เมนู

ได้ยินว่า ท่านพระสัพพกามี ผู้ประสงค์จะกล่าวคำอันไพเราะจึงเรียก
ภิกษุใหม่ทั้งหลาย อย่างนั้น .
บทว่า กุลฺลกวิหาเรน ได้แก่ ธรรมเป็นที่อยู่อันตื้น.

[ว่าด้วยสิงคิโลณกัปปะ]


สองบทว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค มีความว่า เกลือเขนงนี้เป็น
ของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วในสุตตวิภังค์ อย่างไร ? จริงอยู่ ใน
สุตตวิภังค์นั้น เกลือเขนงเป็นของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ของภิกษุรับ
ประเคนแล้วในวันนี้ ควรเพื่อฉันในวันอื่นอีก ชื่อว่าเป็นของสันนิธิ ดังนี้แล้ว
ตรัสอาบัติห้ามอีกว่า ภิกษุมีความสำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้
ค้างคืน ว่ามิได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้อง
ปาจิตตีย์.
ในสุตตวิภังค์นั้น อาจารย์พวกหนึ่งเข้าใจว่า ก็ สิกขาบทนี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการกํ ขาทนียํ วา โภชนียํ
วา
เป็นอาทิ แต่ธรรมดาเกลือนี้ ไม่ถึงความเป็นสันนิธิ เพราะเป็นยาวชีวิก
ภิกษุรับประเคนอามิสที่ไม่เค็มแม้ใดด้วยเกลือนั้น แล้วฉันพร้อมกับเกลือนั้น
อามิสนั้น อันภิกษุรับประเคนในวันนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้น อันอาบัติทุกกฏ
ในเพราะเกลือที่รับประเคนก่อนนี้ พึงมี เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย
วัตถุเป็นยาวชีวก ภิกษุรับประเคนในวันนั้น พร้อมกับวัตถุเป็นยาวกาลิกควร
ในกาล ไม่ควรในวิกาล.*
* มหาวคฺค. ทติย. 132.

อาจารย์เหล่านั้น อันปรวาที่พึงกล่าวแก้ว่า แม้อาบัติทุกกฏก็ไม่พึงมี
ตามมติของพวกท่าน ด้วยว่า บรรดาเกลือและอามิสที่ไม่เค็มนี้ เกลือซึ่งเป็น
ยาวชีวิก หาได้รับประเคนในวันนั้นไม่ อามิสที่ไม่เค็มซึ่งเป็นยาวกาลิกเท่านั้น
รับประเคนในวันนั้น และอามิสนั้นภิกษุหาได้บริโภคในเวลาวิกาลไม่ หรือ
หากว่า พวกท่านสำคัญอาบัติทุกกฏ เพราะพระบาลีว่า วิกาเล น กปฺปติ
ดังนี้ ไซร้ แม้อาบัติปาจิตตีย์ เพราะในวิกาลโภชน์ จะไม่พึงมี แก่ภิกษุผู้
บริโภคยาวกาลิกซึ่งปนกับยาวชีวิก ในเวลาวิกาล. เพราะเหตุนั้น ท่านไม่พึง
ฉวยเอาแต่เพียงพยัญชนะ พึงพิจารณาดูใจความ
ในคำว่า วิกาเล กปฺปติ นี้ มีเนื้อความดังนี้ :-
ยาวชีวิกกับยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น ถ้าว่า เป็นของมีรส
เจือกันได้ ย่อมเป็นของมีคติอย่างยาวกาลิกแท้. เพราะเหตุนั้นทุกกฏชื่อว่าไม่มี
ในคำว่า กาเล กปฺปติ วิกาเล น กปฺปติ นี้ เพราะสิกขาบทนี้ว่า
โย ปน ภิกฺขุ วิกาเล ขาทนียํ วา โภชนียํ วา ดังนี้เป็นอาทิ แต่
ย่อมมีในเพราะยาวชีวิก มีรสเจือปนกับยาวกาลิกนี้ด้วยสักว่า คำว่า น กปฺปติ.
ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น มีรสเจือปนยาวกาลิก ไม่ควรในวิกาล
คือ เป็นกาลิกที่นำมาซึ่งปาจิตตีย์ เพราะวิกาลโภชน์ฉันใดเลย ยาวชีวิกแม้ที่
รับประเคนในวันนี้ มีรสเจือปนกับยาวกาลิกในวันอื่นอีก ไม่ควร คือ เป็น
กาลิกนำมาซึ่งปาจิตตีย์เพราะฉันของเป็นสันนิธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ภิกษุแม้ไม่รู้อยู่
ซึ่งกาลิกนั้นว่า นี้เป็นของที่ทำการสะสม ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ).
จริงอยู่ คำนี้อันพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวแล้วว่า ภิกษุมีความ
สำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้ค้างคืน ว่านี้ได้รับประเคนไว้ค้างคืน
เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น คำตอบ

ที่ว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค นี้ จึงเป็นคำตอบที่หมดจดดี แห่งคำถาม
ที่ว่า กตฺถ ปฏิกฺขิตฺตํ นี้.

[ว่าด้วยอาวาสกัปปะ ]


คำว่า ราชคเห อุโปสถสํยุตฺเต นี้ อันพระสังคาหกเถระกล่าว
หมายเอาพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติ
โรงอุโบสถ 2 แห่ง ภิกษุได้พึงสมมติ ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.
ข้อว่า วินยาติสาเร ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏ เพราะละเมิด
พระวินัยนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติโรงอุโบสถ
2 แห่ง นี้แล.

[ว่าด้วยอนุมติกัปปะ]


คำว่า จมฺเปยฺยเก วินยวตฺถุสฺมึ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมาย
เอาเรื่องวินัย อันมาแล้วในจัมเปยยักขันธกะ เริ่มต้นอย่างนี้ว่า อธมฺเมน
เจ ภิกฺขเว วคฺคกมฺมํ อกมฺนํ น จ กรณียํ
ดังนี้.
คำว่า เอกจฺโจ กปฺปติ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมายเอาความ
ประพฤติที่เป็นธรรม.

[ว่าด้วยอทสกนิสีทนกัปปะ]


จริงอยู่ คำว่า เฉทนเก ปาจิตฺติยํ นี้ มาแล้วในสุตตวิภังค์ว่า
ผ้าปูนั่งที่มีชาย เรียกชื่อว่า นิสีทนะ เพราะเหตุนั้น เฉพาะชายประมาณคืบ
หนึ่ง อันภิกษุย่อมได้เกินกว่า 2 คืบสุคตขึ้นไป.