เมนู

รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น
ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึง
วันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ
ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน
และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้า
สงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม
การงดปาติโมกข์เป็นธรรม 10 ประการ นี้แล.
ภาณวาร ที่ 1 จบ

พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์


[499] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย
บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้
ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ที่ตนรับ พึงรับอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์เท่าไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์
พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์ 5 คือ:-
1. ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราปรารถนา
จะรับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้
ว่าเป็นกาลไม่ควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุ
ไม่พึงรับ
2. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกาลควรที่จะรับอธิกรณ์
นี้ หาใช่กาลไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า ที่เราปรารถนาจะรับ

อธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ
3. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หา
ใช่เป็นเรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราปรารถนาจะรับอธิกรณ์
นี้ อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
อธิกรณ์นี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุ
ไม่พึงรับ
4. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประ-
โยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อ
เรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรม
โดยวินัยหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก
ไม่ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น
ภิกษุไม่พึงรับ
5. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก
ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย ภิกษุนั้นพึง
พิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความ
ถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์
หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด
หมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น
เป็นเหตุจักมีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด
หมาง. ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น
เป็นเหตุ จักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับ
อุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้จักไม่ทำ
ความเดือดร้อนแม้ในภายหลังแล.

ทูลถามการโจท


[500] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น
พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะ
โจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น ดูก่อนอุบาลี
ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติ
ทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มี
ช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มี
ตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.
[501] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบ
ด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เรา
หรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วย
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า
เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.