เมนู

ก็ถ้าว่า ในสหธรรมิกทั้ง 5 ผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อจะท่ากาลกิริยาจึงสั่งว่า
โดยสมัยที่ข้าพเจ้าล่วงไป บริขารของข้าพเจ้าจงเป็นของพระอุปัชฌาย์ หรือว่า
จงเป็นของพระอาจารย์ หรือว่า จงเป็นของสัทธิวิหาริก หรือว่า จงเป็นของ
อันเตวาสิก หรือว่า จงเป็นของมารดา หรือว่า จงเป็นของบิดา หรือว่า
จงเป็นของใคร ๆ อื่น บริขารของผู้นั้น ไม่เป็นของชนเหล่านั้น คงเป็นของ
สงฆ์เท่านั้น เพราะว่าการให้โดยกาลที่ล่วงไป (แห่งตน) ของสหธรรมิกทั้ง 5
ย่อมใช้ไม่ได้ ของพวกคฤหัสถ์ ใช้ได้ .
ภิกษุทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุณี บริขารของเธอ ย่อมเป็นของ
ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. ภิกษุณีทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุบริขารของเธอ ย่อม
เป็นของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า ปุราณมลฺลี มีความว่า เป็นภริยาของนักมวย ในกาลก่อน
คือ ในครั้งเป็นคฤหัสถ์.
บทว่า ปุริสพฺยญฺชนํ มีความว่า นิมิตของบุรุษ จะเป็นอวัยวะที่
ปกปิดก็ตาม มิได้ปกปิดก็ตาม คือ จะเป็นของที่สิ่งไร ๆ กำบังก็ตาม มิได้
กำบังก็ตาม. ถ้าภิกษุณี เพ่งดูความคิดให้เกิดขึ้นว่า นิมิตของบุรุษอยู่ที่นี่ ต้อง
ทุกกฏ.

[ว่าด้วยอามิสที่เขาถวายเฉพาะตน]


อามิสใดที่เขาบอกถวายว่า ท่านจงบริโภคเอง อามิสนั้นชื่อว่าของ
ที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคเฉพาะตน เมื่อภิกษุให้อามิสนั้นแก่ผู้อื่น
เป็นทุกกฏ. แต่ถือเอาส่วนดีเสียก่อนแล้ว จึงให้ควรอยู่.
ถ้าว่า อามิสนั้นไม่เป็นที่สบาย จะสละเสียทั้งหมด ก็ควร. จะบริโภค
จีวรเสียวันหนึ่ง หรือ 2 วันแล้วจึงให้ ก็ควร. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็มี
นัยเหมือนกัน.

[ว่าด้วยฐานะแห่งของที่รับประเคน]


ข้อว่า ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนีหิ ปฏิคฺคหาเปตฺวา มีความว่า อามิสที่ภิกษุ
รับประเคนเก็บไว้เมื่อวันวาน เมื่ออนุปสัมบันอื่นไม่มีในวันนี้ภิกษุณีทั้งหลาย
พึงให้ภิกษุรับประเคนแล้วฉัน. เพราะว่า อามิสที่ภิกษุรับประเคนแล้ว ย่อม
ตั้งอยู่ ในฐานะแห่งอามิสที่ยังมิได้รับประเคน สำหรับภิกษุณี. แม้สำหรับ
ภิกษุ ก็มีนัยเหมือนในภิกษุณีนั่นแล.

[ว่าด้วยการนั่ง]


สองบทว่า อาสนํ สงฺคายนฺติโย มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อ
ยังกันและกันให้ถือเอาที่นั่ง.
สองบทว่า กาลํ วีตินาเมสุํ ความว่า มัวให้รูปหนึ่งลุกขึ้น ให้
อีกรูปหนึ่งนั่งอยู่ ได้ยังเวลาฉันให้ล่วงเลยไปเสีย.
วินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐนฺนํ ภิกขุนีนํ ยถาวุฑฺฒํ นี้ พึงทราบ
หากว่า ภิกษุณี 8 รูปนั่งในที่ใกล้ ภิกษุณีอื่นที่เป็นไปภายในแห่ง
ภิกษุณีเหล่านั้นมา. เธอย่อมได้เพื่อยังภิกษุณีผู้อ่อนกว่าตนให้ลุกขึ้นแล้วนั่ง
แทน.
ฝ่ายภิกษุณีใด เป็นผู้อ่อนกว่าภิกษุณีทั้ง 8 รูป ภิกษุณีนั้น แม้หากจะ
มีพรรษา 60 ย่อมได้เพื่อนั่งตามลำดับแห่งผู้มาเท่านั้น.
ข้อว่า อญฺญตฺถ ยถาวุฑฺฒํ น ปฏิพาหิตพฺพํ มีความว่า ใน
ที่แจกปัจจัย 4 แห่งอื่น นอกจากโรงเลี้ยง ใครจะห้ามภิกษุแก่ว่า เรามาก่อน
แล้วถือเอาสิ่งไร ๆ ไม่ได้. การถือเอาตามลำดับผู้แก่นั่นแลจึงควร.
กถาว่าด้วยปวารณา ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแล.