เมนู

เรื่องภิกษุผู้โจทก์และถูกโจทเป็นธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน
เรื่องพระสัมพุทธทรงประกาศข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ถูกโจทก์ไว้ 5 อย่าง คือ
ความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความออกจากอาบัติ ความทำ
วินัยเป็นเบื้องหน้า.
เรื่องทั้งอยู่ในความสัตย์และความไม่ขุ่นเคือง นี้เป็นธรรมดาของ
จำเลยแล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา


วินิจฉัยในปาฏิโมกขัฏฐรปนักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า นนฺทิมุขิยา รตฺติยา มีความว่า ราตรีปรากฎเหมือน
มีหน้าอันเอิบอิ่ม ในเวลาอรุณขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว
ว่า ราตรีมีหน้าชื่น.
บทว่า อนฺโตปูตึ มีความว่า ผู้เสียข้างใน โดยมีความเสียเพราะ
กิเลส ในภายในจิตสันดานเป็นสภาพ.
บทว่า อวสฺสุตํ มีความว่า ผู้ชุ่มแล้วด้วยอำนาจแห่งความรั่วแห่ง
กิเลส.
บทว่า กสมฺพุชาตํ มีความว่า ชื่อว่าผู้เศร้าหมอง เพราะเป็นผู้มี
โทษเกลื่อนกลาด.

ด้วยคำว่า ยาว พาหาคหณาปี นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระประสงค์ว่า จริงอยู่ โมฆบุรุษนั้น พอได้ฟังคำว่า อานนท์ บริษัท
ไม่บริสุทธิ์ แล้ว พึงหลีกไปเสียก็มี, โมฆบุรุษนั้นไม่หลีกไปด้วยคำอย่างนั้น
จักมาเพียงจับแขนเท่านั้น. ความมานี้ น่าอัศจรรย์.
ข้อว่า น อายตเกเนว ปปาโต โหติ มีความว่า มหาสมุทร
เป็นของลึกโตรกแต่แรกหามิได้ คือ เป็นของลึกโดยลำดับ.
ข้อว่า ฐิตธมฺโม เวลํ นาติวตฺตติ มีความว่า มหาสมุทรไม่ล้น
ฝั่ง คือคันแดนเป็นที่ลงและขึ้นแห่งคลื่นทั้งหลาย.
สองบทว่า ตีรํ วาเหติ มีความว่า คลื่นย่อมพัดขึ้นฝั่ง คือซัด
ขึ้นบก.
บทว่า อญฺญาปฏิเวโธ ได้แก่ ความตรัสรู้พระอรหัต.
คำว่า ฉนฺนมติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ
ความนี้ว่า เมื่อต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ชื่อว่าต้องอาบัติใหม่อื่น.
คำว่า วิวฏํ นาติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ
ความนี้ว่า ต้องอาบัติแล้วเปิดเผยเสีย ชื่อว่าไม่ต้องอาบัติอื่น.

[ว่าด้วยการงดปาฏิโมกข์]


วินิจฉัยในข้อว่า ฐปิตํ โหติ ปาฏิโมกฺขํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ปาฏิโมกข์ที่เป็นอันงดก่อนหรือภายหลังก็มี ที่ไม่เป็นอันงดก่อนหรือ
ภายหลังก็มี, แต่ปาฏิโมกข์ที่งดในเขตเท่านั้น จึงเป็นอันงด; เพราะฉะนั้น
ปาฏิโมกข์อันสงฆ์พึงงดเพียงที่สวด เร อักษรในคำนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต
สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ
อุโปสถํ กเรยฺย
นี้แล ชื่อว่าเขต. แต่ครั้นสวด อักษรแล้ว จึงงด
ชื่อว่างดภายหลัง.