เมนู

ทัณฑสมมติ อันสงฆให้แล้วแก่ภิกษุมมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[139] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถ
จะนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสาแหรกแก่
ภิกษุอาพาธ.
[140] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงใ ห้สมมติอย่างนี้:-
ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำขอสิกกาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่มีสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสิกกาสมมติกะสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[141] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้สิกกาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธไม่
ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุ
มีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธไม่
ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์
สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สิกกาสมมติ แก่ภิกษุมีชื่อ
นี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้ฟัง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้น พึงพูด.
สิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[ 142] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไป
ไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าและสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ.
ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม
ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

คำขอทัณฑสิกกาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้
และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น
ทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
[143] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-