เมนู

ทารกนั้น เหมือนที่ปฏิบัติในบุรุษอื่น. ภิกษุณีผู้เป็นมารดา ย่อมได้เพื่อยัง
ทารกนั้นให้อาบ ให้ดื่ม และให้บริโภค เพื่อแต่งตัวทารกและให้เพื่อนอนกก
ทารกนั้นไว้ที่อก.

[ว่าด้วยลาสิกขาเป็นต้น ]


ด้วยคำว่า ยเทว สา วิพฺภนฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
เพราะภิกษุณีนั้น สึกแล้วนุ่งผ้าขาว ด้วยความยินดีพอใจของตน ฉะนั้นแล
เธอจึงมิใช่ภิกษุณี, เธอมิใช่ภิกษุณี เพราะการลาสิกขาหามิได้. เธอย่อมไม่ได้
อุปสมบทอีก.
ข้อว่า สา อาคตา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า ก็ภิกษุณี
นั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบทอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ล เธอย่อมไม่ได้แม้
ซึ่งบรรพชา. ฝ่ายนางผู้นุ่งขาวสึกไป ย่อมได้เพียงบรรพชา.

[ว่าด้วยยินดีการอภิวาทเป็นต้น]


ในบทว่า อภิวาทนํ เป็นอาทิ มีความว่า บุรุษทั้งหลาย เมื่อจะ
นวดเท้า ย่อมไหว้ ย่อมปลงผม, ย่อมตัดเล็บ, ย่อมทำการรักษาแผล,
ภิกษุณีทั้งหลาย รังเกียจการนั้น ทั้งหมด จึงไม่ยินดี.
ในคำว่า อภิวาทนํ เป็นต้นนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าว่า
เป็นผู้อันราคะครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดกล้า ข้างภิกษุณีฝ่ายเดียวหรือ
ทั้ง 2 ข้าง, เป็นอาบัติตามวัตถุแท้
พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในการไหว้เป็นต้นนี้ ไม่มีอาบัติ.
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายแสดงอาจริยวาทอย่างนี้ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
การไหว้เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจำเพาะแก่ภิกษุณีทั้งหลาย จึง

สมควร. คำแห่งอรรถกถานี้ เป็นประมาณ. เพราะว่าการบุรุษทั้งหลายไหว้
เป็นต้น เป็นกิจสมควร โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณี
ยินดี ดังนี้แล.
สองบทว่า ปลฺลงฺเกน นิสีทนฺติ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ.
บทว่า อฑฺฒปลฺลงฺกํ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิทบเท้าข้างเดียว.
วินิจฉัยในคำว่า เหฏฺฐาวิวเฏ อุปริปฏิจฺฉนฺเน นี้ พึงทราบ
ดังนี้ :-
ถ้าว่า เป็นหลุมที่เขาขุด และเพียงแต่ไม้เรียบข้างบนเท่านั้น ปรากฏ
ในทิศทั้งปวง จะถ่ายอุจจาระในหลุมแม้เห็นปานนั้น ก็ควร.
สองบทว่า กุกฺกุสํ มตฺติกํ ได้แก่ รำและดินเหนียว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ดินทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
ภิกขุนิกขันธกวรรณนา จบ

ปัญจสติกขันธกะ


เรื่องพระมหากัสสปเถระ


สงคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต


[614] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปชี้แจงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน
ทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เราออกจากเมืองปาวาเดินทางไกล ไปเมืองกุสินารากับ
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ครั้งนั้น เราแวะจากทาง นั่งพักอยู่ที่
โคนไม้แห่งหนึ่ง อาชีวกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินาราเดินทางไกล
มาสู่เมืองปาวา เราได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ถามอาชีวก
นั้นว่า ท่านทราบข่าวพระศากของเราบ้างหรือ อาชีวกตอบว่า ท่านขอรับ
ผมทราบ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ 7 วันทั้งวันนี้แล้ว ดอกมณฑารพนี้
ผมถือมาจากที่ปรินิพพานนั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านที่ยังไม่ปราศจากราคะ
บางพวกประคองแขนคร่ำครวญดุจมีเท้าขาดล้มลงกลิ้งเกลือกไปมารำพันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก
ดวงตาหายไปจากโลกเร็วนัก ส่วนพวกที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมอดกลั้นได้ ด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงนั้น จะได้ใน
สังขารนี้แต่ไหนเล่า ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
อย่าเลยท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรเลย นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
บอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความนั้นต่าง ความเว้น ความเป็นอย่างอื่น
จากสัตว์และสังขารที่รักที่ชอบใจทั้งปวงทีเดียวย่อมมี สิ่งที่เพียงนั้นจะได้ใน
สังขารนั้นแค่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว เป็นปัจจัยปรุงแต่งแล้วต้องมีความ
แตกสลายเป็นธรรมดา ข้อที่จะปรารถนาว่า สิ่งนั้นอย่าได้สายเลย นี้ไม่เป็น