เมนู

6. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้ว
ควร
7. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร
8. ดื่มสุราอ่อน ควร
9. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร
10. รับทองและเงิน ควร.
ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ ภายหน้าสภาพมิใช่
ธรรมจักรุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพมิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจักเสื่อม
ถอย ภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวก
อวินยวาทีจักมีกำลัง พวกวินยวาทีจักเสื่อมกำลัง ท่านพระสัมภูตสาณวาสี
รับคำพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 60 รูป ถืออยู่ป่าเป็น
วัตรทั้งหมด ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรทั้งหมด ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรทั้งหมด
ถือไตรจีวรเป็นวัตรทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังค-
บรรพต ภิกษุชาวเมืองอวันตีและประเทศทักษิณาบถประมาณ 80 รูป บางพวก
ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บางพวกถือไตรจีวรเป็นวัตร
เป็นอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังคบรรพต.

เรื่องพระเรวตเถระ


[641] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้คิดว่าอธิกรณ์
นี้หยาบช้า กล้าแข็งนัก ไฉนหนอ พวกเราจักได้ฝักฝ่าย ที่เป็นเหตุให้มีกำลัง
กว่าในอธิกรณ์นี้.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะอาศัยอยู่ในโสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญ
ในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็น
นักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา
พระเถระทั้งหลาย คิดกันว่า ท่านพระเรวตะนี้แล อาศัยอยู่ใน
โสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่
ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะไว้เป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเรา
จักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้.
ท่านพระเรวตะได้ยินถ้อยคำของพระเถระทั้งหลายปรึกษากันอยู่ด้วย
ทิพโสตธาตุอันหมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตธาตุแห่งมนุษย์ ครั้นแล้วจึงคิดว่า
อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง ข้อที่เรา จะถอยในอธิกรณ์เห็นปานนั้นไม่
สมควรแก่เราเลย ก็แลบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นจักมาหา เราคลุกคลีกับพวกเธอ
จักอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราควรไปเสียก่อน.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ออกจากเมืองโสเรยยะไปสู่เมืองสังกัสสะ
ทีนั้น พระเถระทั้งหลายได้ไปสู่เมืองโสเรยยะ. แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป
ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองสังกัสสะแล้ว ต่อมา
ท่านพระเรวตะได้ออกจากเมืองสังกัสสะไปสู่เมืองกัณณกุชชะแล้ว พระเถระ
ทั้งหลายพากันไปเมืองสังกัสสะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน พวกเขา
ตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้น ไปเมืองกัณณกุชชะแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองกัณณกุชชะ สู่เมืองอุทุมพร
จึงพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองกัณณกุชชะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป
ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอุทุมพร.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองอุทุมพรสู่เมืองลัคคฬปุระ จึง
ท่านพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอุทุมพร แล้วถามว่า ท่าพระเรวตะไปไหน
พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอิคคฬปุระ.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองคัคคฬปุระ สู่สหชาตินคร
พระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอัคคฬปุระ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน
พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปสหชาตินครแล้ว พระเถระทั้งหลาย
ไปทันท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร.

ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ 10 ประการ


[642] ครั้งนั้น ท่านพระสมภูตสาณวาสี ได้กล่าวกะท่านพระยสกา.
กัณฑกบุตรว่า ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักถามปัญหากะท่านพระเรวตะ
ท่านพระเรวตะสามารถจะยังราตรีทั้งสิ้น ให้ล่วงไป ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น
ก็แลบัดนี้ ท่านพระเรวตะจักเชิญพระอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ ท่านนั้น
เมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ พึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วถามวัตถุ
10 ประการนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำของท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว
ท่านพระเรวตะได้เชิญพระอันเตวาสิก ให้สวดสรภัญญะแล้ว ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตร เมื่อภิกษุนั้นสวดสรภัญญะจบ ได้เข้าไปหาท่านพระเรวตะ อภิวาท
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า สิงคิโสณกัปปะ ควรหรือ ขอรับ.
พระเรวตะย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือการเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่าจักปรุงในอาหารที่จืดฉัน
ควรหรือไม่ ขอรับ.