เมนู

ถ้าว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า นิมนต์ล้างบาตรและมือเถิดท่านผู้เจริญ หรือ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าท่านจงรับน้ำเถิด, พระเถระควรล้างมือ.
ด้วยคำว่า นิวตฺตนฺเตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
สงฆ์เมื่อจะลุกขึ้นกลับจากโรงเลี้ยง พึงกลับอย่างนี้. อย่างไร ? พึงเห็นคำ
ทั้งปวงว่า นเวเกหิ เป็นต้น .
จริงอยู่ ในเรือนทั้งหลายที่คับแคบ ไม่มีโอกาสที่พระเถระทั้งหลาย
ออก; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
ก็นวกภิกษุทั้งหลาย ผู้กลับอยู่อย่างนั้น รออยู่ที่ประตูเรือน พึงไป
ตามลำดับกันได้ ในเมื่อพระเถระทั้งหลายออกอยู่.
แต่ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลาย เป็นผู้นั่งอยู่ไกล พวกนวกภิกษุนั่ง
อยู่ภายในเรือน, พึงออกตามแถวตั้งแต่เถรอาสน์ลงมาทีเดียว อย่าให้กายกับกาย
เบียดกัน เดินเป็นแถวห่าง ๆ ให้ชนทั้งหลายอาจไปในระว่างได้.

[ปิณฑจาริกวัตร]


วินิจฉัยในปิณฑจาริกวัตร พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า กมฺมํ วา นิกฺขิปนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลายถือสิ่งใดเป็น
ฝ้ายหรือกระด้งหรือสาก ทำการอยู่ เป็นผู้ยืนก็ตาม นั่งก็ตาม, วางสิ่งนั้นเสีย.
ข้อว่า น จ ภิกฺขาทายิกาย มีความว่า ผู้ถวายภิกษา จะเป็นสตรี
ก็ตาม บุรุษก็ตาม ในเวลาถวายภิกษา ภิกษุไม่พึงมองหน้า (เขา).

[อารัญญกวัตร]


วินิจฉัยในอารัญญกวัตร พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า เสนาสนา โอตริตพฺพํ มีความว่า พึงออกจากที่อยู่.
ในคำว่า ปตฺตํ ถวิกาย ปกฺขิปิตฺวา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่าภาย

นอกบ้านไม่มีน้ำ, พึงทำภัตกิจภายในบ้านนั่นแล, ถ้าว่า ภายนอกบ้านมีน้ำ,
พึงทำภัตกิจภายนอกบ้านแล้วล้างบาตร ทำให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ถลก.
ข้อว่า ปริโภชนียํ อุปฏฺฐาเปตพฺพํ มีความว่า หากว่าภาชนะไม่
พอไซร้, พึงเตรียมน้ำฉันนั่นแลไว้ ทำให้เป็นน้ำใช้ด้วย. เมื่อไม่ได้ภาชนะ
พึงขังไว้ในกระบอกไม้ไผ่ก็ได้. ภิกษุผู้ไม่ได้แม้ซึ่งกระบอกไม้ไผ่นั้น พึงทำให้
มีบ่อน้ำอยู่ในที่ใกล้. เมื่อไม้สีไฟไม่มี แม้จะไม่ก่อไฟก็ควร. เหมือนอย่างภิกษุ
ผู้อยู่ป่า พึงต้องการไม้สีไฟฉันใด, แม้ภิกษุผู้เดินทางกันดาร ก็พึงต้องการไม้
สีไฟฉันนั้น แต่สำหรับภิกษุผู้อยู่ในหมู่ การอยู่ แม้เว้นจากไม้สีไฟนั้น ก็ควร.
ดาวทั้งหลายนั่งเอง ชื่อนี้กษัตรบถ.

[เสนาสนวัตร]


วินิจฉัยในเสนาสนวัตร พึงทราบดังนี้:-
ธรรมดาประตูเป็น ทางที่ใช้มาก เพราะฉะนั้น ไม่มีกิจที่จะต้องบอก
เล่าสำหรับประตู ส่วนกิจที่เหลือเป็นต้นว่าให้อุทเทส ต้องบอกเล่าเสียก่อน จึง
ค่อยทำ, สมควรบอกทุกวัน
แม้หากว่า เมื่อนวกภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เฉพาะกิจที่ผมจะต้อง
บอกเล่า จงเป็นอันบอกเถิด ภิกษุผู้แก่กว่ารับว่า ดีละหรือภิกษุผู้แก่กว่าบอก
เสียเองว่า ท่านจงอยู่ตามสบายเถิด; แม้อย่างนี้ จะไม่บอกเล่าก็ได้. แม้ด้วย
ความคุ้นเคย จะไม่บอกเล่าแก่ภิกษุผู้ชอบกัน ควรเหมือนกัน.
ข้อว่า เยน วุฑฺโฒ เตน ปริวตฺติตพฺพํ มีความว่า ตรงหน้า
ภิกษุผู้แก่ พึงเลี้ยวไปเสีย. แม้ในโภชนศาลาเป็นต้น พึงปฏิบัติอย่างนี้เหมือนกัน.
วินิจฉัยในชันตาฆรวัตร พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ปริภณฺฑํ นั้น ได้แก่ ชานภายนอก.