เมนู

ส่วนวจีสมาจาร ย่อมเป็นช่องทะลุ และมีโทษควรสอดส่อง เพราะ
พูดปด พูดเสียดแทง พูดส่อเสียด และโจทอาบัติไม่มีมูลเป็นต้น. วจีสมาจาร
ที่แผกกัน พึงทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ และไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.
ข้อว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ มีความว่า จิตของเรามีเมตตา
ตัดกังวล ถึงทับแล้วด้วยความใส่ใจกัมมัฏฐานภาวนา.
บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่เว้นจากอาฆาต. อธิบายว่า ปราศจากอาฆาต
ด้วยอำนาจแห่งความข่มไว้.
ข้อว่า อิทํ ปน อาวุโส กตฺถ วุตฺตํ ภควตา มีความว่า สิกขา
บทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วที่เมืองไหน ?

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตั้งในตน]


วินิจฉัยในคำว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-
ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังบุคคลผู้หนึ่งให้ทำโอกาสแล้วจึงโจท ชื่อว่ากล่าว
โดยกาล เมื่อโจทในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ โรงสลากข้าวต้ม โรงวิตก
ทางที่เที่ยวภิกษาและโรงฉันเป็นต้นก็ดี ในขณะที่อุปัฏฐากทั้งหลายปวารณาก็ดี
ชื่อว่า กล่าวโดยมิใช่กาล.
เมื่อกล่าวด้วยคำจริง ชื่อว่า กล่าวด้วยคำแท้.
เมื่อกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ แน่ะท่านผู้ใหญ่ แน่ะท่านผู้เที่ยวอยู่ใน
บริษัท แน่ะท่านผู้ถือบังสกุล แน่ะท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่าน ชื่อว่า
กล่าวด้วยคำหยาบ.
แต่เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นผู้ใหญ่
ท่านเป็นผู้เที่ยวอยู่ในบริษัท ท่านเป็นผู้ถือบังสกุล ท่านเป็นธรรมกถึก นี้
สมควรแก่พวกท่าน ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำไพเราะ.

เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำประกอบ
ด้วยประโยชน์.
ข้อว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โทสนฺตโร มีความว่า เรา
จักเข้าไปตั้งเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายกล่าว.

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงพิจารณาในตน]


สองบทว่า อชฺฌตฺตํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ พึงยังความคิดของตน
ให้เกิดขึ้น.
บทว่า การุญฺญตา นั้น ได้แก่ ความมีกรุณา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรุณาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
กรุณา ด้วยความมีกรุณานี้.
ความใฝ่หาประโยชน์ ชื่อว่า ความเป็นผู้แสวงประโยชน์.
ความประกอบพร้อมด้วยประโยชน์เกื้อกูลนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้
อนุเคราะห์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง
เมตตา ด้วยความเป็นผู้แสวงประโยชน์ และความเป็นผู้อนุเคราะห์แม้ทั้ง 2.
การให้ออกเสียจากอาบัติแล้ว ให้ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้หมดจด ชื่อว่า
ความออกจากอาบัติ.
การที่ฟ้องคดีแล้วให้จำเลยให้การ อ้างเอาคำปฏิญญา ทำกรรมตามที่
ปฏิญญาอย่างไร ชื่อว่า ความเป็นผู้ทำพระวินัยให้เป็นที่เคารพ
ข้อว่า อิเม ปญฺจ ธมฺเม มีความว่า ธรรมเหล่านี้ใด ที่เรากล่าวแล้ว
โดยนัยมีคำว่า การุญฺญตา เป็นต้น, ภิกษุผู้โจทก์ พึงพิจารณาธรรมทั้ง 5
เหล่านั้น ภายในตนแล้ว จึงโจทก์ผู้อื่น ฉะนั้นแล.