เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เชิญเถิด เจ้าวัฑฒะ โทษได้มาถึงท่านแล้ว
ตามความโง่ ตามความเขลา ตามอกุศล ท่านได้เห็นโทษ ที่ได้โจททัพพมัลลบุตร
ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราขอรับโทษ
นั้นของท่าน การที่ท่านเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม
ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
[116] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงหงายบาตร แก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ทำให้
คบกับสงฆ์ได้.

องค์แห่งการหงายบาตร


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรแก่อุบาสก ผู้ประกอบด้วย
องค์ 8 คือ :-
1. ไม่ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย
2. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่เป็นประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย
3 . ไม่ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
4. ไม่ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
5. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกร้าวกัน
6. ไม่กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
7. ไม่กล่าวติเตียนพระธรรม
8. ไม่กล่าวติเตียนพระสงฆ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หงายบาตร แก่อุบาสกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 8 นี้.

[117] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงหงายบาตรอย่างนี้ เจ้า-
วัฑฒลิจฉวีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่
ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคบกับสงฆ์ไม่ได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[118] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาหงายบาตร


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ คว่ำบาตรแก่เจ้า-
วัฑฒลิจฉวีแล้ว คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หาย
เย่อยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ
ทำให้คบกับสงฆ์ได้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้า
วัฑฒลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ สงฆ์หงายบาตรแก่เจ้า
วัฑฒลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ การหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี
คือ ทำไห้คบกับสงฆ์ได้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด