เมนู

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา


[ว่าด้วยการอาบน้ำ]


วินิจฉัยในขุททกวัตถุขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า มลฺลมุฏฺฐิกา ได้แก่ นักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด.
บทว่า คามปูฏวา ได้แก่ ชนชาวเมืองผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการ
ประดับย้อมผิว, ปาฐะว่า คามโปตกา ก็มี เนื้อความเหมือนกัน.
บทว่า ถมฺเภ ได้แก่ เสาที่เขาปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบน้ำ
บทว่า กุฑฺเฑ ได้แก่ บรรดาฝาอิฐฝาศิลาและฝาไม้ ฝาชนิดใด
ชนิดหนึ่ง.
ชนทั้งหลายถากต้นไม้ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดานแล้ว ตัดให้เป็นรอย
โดยอาการอย่างกระดานหมากรุก แล้วปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ท่าเช่นนี้ชื่อ
อัฏฐานะ ในคำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบที่ท่าอันเป็นอัฏฐานะ ชนทั้งหลาย
เรี่ยรายจุณแล้วสีกายที่ท่านั้น.
บทว่า คนฺธพฺพหตฺถเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบ
ด้วยมือทีทำด้วยไม้ ที่เขาตั้งไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเอามือไม้
นั้นถือจุณถูตัว.
บทว่า กุรุวินฺทกสุตฺติยา ท่านเรียกกำกลม ๆ ที่ชนทั้งหลายขยำ
เคล้าจุณแห่งศิลามีสีดังพลอยแดง ด้วยครั่งทำไว้. ชนทั้งหลายจับกำกลม ๆ นั้น
ที่ปลาย 2 ข้างแล้วถูตัว.

ข้อว่า วิคคยฺห ปริกมฺมํ การาเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์
เอาตัวกับตัวสีเข้ากะกันและกัน.
บังเวียนกระดานที่ทำโดยทรวดทรงอย่างก้นถ้วยจักเป็นฟันมังกร เรียก
ชื่อว่า มัลลกะ, บังเวียนกระดานที่จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธ.
บังเวียนกระดานที่ไม่ได้จักเป็นฟัน ชื่ออกตมัลลกะ, บังเวียนกระดาน
ที่ไม่ได้จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. ส่วนแผ่นอิฐ หรือแผ่น
กระเบื้อง ควรอยู่.
บทว่า อุกฺกาสิกํ ได้แก่ เกลียวผ้า. เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งผู้อาบน้ำ จะถูหลังด้วยเกลียวผ้าสำหรับอาบ ก็ควร.
การบริกรรมด้วยมือ เรียกว่า ปุถุปาณิกํ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุ
ทั้งปวงจะทำบริกรรมหลังด้วยมือ ควรอยู่

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]


คำว่า วลฺลิกา นี้ เป็นชื่อแห่งเครื่องประดับหูเป็นต้นว่า แก้วมุกดา
และตุ้มหูที่ห้อยออกจากหู. ก็แล จะไม่ควรแต่ตุ้มหูอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้,
เครื่องประดับหูอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้เป็นใบตาล ก็ไม่ควร.
สายสร้อยชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สังวาล.
เครื่องประดับสำหรับแต่งที่คอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สร้อยคอ.
เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงเป็นสายด้าย
ชื่อว่า สายรัดเอว.
วลัย ชื่อว่า เข็มขัด.
บานพับ (สำหรับรัดแขน) เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว เครื่องประดับ
ไม่เลือกว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ควร.
วินิจฉัยในคำว่า ทุมาสิกํ วา ทุวงฺคุลํ วา นี้ พึงทราบดังนี้:-