เมนู

และมีภิกษาดีเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความได้นั้น จึงตรัสว่า
เราจักได้.
ข้อว่า ภวิสฺสติ สงฺฆสฺส ตโตนิทานํ ภณฺฑนํ มีความว่า
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท และความแตก
แห่งสงฆ์ จักมีแก่สงฆ์ เหมือนมีแก่พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี.
ข้อว่า ปจฺฉาปิ อวิปฺปฏิสารกรํ ภวิสฺสติ มีความว่า ความ
หวนระลึกถึงอธิกรณ์นั้น ในภายหลัง ไม่ทำความเดือดร้อนให้เหมือนความ
หวนระลึกของพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำปัญจสติกสังคีติข่มขี่สุภัททภิกษุผ้บวช
เมื่อแก่, และเหมือนความหวนระลึกของท่านพระยสะผู้ทำสัตตสติกสังคีติ ข่มขี่
ภิกษุหมื่นรูป เพราะอธิกรณ์มีวัตถุ 10, และเหมือนความหวนระลึกของพระ-
โมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ทำสหัสสกสังคีติ ข่มขี่ภิกษุ 6 หมื่นรูป ไม่ทำความ
เดือดร้อนให้ในภายหลังฉะนั้น. ทั้งอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนั้น
อันภิกษุโจทแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความที่พระศาสนาเป็นของมีสิริเพียงดังดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ อันปราศจากโทษเครื่องเศร้าหมอง

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตรวจดูในตน]


วินิจฉัยในคำว่า อจฺฉิทฺเทน อปฺปฏิมํเสน เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้ :-
บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้อันบุคคลใด
ประหารแล้วก็ดี แพทยกรรมทั้งหลาย มีการผ่าฝีเป็นต้น อันบุคคลใดทำแล้ว
แก่คฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี กายสมาจารของบุคคลนั้น เป็นช่องทะลุ เหมือนใบ
ตาลที่ปลวกกิน และชื่อว่ามีโทษที่ควรสอดส่อง เพราะเป็นของที่จะพึงอาจ
เพื่อลูบคลำได้ คือเพื่อจับคร่าในที่ใดที่หนึ่งได้. กายสมาจารที่แผกกัน พึง
ทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ ไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.

ส่วนวจีสมาจาร ย่อมเป็นช่องทะลุ และมีโทษควรสอดส่อง เพราะ
พูดปด พูดเสียดแทง พูดส่อเสียด และโจทอาบัติไม่มีมูลเป็นต้น. วจีสมาจาร
ที่แผกกัน พึงทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ และไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.
ข้อว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ มีความว่า จิตของเรามีเมตตา
ตัดกังวล ถึงทับแล้วด้วยความใส่ใจกัมมัฏฐานภาวนา.
บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่เว้นจากอาฆาต. อธิบายว่า ปราศจากอาฆาต
ด้วยอำนาจแห่งความข่มไว้.
ข้อว่า อิทํ ปน อาวุโส กตฺถ วุตฺตํ ภควตา มีความว่า สิกขา
บทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วที่เมืองไหน ?

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตั้งในตน]


วินิจฉัยในคำว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-
ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังบุคคลผู้หนึ่งให้ทำโอกาสแล้วจึงโจท ชื่อว่ากล่าว
โดยกาล เมื่อโจทในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ โรงสลากข้าวต้ม โรงวิตก
ทางที่เที่ยวภิกษาและโรงฉันเป็นต้นก็ดี ในขณะที่อุปัฏฐากทั้งหลายปวารณาก็ดี
ชื่อว่า กล่าวโดยมิใช่กาล.
เมื่อกล่าวด้วยคำจริง ชื่อว่า กล่าวด้วยคำแท้.
เมื่อกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ แน่ะท่านผู้ใหญ่ แน่ะท่านผู้เที่ยวอยู่ใน
บริษัท แน่ะท่านผู้ถือบังสกุล แน่ะท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่าน ชื่อว่า
กล่าวด้วยคำหยาบ.
แต่เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นผู้ใหญ่
ท่านเป็นผู้เที่ยวอยู่ในบริษัท ท่านเป็นผู้ถือบังสกุล ท่านเป็นธรรมกถึก นี้
สมควรแก่พวกท่าน ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำไพเราะ.