เมนู

ด้วยคำว่า ยาว พาหาคหณาปี นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระประสงค์ว่า จริงอยู่ โมฆบุรุษนั้น พอได้ฟังคำว่า อานนท์ บริษัท
ไม่บริสุทธิ์ แล้ว พึงหลีกไปเสียก็มี, โมฆบุรุษนั้นไม่หลีกไปด้วยคำอย่างนั้น
จักมาเพียงจับแขนเท่านั้น. ความมานี้ น่าอัศจรรย์.
ข้อว่า น อายตเกเนว ปปาโต โหติ มีความว่า มหาสมุทร
เป็นของลึกโตรกแต่แรกหามิได้ คือ เป็นของลึกโดยลำดับ.
ข้อว่า ฐิตธมฺโม เวลํ นาติวตฺตติ มีความว่า มหาสมุทรไม่ล้น
ฝั่ง คือคันแดนเป็นที่ลงและขึ้นแห่งคลื่นทั้งหลาย.
สองบทว่า ตีรํ วาเหติ มีความว่า คลื่นย่อมพัดขึ้นฝั่ง คือซัด
ขึ้นบก.
บทว่า อญฺญาปฏิเวโธ ได้แก่ ความตรัสรู้พระอรหัต.
คำว่า ฉนฺนมติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ
ความนี้ว่า เมื่อต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ชื่อว่าต้องอาบัติใหม่อื่น.
คำว่า วิวฏํ นาติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ
ความนี้ว่า ต้องอาบัติแล้วเปิดเผยเสีย ชื่อว่าไม่ต้องอาบัติอื่น.

[ว่าด้วยการงดปาฏิโมกข์]


วินิจฉัยในข้อว่า ฐปิตํ โหติ ปาฏิโมกฺขํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ปาฏิโมกข์ที่เป็นอันงดก่อนหรือภายหลังก็มี ที่ไม่เป็นอันงดก่อนหรือ
ภายหลังก็มี, แต่ปาฏิโมกข์ที่งดในเขตเท่านั้น จึงเป็นอันงด; เพราะฉะนั้น
ปาฏิโมกข์อันสงฆ์พึงงดเพียงที่สวด เร อักษรในคำนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต
สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ
อุโปสถํ กเรยฺย
นี้แล ชื่อว่าเขต. แต่ครั้นสวด อักษรแล้ว จึงงด
ชื่อว่างดภายหลัง.

เมื่อคำว่า สุณาตุ เม ยังไม่ทันได้เริ่ม เมื่องดเสีย เป็นอันงดก่อน.
ข้อว่า อมูลิกาย ทิฏฺฐิวิปตฺติยา ปาฏิโมกฺขํ ฐเปติ อกตาย
มีความว่า วิบัตินั้น จะเป็นการที่บุคคลนั้น ทำแล้วหรือมิได้ทำก็ตามที, ความ
สำคัญของภิกษุผู้งดปาฏิโมกข์ ย่อมเป็นของไม่มีมูล ด้วยอำนาจแห่งวิบัติที่ไม่
มีมูล.
คำว่า กตากตาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมทั้ง 2 อย่าง ทั้งที่
ทำ ทั่งที่ไม่ทำ.
ข้อว่า ธมฺมิกํ สามคฺคึ น อุเปติ มีความว่า เมื่อสังฆกรรม
อันสงฆ์กระทำอยู่ ภิกษุไม่มา ไม่มอบฉันทะ และอยู่พร้อมหน้า คัดค้าน
เพราะความเป็นผู้ประสงค์จะยังกรรมให้กำเริบ, ด้วยเหตุนั้นเธอต้องทุกกฏ.
ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ปจฺจาทิยติ มีความว่า ย่อมกลับถือว่า กรรมต้องทำใหม่.
เพราะการรื้อนั้น เธอย่อมต้องปาจิตตีย์. ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวแม้
นั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า เยหิ อากาเรหิ เยหิ ลิงฺเคหิ เยหิ นิมิตฺเตหิ นี้พึง
ทราบ เครื่องหมายรู้มีอาการเป็นต้น ในองค์ทั้งหลายมียังมรรคกับมรรคให้จด
กันเป็นต้น.
วัตถุที่ได้เห็นแล้ว และวัตถุที่ได้ฟังแล้ว ในคำว่า เตน ทิฏฺเฐน
เตน สุเตน ตาย ปริสงฺกาย
นี้ มาแล้วในพระบาลีนั่นเอง
ก็ถ้าว่า ภิกษุพึงยังความรังเกียจให้เกิดขึ้น เพราะวัตถุที่ได้เห็นและได้
ฟังแล้วเหล่านั้นไซร้, คำว่า ด้วยความรังเกียจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอาความรังเกียจนั้น.

[ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์]


ภิกษุผู้ประสงค์จะชำระพระศาสนาให้หมดจด จึงฉวยอธิกรณ์ใด ด้วย
ตน, อธิกรณ์นั้น พระอุบาลีเถระเรียกว่า อตฺตาทานํ ในคำว่า อตฺตาทานํ
อาทาตุกาเมน.
กาลนี้ คือ ราชภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย กาลที่ฝนเปียกชุ่ม เป็น
สมัยมิใช่กาล ในคำว่า อกาโล อิมํ อตฺตาทานํ อาทาตุ นี้ กาลพึง
เห็นแผกกัน.
ข้อว่า อภูตํ อิทํ อตฺตาทานํ มีความว่า อธิกรณ์นี้ไม่มี, อธิบาย
ว่า ถ้าว่า ภิกษุเมื่อพิจารณาทราบอย่างนี้ว่า อธรรม เราถือว่า เป็นธรรม,
หรือว่า ธรรม เราถือว่า เป็นอธรรม หรือว่ามิใช่วินัย เราถือว่า วินัย,
วินัย เราถือว่า มิใช่วินัย, หรือว่าบุคคลทุศีล เราถือว่า บุคคลมีศีล หรือ
ว่า บุคคลมีศีล เราถือว่า บุคคลทุศีล. อธิกรณ์ที่จริง พึงทราบโดยปริยาย
อันแผกกัน.
อธิกรณ์ใด เป็นไปเพื่ออันตรายแห่งชีวิต หรือเพื่ออันตรายแก่
พรหมจรรย์ อธิกรณ์นี้ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในคำว่า อนตฺถ-
สญฺหิตํ อิทํ อตฺตาทานํ
นี้. อธิกรณ์ที่แผก (จากนั้น ) ชื่อว่าประกอบ
ด้วยประโยชน์.
ข้อว่า น ลภิสฺสามิ สนฺทิฏฺเฐ สมฺภตฺเต ภิกฺขู มีความว่าจริง
อยู่ ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายผู้สนับสนุนฝ่ายของตนเห็นปานนั้น ย่อม
เป็นผู้อันเธอไม่อาจที่จะได้ ในเพราะภัยมีราชภัยเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความไม่ได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักไม่ได้. แต่ในกาลบางคราว
ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นผู้อันเธออาจที่จะได้ เพราะเป็นความปลอดภัย