เมนู

ที่ว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค นี้ จึงเป็นคำตอบที่หมดจดดี แห่งคำถาม
ที่ว่า กตฺถ ปฏิกฺขิตฺตํ นี้.

[ว่าด้วยอาวาสกัปปะ ]


คำว่า ราชคเห อุโปสถสํยุตฺเต นี้ อันพระสังคาหกเถระกล่าว
หมายเอาพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติ
โรงอุโบสถ 2 แห่ง ภิกษุได้พึงสมมติ ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.
ข้อว่า วินยาติสาเร ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏ เพราะละเมิด
พระวินัยนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติโรงอุโบสถ
2 แห่ง นี้แล.

[ว่าด้วยอนุมติกัปปะ]


คำว่า จมฺเปยฺยเก วินยวตฺถุสฺมึ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมาย
เอาเรื่องวินัย อันมาแล้วในจัมเปยยักขันธกะ เริ่มต้นอย่างนี้ว่า อธมฺเมน
เจ ภิกฺขเว วคฺคกมฺมํ อกมฺนํ น จ กรณียํ
ดังนี้.
คำว่า เอกจฺโจ กปฺปติ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมายเอาความ
ประพฤติที่เป็นธรรม.

[ว่าด้วยอทสกนิสีทนกัปปะ]


จริงอยู่ คำว่า เฉทนเก ปาจิตฺติยํ นี้ มาแล้วในสุตตวิภังค์ว่า
ผ้าปูนั่งที่มีชาย เรียกชื่อว่า นิสีทนะ เพราะเหตุนั้น เฉพาะชายประมาณคืบ
หนึ่ง อันภิกษุย่อมได้เกินกว่า 2 คืบสุคตขึ้นไป.

คำว่า เป็นปาจิตตีย์ มีการตัดเป็นวินัยกรรม แก่ภิกษุผู้ให้ก้าวล่วง
ประมาณนั้น นี้ ย่อมเป็นคำปรับได้ทีเดียว แก่ภิกษุผู้ทำตามประมาณนั้น
เว้นชายเสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามว่า ต้อง
อาบัติอะไร ? จึงตอบว่า ต้องปาจิตตีย์ ในเฉทนกสิกขาบท อธิบายว่า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเฉทนกสิกขาบท.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
สัตตสติกักขันธก วรรณนา ในอรรถกถา
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

คาถาสรูป


ขันธกะ 22 ประเภท สงเคราะห์
ด้วยวรรค 2 อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงละ
ทุกข์ คือ เบญจขันธ์เสีย ตรัสแล้วในพระ-
ศาสนา วรรณนาขันธกะเหล่านี้นั้น สำเร็จ
แล้วปราศจากอันตรายฉันใด แม้ความหวัง
อันงามทั้งหลาย ของสัตว์มีปราณจงสำเร็จ
ฉันนั้นเถิด ฉะนี้แล.
ในจุลลวรรคนี้ มีขันธกะ คือ กัมมัก-
ขันธกะ ปาริวาสิกักขันธกะ สมุจจยักขันธกะ
สมถักขันธกะ ขุททกวัตถุกขันธกะ เสนา-
สนักขันธกะ สังฆเภทักขันธกะ วัตตักขันธกะ
ปาติโมกขัฏฐปนักขันธกะ ภิกขุนิกขันธกะ
ปัญจสติกักขันธกะ และสัตตสติกักขันธกะ
จบแล้ว.