เมนู

ได้ยินว่า ท่านพระสัพพกามี ผู้ประสงค์จะกล่าวคำอันไพเราะจึงเรียก
ภิกษุใหม่ทั้งหลาย อย่างนั้น .
บทว่า กุลฺลกวิหาเรน ได้แก่ ธรรมเป็นที่อยู่อันตื้น.

[ว่าด้วยสิงคิโลณกัปปะ]


สองบทว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค มีความว่า เกลือเขนงนี้เป็น
ของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วในสุตตวิภังค์ อย่างไร ? จริงอยู่ ใน
สุตตวิภังค์นั้น เกลือเขนงเป็นของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ของภิกษุรับ
ประเคนแล้วในวันนี้ ควรเพื่อฉันในวันอื่นอีก ชื่อว่าเป็นของสันนิธิ ดังนี้แล้ว
ตรัสอาบัติห้ามอีกว่า ภิกษุมีความสำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้
ค้างคืน ว่ามิได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้อง
ปาจิตตีย์.
ในสุตตวิภังค์นั้น อาจารย์พวกหนึ่งเข้าใจว่า ก็ สิกขาบทนี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการกํ ขาทนียํ วา โภชนียํ
วา
เป็นอาทิ แต่ธรรมดาเกลือนี้ ไม่ถึงความเป็นสันนิธิ เพราะเป็นยาวชีวิก
ภิกษุรับประเคนอามิสที่ไม่เค็มแม้ใดด้วยเกลือนั้น แล้วฉันพร้อมกับเกลือนั้น
อามิสนั้น อันภิกษุรับประเคนในวันนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้น อันอาบัติทุกกฏ
ในเพราะเกลือที่รับประเคนก่อนนี้ พึงมี เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย
วัตถุเป็นยาวชีวก ภิกษุรับประเคนในวันนั้น พร้อมกับวัตถุเป็นยาวกาลิกควร
ในกาล ไม่ควรในวิกาล.*
* มหาวคฺค. ทติย. 132.