เมนู

รำคาญหรือตั้งอยู่ในที่น่ารังเกียจ จึงดีดนิ้วมือก็ตาม ตบมือก็ตาม, ในข้อนั้น
ไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในวัด เห็นการเล่นทุกอย่างมีการ
ฟ้อนเป็นต้น .
เมื่อภิกษุออกจากวัดไปสู่วัด (อื่น) ด้วยตั้งใจว่า เราจักดู ดังนี้ เป็น
อาบัติแท้. นั่งอยู่ที่อาสนศาลาแล้วเห็น, ไม่เป็นอาบัติ. ลุกเดินไปด้วยคิดว่า
เราจักดู เป็นอาบัติ. แม้ยืนอยู่ที่ถนนเหลียวคอไปดู เป็นอาบัติเหมือนกัน.

[ว่าด้วยสรภัญญะ]


บทว่า สรกุตฺตึ ได้แก่ ทำเสียง.
สองบทว่า ภงฺโค โหติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะยังสมาธิที่ตนยัง
ไม่ได้ ให้เกิดขึ้น, ไม่อาจเพื่อจะเข้าสมาธิที่ตนได้แล้ว .
ข้อว่า ปจฺฉิมา ชนตา เป็นอาทิ มีความว่า ประชุมชนในภายหลัง
ย่อมถึงความเอาอย่างว่า อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์ก็ดี ของเราทั้งหลายขับแล้ว
อย่างนี้ คือ ขับอย่างนั้นเหมือนกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว อายตเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
เสียงขับที่ทำลายวัตร (คือวิธีเปลี่ยนเสียง) นั้น ๆ ทำอักขระให้เสีย
ชื่อเสียงขับอันยาว. ส่วนในธรรม วัตรสำหรับสุตตันตะก็มี วัตรสำหรับชาดก
ก็มี วัตรสำหรับคาถาก็มี การที่ยังวัตรนั้นให้เสีย ทำเสียงให้ยาวเกินไป
ไม่ควร. พึงแสดงบทและพยัญชนะให้เรียบร้อยด้วยวัตร (คือการเปลี่ยนเสียง)
อนกลมกล่อม.
บทว่า สรภญฺญํ คือ การสวดด้วยเสียง. ได้ยินว่า ในสรภัญญะ
มีวัตร 32 มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค)
คลิวัตร (ทำนองดังของเลื่อน) เป็นต้น . ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้
วัตรที่ตนต้องการ.

การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัย
ที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.
สองบทว่า พาหิรโลมึ อุณฺณึ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่มผ้า
ปาวารขนสัตว์เอาขนไว้ข้างนอก. เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทรงอย่างนั้น. จะห่ม
เอาขนไว้ข้างใน ควรอยู่. .
สมณกัปปกถา ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งภูตคามสิกขาบท.
หลายบทว่า น ภิกฺขเว อตฺตโน องฺคชาตํ มีความว่า เป็น
ถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาตเท่านั้น. แม้เมื่อภิกษุตัดอวัยวะอื่นอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีหูจมูกและนิ้วเป็นต้นก็ตาม ยังทุกข์เช่นนั้นให้เกิดขึ้นก็ตาม เป็น
ทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กอกโลหิตหรือตัดอวัยวะเพราะถูกงูหรือร่าน
กัดเป็นต้นก็ตาม เพราะปัจจัยคืออาพาธอย่างอื่นก็ตาม.

[ว่าด้วยบาตร]


สามบทว่า จนฺทนคณฺฐี อุปฺปนฺนา โหติ มีความว่า ปุ่มไม้จันทน์
เป็นของเกิดขึ้นแล้ว.
ได้ยินว่า ราชคหเศรษฐีนั้นให้ขึงข่ายทั้งเหมือน้ำ และใต้น้ำแล้ว
เล่นในแม่น้ำคงคา. ปุ่มไม้จันทน์อันกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดลอยมาติดที่ข่าย.
บุรุษทั้งหลายของเศรษฐีนั้น ได้นำปุ่มไม้จันทน์นั้นมาให้. ปุ่มไม้จันทน์นั้น
เป็นของเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแผลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว
ในบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ นี้.
ส่วนฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐานพึงทราบว่า ไม่ได้ทรงห้าม.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว โสวณฺณมโย ปตฺโต เป็นต้น
พึงทราบดังนี้:-