เมนู

โอวาทอันภิกษุไม่พึงไปงดที่สำนักภิกษุณี แต่พึงบอกภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้มาเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ว่า ภิกษุณีชื่อโน้น มีอาบัติติดตัว เรางดโอวาท
แก่ภิกษุณีนั้น เธอทั้งหลายอย่าทำอุโบสถกับภิกษุณีนั้น. ทัณฑกรรมแม้ในการ
เปิดกายเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
คำว่า น ภิกฺขเว ภิกฺขุนิยา โอวาโท น คนฺตพฺโพ เป็น
อาทิข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวรรณนาแห่งภิกขุนีวิภังค์.

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]


ข้อว่า ผาสุเก นเมนฺติ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้ประคดอก
คาดซี่โครง เพื่อประโยชน์ที่จะดัด อย่างหญิงคฤหัสถ์เพิ่งรุ่นสาว คาดด้วย
ผ้าคาดนมฉะนั้น.
บทว่า เอกปริยายกตํ ได้แก่ ประคดที่คาดได้รอบเดียว.
สองบทว่า วิลิเวน ปฏฺเฏน ได้แก่ ผ้าแถบที่ทอด้วยตอกไม้ไผ่
อย่างละเอียด.
บทว่า ทุสฺสปฏเฏน . ได้แก่ ผ้าแถบขาว
บทว่า ทุสฺสเวณิยา ได้แก่ ช้องที่ทำด้วยผ้า.
บทว่า ทุสฺสวฏฺฏิยา ได้แก่ เกลียวที่ทำด้วยผ้า.
ในผ้าแถบเล็กเป็นต้น ผ้ากาสาวะผืนเล็ก พึงทราบว่า ชื่อว่าผ้าแถบเล็ก.
บทว่า อฏฺฐิลฺเลน ได้แก่ กระดูกเเข้งแห่งโค. บั้นสะเอวเรียก
ตะโพก.
สองบทว่า หตฺถํ โกฏฺฏาเปนฺติ ได้แก่ ให้ทุบปลายแขนแต่งให้
งามด้วยชนนกยูงเป็นต้น.
บทว่า หตถฺโกจฺฉํ ได้แก่ หลังมือ.

บทว่า ปาทํ ได้แก่ แข้ง.
บทว่า ปาทโกจฺฉํ ได้แก่ หลังเท้า. การไล้หน้าเป็นต้น มีนัยดัง
กล่าวแล้วนั้นแล.
สองบทว่า อวงฺคํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัคพัคคีย์เขียน
ลวดลายหันหน้าลงล่างที่หางตา ด้วยไม้ป้ายยาตา.
บทว่า วิเสสกํ มีความว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ทำรูปสัตว์แปลก ๆ มี
ทรวดทรงงดงาม ที่แก้ม.
บทว่า โอโลกนเกน มีความว่า เปิดหน้าต่างแลดูถนน.
สองบทว่า สาโกเก ติฏฺฐนฺติ มีความว่า เปิดประตู ยืนเยี่ยมอยู่
ครึ่งตัว.
บทว่า สนจฺจํ มีความว่า ให้ทำการมหรสพด้วยนักระบำ.
สองบทว่า เวสึ วุฏฺฐเปนฺติ มีความว่า ได้ทั้งหญิงนครโสเภณี.
สองบทว่า ปานาคารํ ฐเปนฺติ มีความว่า ย่อมชายสุรา.
สองบทว่า สูนํ ฐเปนฺติ มีความว่า ย่อมชายเนื้อ.
บทว่า อาปณํ มีความว่า ย่อมออกร้านสินค้าต่าง ๆ หลายอย่าง.
สองบทว่า ทาสํ อุปฏฺฐาเปนฺติ มีความว่า ย่อมรับทาสแล้วยัง
ทาสนั้น ให้ทำการรับใช้สองของตน. แม้ในทาสีเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน .
สองบทว่า หริตกปตฺติกํ ปกีณนฺติ มีความว่า ย่อมขายของสด
และของแห้ง. มีคำอธิบายว่า ย่อมออกร้านขายของเปิดแล้วแล.
กถาว่าด้วยจีวรเขียวทั้งปวงเป็นต้น ได้กล่าวแล้วแล.

[ว่าด้วยการปลงบริขาร]


ในข้อว่า ภิกฺขุนี เจ ภิกฺขเว กาลํ กโรนฺติ เป็นอาทิ มี
วินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ :-