เมนู

เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำประกอบ
ด้วยประโยชน์.
ข้อว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โทสนฺตโร มีความว่า เรา
จักเข้าไปตั้งเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายกล่าว.

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงพิจารณาในตน]


สองบทว่า อชฺฌตฺตํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ พึงยังความคิดของตน
ให้เกิดขึ้น.
บทว่า การุญฺญตา นั้น ได้แก่ ความมีกรุณา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรุณาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
กรุณา ด้วยความมีกรุณานี้.
ความใฝ่หาประโยชน์ ชื่อว่า ความเป็นผู้แสวงประโยชน์.
ความประกอบพร้อมด้วยประโยชน์เกื้อกูลนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้
อนุเคราะห์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
เมตตา ด้วยความเป็นผู้แสวงประโยชน์ และความเป็นผู้อนุเคราะห์แม้ทั้ง 2.
การให้ออกเสียจากอาบัติแล้ว ให้ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้หมดจด ชื่อว่า
ความออกจากอาบัติ.
การที่ฟ้องคดีแล้วให้จำเลยให้การ อ้างเอาคำปฏิญญา ทำกรรมตามที่
ปฏิญญาอย่างไร ชื่อว่า ความเป็นผู้ทำพระวินัยให้เป็นที่เคารพ
ข้อว่า อิเม ปญฺจ ธมฺเม มีความว่า ธรรมเหล่านี้ใด ที่เรากล่าวแล้ว
โดยนัยมีคำว่า การุญฺญตา เป็นต้น, ภิกษุผู้โจทก์ พึงพิจารณาธรรมทั้ง 5
เหล่านั้น ภายในตนแล้ว จึงโจทก์ผู้อื่น ฉะนั้นแล.