เมนู

พุทธานุณาตเครื่องโลหะเป็นต้น


[196] สมัยต่อมา เมื่อท่านพระอุรุเวลกัสสปบวชแล้ว เครื่องโลหะ
เครื่องไม้ เครื่องดิน บังเกิดแก่สงฆ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิด
ว่า เครื่องโลหะชนิดไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรง
อนุญาต เครื่องไม้ชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรงอนุญาต เครื่อง
ดินชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหน ไม่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า-
มูลนั้น ในเพราะ.เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องโลหะทุกชนิด เว้นเครื่องประหาร อนุญาตเครื่อง
ไม้ทุกชนิด เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้และเขียงไม้ อนุญาตเครื่อง
ดินทุกชนิด เว้นเครื่องเช็ดเท้าและกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.
ขุททกวัตถุขันธกะที่ 5 จบ

หัวข้อประจำธกะ


[197] 1. เรื่องขัดสีกายที่ต้นไม้ 2. ขัดสีกายที่เสา 3. ขัดสีกายที่ฝา
4. อาบน้ำในที่ไม่ควร 5. อาบน้ำขัดสีกายด้วยมือทำด้วยไม้ 6. ขัดสีกายด้วย
จุณหินสีดังพลอยแดง 7. ผลัดกันถูตัว 8. อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียน 9. ภิกษุ
เป็นหิด 10. ภิกษุชรา 11. ถูหลังด้วยฝ่ามือ 12. เครื่องตุ้มหู 13. สังวาล
14. สร้อยคอ 15. เครื่องประดับเอว 16. ทรงวลัย 17. ทรงสร้อยตาบ
18. ทรงเครื่องประดับข้อมือ 19. ทรงแหวนประคับนิ้วมือ 2 . ไว้ผมยาว
21. เสยผมด้วยแปรง 22 . เสยผมด้วยมือ 23. เสยผมด้วยน้ำมันผสมขี้ผึ้ง

24. เสยผมด้วยน้ำมันผสมน้ำ 21. ส่องเงาหน้าในแว่น ในขันน้ำ 26. แผล
เป็นที่หน้า 27. ผัดหน้า 28. ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว
ย้อมหน้า ย่อมทั้งหน้าทั้งตัว 29. โรคนัยน์ตา 30. มหรสพ 31. สวดเสียง
ยาว 32. สวดสรภัญญะ 33. ห่มผ้าขนสัตว์ มีขนช้างนอก 38. มะม่วงทั้ง
ผล 35. ชิ้นมะม่วง 36. มะม่วงล้วน 37. เรื่องงู 38. ตัดองค์กำเนิด
39. บาตรไม้จันทน์ 40. เรื่องบาตรต่าง ๆ 41. บังเวียนรองบาตร 42
บังเวียนทองรองบาตร หนาไป ทรงอนุญาตให้กลึง 43. บังเวียนรองบาตร
วิจิตร 44. บาตรเหม็นอับ 45. บาตรมีกลิ่นเหม็น 46. วางบาตรไว้ในที
ร้อน 47. บาตรกลิ้งตกแตก 48. เก็บบาตรไว้ที่กระดานเลียบ 49. เก็บ
บาตรไว้ริมกระดานเลียบนอกฝา 50. หญ้ารองบาตร 51. ท่อนผ้ารองบาตร
52. แท่นเก็บบาตร หม้อ เก็บบาตร 53. ถุงบาตรและสายโยกเป็นด้ายถัก
54. แขวนบาตรไว้ ที่ไม้เดือย 55. เก็บบาตรไว้บนเตียง 56. เก็บบาตรไว้
บนตั่ง วางบาตรไว้บนคัก 58. เก็บบาตรไว้บนกลด 59. ถือบาตรอยู่ผลัก
ประตูเข้าไป 60. ใช้กะโหลกน้ำเท้าแทนบาตร 61. ใช้กระเบื้องหม้อแทน
บาตร 62. ใช้กะโหลกผีแทนบาตร 63. ใช้บาตรต่างกระโถน 64. ใช้มีด
ตัดจีวร 65. เรื่องใช้มีดด้าม 66. ใช้ด้ามมีดทำด้วยทอง 67. ใช้ชั้นไก่และ
ไม้กลัดเย็บจีวร กล่องเข็ม แป้งข้าวหมาก ฝุ่นหิน ขี้ผึ้ง ผ้ามัดขี้ผึ้ง 68. จีวร
เสียมุม ผูกสะดึง ขึงสะดึงในที่ไม่เสมอ ขึงสะดึงที่พื้นดิน ขอบสะดึงชำรุด
และไม่พอ ทำเครื่องหมายและตีบรรทัด 69. ไม่ล้างเท้าเหยียบสะดึง 70.
เท้าเปียกเหยียบสะดึง 71. สวมรองเท้าเหยียบสะดึง 72. ใช้นิ้วมือรับเข็ม
73. ปลอกนิ้วมือ 74. กล่องสำหรับเก็บเครื่องเย็บผ้า และสายโยก เป็นด้ายถัก
75. เย็บจีวรในที่แจ้ง โรงโม้สะดึงต่ำ ถมพื้นให้สูง ขึ้นลงลำบาก 76. ผง

