เมนู

บทว่า ปาทํ ได้แก่ แข้ง.
บทว่า ปาทโกจฺฉํ ได้แก่ หลังเท้า. การไล้หน้าเป็นต้น มีนัยดัง
กล่าวแล้วนั้นแล.
สองบทว่า อวงฺคํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัคพัคคีย์เขียน
ลวดลายหันหน้าลงล่างที่หางตา ด้วยไม้ป้ายยาตา.
บทว่า วิเสสกํ มีความว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ทำรูปสัตว์แปลก ๆ มี
ทรวดทรงงดงาม ที่แก้ม.
บทว่า โอโลกนเกน มีความว่า เปิดหน้าต่างแลดูถนน.
สองบทว่า สาโกเก ติฏฺฐนฺติ มีความว่า เปิดประตู ยืนเยี่ยมอยู่
ครึ่งตัว.
บทว่า สนจฺจํ มีความว่า ให้ทำการมหรสพด้วยนักระบำ.
สองบทว่า เวสึ วุฏฺฐเปนฺติ มีความว่า ได้ทั้งหญิงนครโสเภณี.
สองบทว่า ปานาคารํ ฐเปนฺติ มีความว่า ย่อมชายสุรา.
สองบทว่า สูนํ ฐเปนฺติ มีความว่า ย่อมชายเนื้อ.
บทว่า อาปณํ มีความว่า ย่อมออกร้านสินค้าต่าง ๆ หลายอย่าง.
สองบทว่า ทาสํ อุปฏฺฐาเปนฺติ มีความว่า ย่อมรับทาสแล้วยัง
ทาสนั้น ให้ทำการรับใช้สองของตน. แม้ในทาสีเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน .
สองบทว่า หริตกปตฺติกํ ปกีณนฺติ มีความว่า ย่อมขายของสด
และของแห้ง. มีคำอธิบายว่า ย่อมออกร้านขายของเปิดแล้วแล.
กถาว่าด้วยจีวรเขียวทั้งปวงเป็นต้น ได้กล่าวแล้วแล.

[ว่าด้วยการปลงบริขาร]


ในข้อว่า ภิกฺขุนี เจ ภิกฺขเว กาลํ กโรนฺติ เป็นอาทิ มี
วินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ :-

ก็ถ้าว่า ในสหธรรมิกทั้ง 5 ผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อจะท่ากาลกิริยาจึงสั่งว่า
โดยสมัยที่ข้าพเจ้าล่วงไป บริขารของข้าพเจ้าจงเป็นของพระอุปัชฌาย์ หรือว่า
จงเป็นของพระอาจารย์ หรือว่า จงเป็นของสัทธิวิหาริก หรือว่า จงเป็นของ
อันเตวาสิก หรือว่า จงเป็นของมารดา หรือว่า จงเป็นของบิดา หรือว่า
จงเป็นของใคร ๆ อื่น บริขารของผู้นั้น ไม่เป็นของชนเหล่านั้น คงเป็นของ
สงฆ์เท่านั้น เพราะว่าการให้โดยกาลที่ล่วงไป (แห่งตน) ของสหธรรมิกทั้ง 5
ย่อมใช้ไม่ได้ ของพวกคฤหัสถ์ ใช้ได้ .
ภิกษุทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุณี บริขารของเธอ ย่อมเป็นของ
ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. ภิกษุณีทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุบริขารของเธอ ย่อม
เป็นของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า ปุราณมลฺลี มีความว่า เป็นภริยาของนักมวย ในกาลก่อน
คือ ในครั้งเป็นคฤหัสถ์.
บทว่า ปุริสพฺยญฺชนํ มีความว่า นิมิตของบุรุษ จะเป็นอวัยวะที่
ปกปิดก็ตาม มิได้ปกปิดก็ตาม คือ จะเป็นของที่สิ่งไร ๆ กำบังก็ตาม มิได้
กำบังก็ตาม. ถ้าภิกษุณี เพ่งดูความคิดให้เกิดขึ้นว่า นิมิตของบุรุษอยู่ที่นี่ ต้อง
ทุกกฏ.

[ว่าด้วยอามิสที่เขาถวายเฉพาะตน]


อามิสใดที่เขาบอกถวายว่า ท่านจงบริโภคเอง อามิสนั้นชื่อว่าของ
ที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคเฉพาะตน เมื่อภิกษุให้อามิสนั้นแก่ผู้อื่น
เป็นทุกกฏ. แต่ถือเอาส่วนดีเสียก่อนแล้ว จึงให้ควรอยู่.
ถ้าว่า อามิสนั้นไม่เป็นที่สบาย จะสละเสียทั้งหมด ก็ควร. จะบริโภค
จีวรเสียวันหนึ่ง หรือ 2 วันแล้วจึงให้ ก็ควร. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็มี
นัยเหมือนกัน.