เมนู

ให้ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทนางภิกษุณี. นางสากิยานีแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้
เป็นผู้ชื่อว่า อุปสมบทแล้วพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.
พระนางโคตมี บรรลุพระอรหัตด้วยพระโอวาทนี้ว่า เย โข ตฺวํ
โคตมิ
(เป็นอาทิ).
ข้อว่า กมฺมํ น กริยติ มีความว ่า ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมทั้ง
7 อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นอาทิ.
บทว่า ขมาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้ ย่อมขอโทษว่า เราทั้งหลาย
จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้อีก.
วินิจฉัยในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนํ กมฺมํ
อโรเปตฺวา ภิกฺขุนียํ นิยิยาเทตุํ
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
อันภิกษุทั้งหลายพึงยกขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดากรรมมีตัชชนียกรรม
เป็นต้น กรรมชื่อนี้ พึงทำแก่ภิกษุณีนั่น แล้วพึงมอบหมายว่า บัดนี้ ท่าน
ทั้งหลายนั่นแล จงทำกรรมนั้น.
ก็ถ้าว่า ภิกษุณีทั้งหลายทำกรรมอื่น ในเมื่อกรรมอื่น อันภิกษุยก
ขึ้นแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมถึงความเป็นผู้อันสงฆ์ควรปรับโทษ ตามนัยที่
กล่าวแล้วในบาลีนี้ว่า ทำนิยสกรรม แก่บุคคลผู้ควรแก่ตัชชนียกรรม ทีเดียว.

[ว่าด้วยอวันทิยกรณ์เป็นต้น]


วินิจฉัยในคำว่า กทฺทโมทเกน นี้ พึงทราบดังนี้:-
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รดด้วยน้ำโคลนอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ เมื่อรด
แม้ด้วยน้ำใส น้ำยอมและตมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ข้อว่า อวนฺทิโย โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภิกฺขุนิสงฺเฆน กาตพฺโพ
มีความว่า ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกัน ในสำนักภิกษุณี สวดประกาศ 3 ครั้ง

อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ชื่อโน้น แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีไม่พึงไหว้ ย่อมชอบใจแก่สงฆ์
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อัน ภิกษุณีทั้งหลายกระทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ด้วย
สวดประกาศเพียงเท่านี้ จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีแม้เห็นแล้วไม่พึง
ไหว้อย่างที่เห็นสามเณรแล้วไม่ไหว้ฉะนั้น.
อันภิกษุนั้น เมื่อจะประพฤติชอบ ไม่พึงไปสู่สำนักภิกษุณี พึงเข้าไป
หาสงฆ์หรือบุคคลผู้หนึ่ง ในสำนักนั่นแล นั่งกระโหย่งประนมมือ ขอขมา
โทษว่า ขอภิกษุณีสงฆ์จงอดโทษแก่ข้าพเจ้า. ภิกษุนั้น พึงไปสู่สำนักภิกษุณี
กล่าวว่า ภิกษุนั้น ขอโทษพวกท่าน. จำเดิมแต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้
ภิกษุนั้น. ความสังเขปในภิกขุนิกขันธกะนี้ เท่านี้ แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวความ
พิสดาร ในกัมมวิภังค์.
บทว่า โอภาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัคพัคคีย์ย่อมชักชวนภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยอสัทธรรม.
หลายบทว่า ภิกฺขุนีหิ สทฺธึ สมปฺโยเชนฺติ มีความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ช่วยชักจูงบุรุษกับภิกษุณีด้วยอสัทธรรม. การทำให้เป็นผู้อันภิกษุณี
ทั้งหลายไม่พึงไหว้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อาวรณํ ได้แก่ การกีดกัน มีการห้ามมิให้เข้าในสำนัก
เป็นต้น .
บทว่า น อาทิยนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัพพัคคีย์ ไม่ยอม
รับเองโดยชอบ.
วินิจฉัยในคำว่า โอวาทํ ฐเปตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

โอวาทอันภิกษุไม่พึงไปงดที่สำนักภิกษุณี แต่พึงบอกภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้มาเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ว่า ภิกษุณีชื่อโน้น มีอาบัติติดตัว เรางดโอวาท
แก่ภิกษุณีนั้น เธอทั้งหลายอย่าทำอุโบสถกับภิกษุณีนั้น. ทัณฑกรรมแม้ในการ
เปิดกายเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
คำว่า น ภิกฺขเว ภิกฺขุนิยา โอวาโท น คนฺตพฺโพ เป็น
อาทิข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวรรณนาแห่งภิกขุนีวิภังค์.

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]


ข้อว่า ผาสุเก นเมนฺติ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้ประคดอก
คาดซี่โครง เพื่อประโยชน์ที่จะดัด อย่างหญิงคฤหัสถ์เพิ่งรุ่นสาว คาดด้วย
ผ้าคาดนมฉะนั้น.
บทว่า เอกปริยายกตํ ได้แก่ ประคดที่คาดได้รอบเดียว.
สองบทว่า วิลิเวน ปฏฺเฏน ได้แก่ ผ้าแถบที่ทอด้วยตอกไม้ไผ่
อย่างละเอียด.
บทว่า ทุสฺสปฏเฏน . ได้แก่ ผ้าแถบขาว
บทว่า ทุสฺสเวณิยา ได้แก่ ช้องที่ทำด้วยผ้า.
บทว่า ทุสฺสวฏฺฏิยา ได้แก่ เกลียวที่ทำด้วยผ้า.
ในผ้าแถบเล็กเป็นต้น ผ้ากาสาวะผืนเล็ก พึงทราบว่า ชื่อว่าผ้าแถบเล็ก.
บทว่า อฏฺฐิลฺเลน ได้แก่ กระดูกเเข้งแห่งโค. บั้นสะเอวเรียก
ตะโพก.
สองบทว่า หตฺถํ โกฏฺฏาเปนฺติ ได้แก่ ให้ทุบปลายแขนแต่งให้
งามด้วยชนนกยูงเป็นต้น.
บทว่า หตถฺโกจฺฉํ ได้แก่ หลังมือ.