณฺฐี อุปฺปนฺนา โหติ มีความว่า ปุ่มไม้จันทน์
เป็นของเกิดขึ้นแล้ว.
ได้ยินว่า ราชคหเศรษฐีนั้นให้ขึงข่ายทั้งเหมือน้ำ และใต้น้ำแล้ว
เล่นในแม่น้ำคงคา. ปุ่มไม้จันทน์อันกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดลอยมาติดที่ข่าย.
บุรุษทั้งหลายของเศรษฐีนั้น ได้นำปุ่มไม้จันทน์นั้นมาให้. ปุ่มไม้จันทน์นั้น
เป็นของเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแผลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว
ในบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ นี้.
ส่วนฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐานพึงทราบว่า ไม่ได้ทรงห้าม.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว โสวณฺณมโย ปตฺโต เป็นต้น
พึงทราบดังนี้:-

ก็ถ้าว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ทำกับข้าวใส่ในภาชนะมีจานทองคำเป็นต้น
น้อมเข้าไปถวายในโรงครัว, ไม่ควรแม้เพื่อจะถูกต้อง.
อนึ่ง ภาชนะทั้งหลาย มีจานเป็นต้น ที่ทำด้วยแก้วผลึก ทำด้วย
กระจกและทำด้วยสำริดเป็นต้น ย่อมไม่ควร แต่เพียงใช้เป็นของส่วนตัวเท่านั้น
ใช้เป็นของสงฆ์ หรือเป็นคิหิวิกัติ (คือ เป็นของคฤหัสถ์) ควรอยู่.
บาตร แม้เป็นวิการแห่งทองแดง ก็ไม่ควร ส่วนภาชนะควร. คำ
ทั้งปวงที่ว่าดังนี้ ๆ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.
ส่วนบาตรที่แล้วด้วยแก้วมีแก้วอินทนิลเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสในบทว่า มณิมโย นี้.
บาตรแม้ล้วนแล้วด้วยทองห้าว ท่านรวมเข้าในบทว่า กํสมโย นี้
คำว่า เพื่อกลึง นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อประโยชน์แก่การทำ
ให้บาง
บังเวียนปกตินั้น ได้แก่ บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร.
บทว่า อาวตฺติตฺวา ได้แก่ กระทบกันและกัน.
วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตาธารฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
ในกุรุนทีกล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ซึ่งทำด้วยงาเถาวัลย์
และหวายเป็นต้น ควรวางซ้อน ๆ กันได้ 3 บาตร บนเชิงไม้ ควรวางซ้อน
กันได้ 2 บาตร.
ส่วนในมหาอรรถกถากล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ไม่เป็น
โอกาสแห่งบาตร 3 ใบ จะวางแต่ 2 ใบ ก็ควร. แม้ในเชิงบาตรไม้และเชิง
บาตรท่อนไม้ ซึ่งตกแต่งเกลี้ยงเกลาดี ก็มีนัยเหมือนกัน.

ก็แล เชิงบาตรไม้ที่คล้ายปลายเครื่องกลึง และเชิงบาทรท่อนไม้ที่ผูก
ด้วยไม้ 3 ท่อน ไม่เป็นโอกาสแห่งบาตรแม้ใบเดียว. แม้วางบนเชิงนั้นแล้ว
ก็ต้องนั่งเอามือยึดไว้อย่างนั้น. ส่วนบนพื้นพึงคว่ำวางไว้แต่ใบเดียวเท่านั้น.
บทว่า มิฒนฺเต ได้แก่ ริมเฉลียงและกระดานเลียบเป็นต้น. ก็ถ้าว่า
บาตรกลิ้งไปแล้ว จะค้างอยู่บนริมกระดานเลียบนั่นเอง; จะวางบนกระดานเลียบ
อันกว้างเห็นปานนั้น ก็ควร.
บทว่า ปริภณฺฑนฺเต ได้แก่ ริมกระดานเลียบอันแคบซึ่งเขาทำไว้
ที่ข้างภายนอก.
วินิจฉัยแม้ในกระดานเลียบอันแคบนี้ ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
กระดานเลียบนั่นแล.
บทว่า โจฬกํ ได้แก่ ผ้าที่เขาปูลาดแล้ววางบาตร. ก็เมื่อผ้านั้นไม่มี ควร
วางบนเสื่อลำแพนหรือบนเสืออ่อน หรือบนพื้นที่เขาทาขัดด้วยดินเหนียว หรือ
บนพื้นเห็นปานนั้น ซึ่งจะไม่ประทุษร้ายบาตร หรือบนทรายก็ได้.
แต่เมื่อภิกษุวางในที่มีดินร่วนและฝุ่นเป็นต้น หรือบนพื้นที่คมแข็ง
ต้องทุกกฏ.
โรงสำหรับเก็บบาตรนั้น จะก่อด้วยอิฐหรือทำด้วยไม้ ก็ควร.
หม้อสำหรับเก็บสิ่งของ ทรวดทรงคล้ายอ่างน้ำ มีปากกว้าง เรียกว่า
หม้อสำหรับเก็บบาตร.
สองบทว่า โย ลคฺเคยฺย มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้
แขวนบาตรในที่ใดที่หนึ่ง. จะผูกแขวนไว้แม้ที่ราวจีวร ก็ไม่ควร.
เตียงและตั่ง จะเป็นของที่เขาทำไวั เพื่อวางสิ่งของเท่านั้น หรือเพื่อ
นั่งนอน ก็ตามที, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้วางบาตรบนเตียงหรือตั่งอันใดอันหนึ่ง.

แต่จะมัดรวมกับของอื่นวางไว้ ควรอยู่. หรือจะผูกที่แม่แคร่ห้อยไว้
ก็ควร. จะผูกแล้ววางข้างบนเตียงและตั่ง ไม่ควรเหมือนกัน.
ก็ถ้าว่า เตียงหรือตั่ง เป็นของที่เขายกขึ้นพาดเป็นนั่งร้านบนราวจีวร
เป็นต้น, จะวางบนเตียงหรือตั่งนั้น. ก็ควร. จะเอาสายโยกคล้องบนจะงอยบ่า
แล้ววางบนตัก ก็ควร. ถึงบาตรที่คล้องบนจะงอยบ่าแม้เต็มด้วยข้าวสุก ก็ไม่
ควรวางบนร่ม. แต่จะวางบาตรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือบนร่มที่ผูกมัดเป็นร้าน
ม้าควรอยู่.
วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตหตฺเถน พึงทราบดังนี้:-
บาตรของภิกษุใดอยู่ในมือ ภิกษุนั้นแล ชื่อว่าผู้มีบาตรในมืออย่างเดียว
หามิได้, อนึ่ง ภิกษุผู้มีบาตรอยู่ในมือ ย่อมไม่ได้เพื่อผลักบานประตูอย่างเดียว
เท่านั้นหามิได้.
แต่อันที่จริง เมื่อบาตรอยู่ในมือหรือบนหลังเท้า หรือที่อวัยวะแห่ง
สรีระอันใดอันหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อจะผลักบานประตูหรือเพื่อจะถอดลิ่มสลัก
หรือเพื่อจะเอาลูกกุญแจไขแม่กุญแจ ด้วยมือหรือด้วยหลังเท้า หรือด้วยศีรษะ
หรือด้วยอวัยวะแห่งสรีระอันใดอันหนึ่ง. แต่คล้องบาตรบนจะงอยบ่าแล้ว ย่อม
ได้เพื่อเปิดบานประตูตามความสบายแท้.
กะโหลกน้ำเต้า เรียกว่า ตุมฺพกฏาห จะรักษากะโหลกน้ำเต้านั้น
ไว้ ไม่ควร. ก็แลได้มาแล้วก็จะใช้เป็นของยืม ควรอยู่. แม้ในกระเบื้อง
หม้อ ก็มีนัยเหมือนกัน.
กระเบื้องหม้อเรียกว่า ฆฏิกฏาห.
คำว่า อพฺภุมฺเม นี้ เป็นคำแสดงความตกใจ.
วินิจฉัยในบทว่า สพฺพปํสุกูลิเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

จีวร เตียง และตั่ง เป็นของบังสกุล ย่อมควร. ส่วนของที่จะพึง
กลืนกิน อันเขาให้แล้วนั่นแล พึงถือเอา.
บทว่า จลกานิ ได้แก่ อามิสที่จะทิ้งคายออกไม่กลืน.
บทว่า อฏฺฐิกานิ ได้แก่ ก้างปลาหรือกระดูกเนื้อ.
บทว่า อุจฺฉิฏฺโฐทกํ ได้แก่ น้ำบวนปาก. เมื่อภิกษุผู้ใช้บาตร
ขนทิ้งซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในอามิสที่เป็นเดนเป็นต้นนั้น เป็นทุกกฏ ภิกษุย่อม
ไม่ได้ แม้เพื่อจะทำบาตรให้เป็นกระโถนล้างมือ จะใส่แม้ซึ่งน้ำล้างมือล้างเท้า
ลงในบาตรแล้วนำไปเท ก็ไม่ควร. จะจับบาตรที่สะอาด ไม่เปื้อน ด้วยมือ
ที่เปื้อน ก็ไม่ควร. แต่จะเอามือซ้ายเทน้ำลงในบาตรที่สะอาดนี้แล้ว อมเอา
น้ำอม 1 แล้วจึงจับด้วยมือที่เปื้อน ควรอยู่. จริงอยู่ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บาตรนั้น ย่อมเป็นบาตรเปื้อนด้วย.
อนึ่ง จะล้างมือที่เปื้อนด้วยน้ำข้างนอกแล้ว จึงจับ (บาตร) ควรอยู่
เมื่อฉันเนื้อปลาและผลาผลเป็นต้นอยู่ ในของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นก้าง
หรือกระดูกหรือเป็นเดน เป็นผู้ใคร่จะทิ้งเสีย จะเอาสิ่งนั้นวางลงในบาตร
ย่อมไม่ได้. ส่วนสิ่งใด ยังอยากจะฉันต่อไปอีก จะเอายาสิ่งนั้นวางลงในบาตร
ก็ได้. จะวางเนื้อที่มีกระดูกและปลาที่มีก้างเป็นต้น ในบาตรนั้นและเอามือ
ปล้อนออกฉัน ก็ควร. แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เอาออกจากปากแล้ว ยังอยากจะฉันอีก
จะเอาสิ่งนั้นวางในบาตรไม่ได้.
ชิ้นขิงและชิ้นมะพร้าวเป็นต้น กัดกินแล้วจะวางอีกก็ได้.

[ว่าด้วยมีดและเข็ม]


บทว่า นมตกํ ได้แก่ ท่อนผ้าสำหรับห่อมีด.
บทว่า ทณฺฑสตฺถกํ ได้แก่ มีดที่เข้าด้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมีด
พับหรือมีดอื่นก็ได้.