เมนู

บทว่า อาพาธปจฺจยา มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุดูเงาหน้าเพื่อ
รู้ว่า แผลของเรามีผิวเต็มหรือยังก่อน.
(ในปุรามอรรถกถา) กล่าวว่า สมควรมองดูเงาหน้า เพื่อตรวจดู
อายุสังขารอย่างนี้ว่า เราแก่หรือยังหนอ ดังนี้ก็ได้.
สองบทว่า มุขํ อาลิมฺเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมผัด
ด้วยเครืองผัดหน้า สำหรับทำให้หน้ามีผิวผุดผ่อง.
บทว่า อุมฺมทฺเทนฺติ มีความว่า ย่อมไล้หน้า ด้วยเครื่องไล้ต่าง ๆ.
บทว่า จุณฺเณนฺติ มีความว่า ย่อมทา ด้วยจุณสำหรับทาหน้า.
หลายบทว่า มโนสิลกาย มุขํ ลญฺเฉนฺติ มีความว่า ย่อมทำ
การเจิมเป็นจุด ๆ เป็นต้น ด้วยมโนศิลา. การเจิมเหล่านั้น ย่อมไม่ควร แม้
ด้วยวัตถุมีหรดาลเป็นต้นแท้. การย้อมตัวเป็นต้น ชัดเจนแล้ว ปรับทุกกฏ
ในที่ทั้งปวง.

[ว่าด้วยการฟ้อนและขับเป็นต้น]


วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นจฺจํ วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไปเพื่อดูการฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด
แม้การฟ้อนแห่งนกยูง. เมื่อภิกษุฟ้อนแม้เองก็ตาม ให้ผู้อื่นฟ้อนก็ตาม เป็น
ทุกกฏเหมือนกัน . แม้การขับอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการขับของคนฟ้อนก็ตาม
เป็นการขับที่ดี (คือ เนื่องเฉพาะด้วยอนิจจธรรมเป็นต้น ) ก็ตาม โดยที่สุด
แม้การขับด้วยฟันก็ไม่ควร.
ภิกษุคิดว่า เราจักขับ แล้วร้องเสียงเปล่าในส่วนเบื้องต้นเพลงขับ
แม้การร้องเสียงเปล่านั้น ก็ไม่ควร. เมื่อภิกษุขับเองก็ตาม ให้ผู้อินขับก็ตาม
เป็นทุกกฏเหมือนกัน. แม้การประโคม อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ควร. แต่เมื่อ

รำคาญหรือตั้งอยู่ในที่น่ารังเกียจ จึงดีดนิ้วมือก็ตาม ตบมือก็ตาม, ในข้อนั้น
ไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในวัด เห็นการเล่นทุกอย่างมีการ
ฟ้อนเป็นต้น .
เมื่อภิกษุออกจากวัดไปสู่วัด (อื่น) ด้วยตั้งใจว่า เราจักดู ดังนี้ เป็น
อาบัติแท้. นั่งอยู่ที่อาสนศาลาแล้วเห็น, ไม่เป็นอาบัติ. ลุกเดินไปด้วยคิดว่า
เราจักดู เป็นอาบัติ. แม้ยืนอยู่ที่ถนนเหลียวคอไปดู เป็นอาบัติเหมือนกัน.

[ว่าด้วยสรภัญญะ]


บทว่า สรกุตฺตึ ได้แก่ ทำเสียง.
สองบทว่า ภงฺโค โหติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะยังสมาธิที่ตนยัง
ไม่ได้ ให้เกิดขึ้น, ไม่อาจเพื่อจะเข้าสมาธิที่ตนได้แล้ว .
ข้อว่า ปจฺฉิมา ชนตา เป็นอาทิ มีความว่า ประชุมชนในภายหลัง
ย่อมถึงความเอาอย่างว่า อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์ก็ดี ของเราทั้งหลายขับแล้ว
อย่างนี้ คือ ขับอย่างนั้นเหมือนกัน.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว อายตเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
เสียงขับที่ทำลายวัตร (คือวิธีเปลี่ยนเสียง) นั้น ๆ ทำอักขระให้เสีย
ชื่อเสียงขับอันยาว. ส่วนในธรรม วัตรสำหรับสุตตันตะก็มี วัตรสำหรับชาดก
ก็มี วัตรสำหรับคาถาก็มี การที่ยังวัตรนั้นให้เสีย ทำเสียงให้ยาวเกินไป
ไม่ควร. พึงแสดงบทและพยัญชนะให้เรียบร้อยด้วยวัตร (คือการเปลี่ยนเสียง)
อนกลมกล่อม.
บทว่า สรภญฺญํ คือ การสวดด้วยเสียง. ได้ยินว่า ในสรภัญญะ
มีวัตร 32 มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค)
คลิวัตร (ทำนองดังของเลื่อน) เป็นต้น . ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้
วัตรที่ตนต้องการ.