เมนู

[ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์]


ภิกษุผู้ประสงค์จะชำระพระศาสนาให้หมดจด จึงฉวยอธิกรณ์ใด ด้วย
ตน, อธิกรณ์นั้น พระอุบาลีเถระเรียกว่า อตฺตาทานํ ในคำว่า อตฺตาทานํ
อาทาตุกาเมน.
กาลนี้ คือ ราชภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย กาลที่ฝนเปียกชุ่ม เป็น
สมัยมิใช่กาล ในคำว่า อกาโล อิมํ อตฺตาทานํ อาทาตุ นี้ กาลพึง
เห็นแผกกัน.
ข้อว่า อภูตํ อิทํ อตฺตาทานํ มีความว่า อธิกรณ์นี้ไม่มี, อธิบาย
ว่า ถ้าว่า ภิกษุเมื่อพิจารณาทราบอย่างนี้ว่า อธรรม เราถือว่า เป็นธรรม,
หรือว่า ธรรม เราถือว่า เป็นอธรรม หรือว่ามิใช่วินัย เราถือว่า วินัย,
วินัย เราถือว่า มิใช่วินัย, หรือว่าบุคคลทุศีล เราถือว่า บุคคลมีศีล หรือ
ว่า บุคคลมีศีล เราถือว่า บุคคลทุศีล. อธิกรณ์ที่จริง พึงทราบโดยปริยาย
อันแผกกัน.
อธิกรณ์ใด เป็นไปเพื่ออันตรายแห่งชีวิต หรือเพื่ออันตรายแก่
พรหมจรรย์ อธิกรณ์นี้ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในคำว่า อนตฺถ-
สญฺหิตํ อิทํ อตฺตาทานํ
นี้. อธิกรณ์ที่แผก (จากนั้น ) ชื่อว่าประกอบ
ด้วยประโยชน์.
ข้อว่า น ลภิสฺสามิ สนฺทิฏฺเฐ สมฺภตฺเต ภิกฺขู มีความว่าจริง
อยู่ ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายผู้สนับสนุนฝ่ายของตนเห็นปานนั้น ย่อม
เป็นผู้อันเธอไม่อาจที่จะได้ ในเพราะภัยมีราชภัยเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความไม่ได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักไม่ได้. แต่ในกาลบางคราว
ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นผู้อันเธออาจที่จะได้ เพราะเป็นความปลอดภัย