หญ้าที่มุงตกเกลื่อน พระวินายกทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้งข้างใน ทำ
ให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอก-
จอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร 77. ทิ้งไม้สะดึงแล้วหลีกไป ไม้สะดึง
หักเสียหาย คลี่ออก 78. เก็บสะดึงไว้ที่ฝากุฏิ 79. ใช้บาตรบรรจุเข็ม มีด
เครื่องยาเดินทาง ถุงเก็บเครื่องยา สายโยกเป็นด้ายถัก 80. ใช้ผ้ากายพันธ์
ผูกรองเท้า ถุงเก็บรองเท้า สายโยกเป็นด้ายถัก 81. น้ำในระหว่างทางเป็น
อกัปปียะ ผ้ากรองน้ำ กระบอกกรองน้ำ 82. ภิกษุสองรูปเดินทางไปเมือง-
เวสาลี 83. พระมหามุนีทรงอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบและผ้าลาดลงบนน้ำ
84. ยุงรบกวน 85. อาหารประณีต เกิดโรคมาก หมอชีวกทูลขออนุญาต
สร้างที่จงกรมและเรือนไฟ 86. ที่จงกรมขรุขระ 87. พื้นที่จงกรมต่ำ ทรง
อนุญาตให้ก่อกรุดินที่ถม 3 ชนิด ขึ้นลงลำบาก ทรงอนุญาตบันไดและราว
สำหรับยึด 88. ทรงอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม 89. จงกรมในที่แจ้งผงหญ้า
หล่นเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทำให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง
จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สาย-
ระเดียงจีวร 90. ทรงอนุญาตให้ถมเรือนไฟให้สูงกั้นกรุ บันได ราวบันได
บานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตูห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง
กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องชักเชือก เชือกชัก ก่อฝาเรือนไฟให้ต่ำ และ
ปล่องควัน 91. เรือนไฟตั้งอยู่กลาง ทรงอนุญาตดินทาหน้า รางละลายดิน
ดินมีกลิ่นเหม็น 92. ไฟลนกาย ทรงอนุญาตที่ขังน้ำ ขันทักน้ำ เรือนไฟ
ไหม้เกรียม พื้นที่เป็นตม ทรงอนุญาตให้ล้าง ทำท่อระบายน้ำ 93. ตั่งรอง
นั่งในเรือนไฟ 94. ทำซุ้ม 95. ทรงอนุญาตโรยกรวดแร่ วางศิลาเลียบ
ท่อระบายน้ำ 96. เปลือยกายไหว้กัน. 97. วางจีวรไว้บนพื้นดิน ฝนตกเปียก

98. ทรงอนุญาตเครื่องกำบัง 3 ชนิด 99. บ่อน้ำ 100. ใช้ผ้ากายพันธ์และ
เถาวัลย์ผูกภาชนะตักน้ำ ทรงอนุญาตคันโพง ระหัดชัก ระหัดถีบ ภาชนะ
ตักน้ำแตก ทรงอนุญาตถังน้ำทำด้วยโลหะไม้และท่อนหนัง 101. ทรงอนุญาต
ศาลาใกล้บ่อน้ำ 102. ทรงอนุญาตฝาปิดบ่อก้นผงหญ้า 103. ทรงอนุญาต
รางไม้ 104. ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ และกำแพงกั้น น้ำขังลื่น ทรงอนุญาต
ท่อระบายน้ำ 105. เนื้อตัวตกหนาว ทรงอนุญาตผ้าชุบน้ำ 106. ทรงอนุญาต
สระน้ำ น้ำในสระเก่า ทรงอนุญาตให้ทำท่อระบายน้ำ 107. ทรงอนุญาต
เรือนไฟมีปั้นลม 108. ไม่อยู่ปราศจากผ้านิสีทนะ 4 เดือน 109. นอนบนที่
นอนอันเดียรดาษด้วยดอกไม้ 110. ไม่รับประเคนดอกไม้ของหอม 111. ไม่
ต้องอธิษฐานสันถัตขนเจียมหล่อ 112. ฉันจังหันบนเตียบ 113. ทรงอนุญาต
โตก 114. ฉันจังหันและนอนร่วมกัน 115. เจ้าวัฑฒลิจฉวี 116. โพธิ-
ราชกุมาร พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้า 117. หม้อน้ำ ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า
และไม้กวาด 118. ทรงอนุญาตที่เช็ดเท้าทำด้วยหิน กรวดกระเบื้อง หิน
ฟองน้ำ 119. ทรงอนุญาตพัดโบก พัดใบตาล 120. ไม้ปัดยุง แส้จามรี
121. ทรงอนุญาตร่ม 122. ไม่มีร่มไม่สบาย 123. ทรงอนุญาตร่มในวัด
รวม 3 เรื่อง 124. วางบาตรไว้ในสาแหรก 125. สมมติสาแหรก สมมติ
ไม้เท้าและสาแหรก 126. โรคเรอ 127. เมล็ดข้าวเกลื่อน 128. ไว้เล็บยาว
129. ตัดเล็บ นิ้วมือเจ็บ ตัดเล็บจนถึงเลือด ทรงอนุญาตให้ตัดพอดีเนื้อ
130. ขัดเล็บทั้ง 20 นิ้ว 131. ไว้ผมยาว ทรงอนุญาตมีดโกน หินลับมีดโกน
ปลอกมีดโกน ผ้าพันมีดโกน เครื่องมือโกนผมทุกอย่าง 132. ตัดหนวด
ไว้หนวด ไว้เครา ไว้หนวดสี่เหลี่ยม ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไว้กลุ่มขนท้อง
ไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง โกนขนในที่แคบ 133. อาพาธโกนขนในที่แคบได้

134. ตัดผมด้วยกรรไกร 135. ศีรษะเป็นแผล 136. ไว้ขนจมูกยาว
137. ถอนขนจมูกด้วยก้อนกรวด 138. เรื่องถอนผมหงอก 139. เรื่องมูล
หูจุกช่องหู 140. ใช้ไม้แคะหู 141. เรื่องสั่งสมเครื่องโลหะกับไม้ป้ายยาตา
142. นั่งรัดเข่า 143. ผ้ารัดเข่า ด้ายพัน 144. ผ้ารัดประคด 145. ภิกษุ
ใช้รัดประคดเป็นเชือกหลายเส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลมคล้าย
เกลียวเชือก ประคดคล้ายสังวาล ทรงอนุญาตรัดประคดแผ่นผ้า และรัด
ประคดกลม ชายผ้ารัดประคดเก่า ทรงอนุญาตให้เย็บทบ ถักเป็นห่วง ที่สุด
ห่วงรัดประคดเก่า ทรงอนุญาตลูกถวิน 146. ทรงอนุญาตลูกดุม และรังดุม
147. ทำลูกดุมต่าง ๆ 148. ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม และรังดุม 149. นุ่งผ้า
อย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชายเหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา นุ่ง
ปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชายคล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย 150. ห่ม
ผ้าอย่างคฤหัสถ์ 151. นุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน 152. หาบของสองข้าง 153.
ไม้ชำระฟัน 154. ไม้ชำระฟันตีสามเณร 155. ไม้ชำระฟันติดคอ 156.
จุดไฟเผากองหญ้า 157. จุดไฟรับ 158. ขึ้นต้นไม้ 159. หนีช้าง 160.
ภาษาสันสกฤต 161. เรียนโลกายตศาสตร์ 162. สอนโลกายตศาสตร์ 163.
เรียนดิรัจฉานวิชา 164. สอนดิรัจฉานวิชา 165. ทรงจาม 166. เรื่องมงคล
167. ฉันกระเทียม 168. อาพาธเป็นลม ฉันกระเทียมได้ 169. อาราม
สกปรกมีกลิ่นเหม็น นั่งปัสสาวะลำบาก ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ
ภิกษุทั้งหลายละอาย หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่นเหม็น ถ่ายอุจาระลงใน
ที่นั้น ๆ มีกลิ่นเหม็น หลุมถ่ายอุจจาระพัง ทรงอนุญาตให้ถมขอบปากให้สูง
และให้ก่อกรุ บันได ราวสำหรับยึด นั่งริม ๆ ถ่ายอุจจาระ นั่งริม ๆ ถ่าย
อุจจาระลำบาก ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะออกไปข้าง

นอก ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุม
วัจจกุฎีไม่ได้ปิด ทรงอนุญาตฝาปิด 170. วัจจกุฎี บานประตู กรอบเช็ดหน้า
ครกรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล
ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าตกลงเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดิน
ทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้
เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง 171. ภิกษุชรา
ทุพพลภาพ 172. ทรงอนุให้ล้อมเครื่องล้อม 173. ทรงอนุญาตซุ้มประตู
วัจจกุฎี โรยกรวดแร่ วางศิลาเลียบ น้ำขัง ทรงอนุญาต ท่อระบายน้ำ หม้อ
น้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ นั่งชำระลำบาก ละอาย ทรงอนุญาตฝาปิด 174.
พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร 175. ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เว้นเครื่อง
ประหาร พระมหามุนีทรงอนุญาตเครื่องไม้ทั้งปวง เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์
บาตรไม้และเขียงไม้ พระตถาคตผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงอนุญาตเครื่องดินแม้
ทั้งมวล เว้นเครื่องเช็ดเท้า และกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.
นิเทศแห่งวัตถุใด ถ้าเหมือนกับข้างต้น นักวินัยพึงทราบวัตถุนั้นว่า
ท่านย่อไว้ในอุทาน โดยนัย.
เรื่องในขุททกวัทถุขันธกะ ที่แสดงมานี้มี 110 เรื่อง พระวินัยธรผู้
ศึกษาดีแล้ว มีจิตเกื้อกูล มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีปัญญาส่องสว่างดังดวง
ประทีปเป็นพหูสูต ควรบูชา จะเป็นผู้ดำรงพระสัทธรรม และอนุเคราะห์แก่
เหล่าสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา


[ว่าด้วยการอาบน้ำ]


วินิจฉัยในขุททกวัตถุขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า มลฺลมุฏฺฐิกา ได้แก่ นักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด.
บทว่า คามปูฏวา ได้แก่ ชนชาวเมืองผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการ
ประดับย้อมผิว, ปาฐะว่า คามโปตกา ก็มี เนื้อความเหมือนกัน.
บทว่า ถมฺเภ ได้แก่ เสาที่เขาปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบน้ำ
บทว่า กุฑฺเฑ ได้แก่ บรรดาฝาอิฐฝาศิลาและฝาไม้ ฝาชนิดใด
ชนิดหนึ่ง.
ชนทั้งหลายถากต้นไม้ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดานแล้ว ตัดให้เป็นรอย
โดยอาการอย่างกระดานหมากรุก แล้วปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ท่าเช่นนี้ชื่อ
อัฏฐานะ ในคำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบที่ท่าอันเป็นอัฏฐานะ ชนทั้งหลาย
เรี่ยรายจุณแล้วสีกายที่ท่านั้น.
บทว่า คนฺธพฺพหตฺถเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบ
ด้วยมือทีทำด้วยไม้ ที่เขาตั้งไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเอามือไม้
นั้นถือจุณถูตัว.
บทว่า กุรุวินฺทกสุตฺติยา ท่านเรียกกำกลม ๆ ที่ชนทั้งหลายขยำ
เคล้าจุณแห่งศิลามีสีดังพลอยแดง ด้วยครั่งทำไว้. ชนทั้งหลายจับกำกลม ๆ นั้น
ที่ปลาย 2 ข้างแล้วถูตัว.