เมนู

นอกบ้านไม่มีน้ำ, พึงทำภัตกิจภายในบ้านนั่นแล, ถ้าว่า ภายนอกบ้านมีน้ำ,
พึงทำภัตกิจภายนอกบ้านแล้วล้างบาตร ทำให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ถลก.
ข้อว่า ปริโภชนียํ อุปฏฺฐาเปตพฺพํ มีความว่า หากว่าภาชนะไม่
พอไซร้, พึงเตรียมน้ำฉันนั่นแลไว้ ทำให้เป็นน้ำใช้ด้วย. เมื่อไม่ได้ภาชนะ
พึงขังไว้ในกระบอกไม้ไผ่ก็ได้. ภิกษุผู้ไม่ได้แม้ซึ่งกระบอกไม้ไผ่นั้น พึงทำให้
มีบ่อน้ำอยู่ในที่ใกล้. เมื่อไม้สีไฟไม่มี แม้จะไม่ก่อไฟก็ควร. เหมือนอย่างภิกษุ
ผู้อยู่ป่า พึงต้องการไม้สีไฟฉันใด, แม้ภิกษุผู้เดินทางกันดาร ก็พึงต้องการไม้
สีไฟฉันนั้น แต่สำหรับภิกษุผู้อยู่ในหมู่ การอยู่ แม้เว้นจากไม้สีไฟนั้น ก็ควร.
ดาวทั้งหลายนั่งเอง ชื่อนี้กษัตรบถ.

[เสนาสนวัตร]


วินิจฉัยในเสนาสนวัตร พึงทราบดังนี้:-
ธรรมดาประตูเป็น ทางที่ใช้มาก เพราะฉะนั้น ไม่มีกิจที่จะต้องบอก
เล่าสำหรับประตู ส่วนกิจที่เหลือเป็นต้นว่าให้อุทเทส ต้องบอกเล่าเสียก่อน จึง
ค่อยทำ, สมควรบอกทุกวัน
แม้หากว่า เมื่อนวกภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เฉพาะกิจที่ผมจะต้อง
บอกเล่า จงเป็นอันบอกเถิด ภิกษุผู้แก่กว่ารับว่า ดีละหรือภิกษุผู้แก่กว่าบอก
เสียเองว่า ท่านจงอยู่ตามสบายเถิด; แม้อย่างนี้ จะไม่บอกเล่าก็ได้. แม้ด้วย
ความคุ้นเคย จะไม่บอกเล่าแก่ภิกษุผู้ชอบกัน ควรเหมือนกัน.
ข้อว่า เยน วุฑฺโฒ เตน ปริวตฺติตพฺพํ มีความว่า ตรงหน้า
ภิกษุผู้แก่ พึงเลี้ยวไปเสีย. แม้ในโภชนศาลาเป็นต้น พึงปฏิบัติอย่างนี้เหมือนกัน.
วินิจฉัยในชันตาฆรวัตร พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ปริภณฺฑํ นั้น ได้แก่ ชานภายนอก.

[เรื่องน้ำชำระ]


วินิจฉัยในเรื่องน้ำชำระ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า สติ อุทเก นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้ามีน้ำ แต่ไม่มีที่กำบัง, พึง
ใช้ภาชนะตักไปชำระ. เมื่อไม่มีภาชนะ พึงเอาบาตรตักไป. แม้บาตรก็ไม่มี
เป็นอันชื่อว่าไม่มีภาชนะ. ภิกษุผู้ไปด้วยทำในใจว่า ที่นี่เปิดเผยนัก ข้างหน้า
จักมีน้ำอื่น ยังไม่ทันได้น้ำ ได้เวลาภิกษาจาร, พึงเช็ดด้วยไม้หรือของบาง
อย่างแล้วจึงไป. ภิกษุนั้นฉันก็ดี กระทำอนุโมทนาก็ดี ย่อมควร.
บทว่า อาคตปฏิปาฏิยา มีความว่า ลำดับแห่งผู้มาเท่านั้นเป็นประ-
มาณ ในสถานทั้ง 3 คือ เวจกุฎี ที่ถ่ายปัสสาวะ ท่าอาบน้ำ.

[เวจกุฏิวัตร]


วินิจฉัยในเวจกุฏิวัตร พึงทราบดังนี้.
ข้อว่า ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันพลาง ถ่ายอุจจาระพลาง นี้เป็นข้อ
ห้ามในทีทั้งปวงทีเดียว ทั้งเวจกุฎี ทั้งมิใช่เวจกุฎี.
ข้อว่า ผรุเสน กฏฺเฐน มีความว่า ไม่ควรเช็ดด้วยไม้ที่ผ่า หรือ
ไม้คม หรือไม้มีปม หรือไม้มีหนาม หรือไม้มีแผล หรือไม้ผุ. แต่ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ถือชำระเข้าไป.
คำว่า น อาจมนสราวเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาฐาน
ที่ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งปวง.
จริงอยู่ ภิกษุอื่น ๆ ย่อมมาที่สาธารณฐานนั้น, เพราะฉะนั้น จึงไม่
ควรเหลือน้ำไว้. ส่วนฐานใด เป็นสถานที่ทำไว้ในเอกเทศในวัด แม้เป็น
ของสงฆ์ เพื่อต้องการจะไปถ่ายเป็นนิตย์ หรือเป็นฐานส่วนด้วยบุคคล. ใน
ฐานนั้น จะเหลือน้ำไว้ในขันชำระก็ได้. แม้ภิกษุผู้ฉันยาถ่าย เข้าไปบ่อย ๆ
จะเหลือไว้ก็ควรเหมือนกัน.