เมนู

[เรื่องน้ำชำระ]


วินิจฉัยในเรื่องน้ำชำระ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า สติ อุทเก นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้ามีน้ำ แต่ไม่มีที่กำบัง, พึง
ใช้ภาชนะตักไปชำระ. เมื่อไม่มีภาชนะ พึงเอาบาตรตักไป. แม้บาตรก็ไม่มี
เป็นอันชื่อว่าไม่มีภาชนะ. ภิกษุผู้ไปด้วยทำในใจว่า ที่นี่เปิดเผยนัก ข้างหน้า
จักมีน้ำอื่น ยังไม่ทันได้น้ำ ได้เวลาภิกษาจาร, พึงเช็ดด้วยไม้หรือของบาง
อย่างแล้วจึงไป. ภิกษุนั้นฉันก็ดี กระทำอนุโมทนาก็ดี ย่อมควร.
บทว่า อาคตปฏิปาฏิยา มีความว่า ลำดับแห่งผู้มาเท่านั้นเป็นประ-
มาณ ในสถานทั้ง 3 คือ เวจกุฎี ที่ถ่ายปัสสาวะ ท่าอาบน้ำ.

[เวจกุฏิวัตร]


วินิจฉัยในเวจกุฏิวัตร พึงทราบดังนี้.
ข้อว่า ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันพลาง ถ่ายอุจจาระพลาง นี้เป็นข้อ
ห้ามในทีทั้งปวงทีเดียว ทั้งเวจกุฎี ทั้งมิใช่เวจกุฎี.
ข้อว่า ผรุเสน กฏฺเฐน มีความว่า ไม่ควรเช็ดด้วยไม้ที่ผ่า หรือ
ไม้คม หรือไม้มีปม หรือไม้มีหนาม หรือไม้มีแผล หรือไม้ผุ. แต่ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ถือชำระเข้าไป.
คำว่า น อาจมนสราวเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาฐาน
ที่ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งปวง.
จริงอยู่ ภิกษุอื่น ๆ ย่อมมาที่สาธารณฐานนั้น, เพราะฉะนั้น จึงไม่
ควรเหลือน้ำไว้. ส่วนฐานใด เป็นสถานที่ทำไว้ในเอกเทศในวัด แม้เป็น
ของสงฆ์ เพื่อต้องการจะไปถ่ายเป็นนิตย์ หรือเป็นฐานส่วนด้วยบุคคล. ใน
ฐานนั้น จะเหลือน้ำไว้ในขันชำระก็ได้. แม้ภิกษุผู้ฉันยาถ่าย เข้าไปบ่อย ๆ
จะเหลือไว้ก็ควรเหมือนกัน.