เมนู

ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด
หมาง. ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น
เป็นเหตุ จักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับ
อุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้จักไม่ทำ
ความเดือดร้อนแม้ในภายหลังแล.

ทูลถามการโจท


[500] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น
พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะ
โจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น ดูก่อนอุบาลี
ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติ
ทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มี
ช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มี
ตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
[501] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบ
ด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เรา
หรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วย
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า
เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[502] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาอย่างนี้ว่า จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย
หรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่
อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตา
จิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
[503] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรม
เหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประ-
กาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็น
ปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยปัญญาธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่
สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ
ในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้น
เชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้น
ใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียน
ปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
[504] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ
คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มี
แก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวด
ไพเราะ คล่องแคล่ววินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถาม
ว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อม
จะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5
ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น.
[505] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนา
จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจท
ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ :-
1. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
2. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
3. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
4. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้
ประโยชน์
5. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5
ประการนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน


[506] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง
ความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม
พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ 5 คือ:-
1. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือด
ร้อน
2. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน