เมนู

ถ้าว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า นิมนต์ล้างบาตรและมือเถิดท่านผู้เจริญ หรือ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าท่านจงรับน้ำเถิด, พระเถระควรล้างมือ.
ด้วยคำว่า นิวตฺตนฺเตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
สงฆ์เมื่อจะลุกขึ้นกลับจากโรงเลี้ยง พึงกลับอย่างนี้. อย่างไร ? พึงเห็นคำ
ทั้งปวงว่า นเวเกหิ เป็นต้น .
จริงอยู่ ในเรือนทั้งหลายที่คับแคบ ไม่มีโอกาสที่พระเถระทั้งหลาย
ออก; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
ก็นวกภิกษุทั้งหลาย ผู้กลับอยู่อย่างนั้น รออยู่ที่ประตูเรือน พึงไป
ตามลำดับกันได้ ในเมื่อพระเถระทั้งหลายออกอยู่.
แต่ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลาย เป็นผู้นั่งอยู่ไกล พวกนวกภิกษุนั่ง
อยู่ภายในเรือน, พึงออกตามแถวตั้งแต่เถรอาสน์ลงมาทีเดียว อย่าให้กายกับกาย
เบียดกัน เดินเป็นแถวห่าง ๆ ให้ชนทั้งหลายอาจไปในระว่างได้.

[ปิณฑจาริกวัตร]


วินิจฉัยในปิณฑจาริกวัตร พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า กมฺมํ วา นิกฺขิปนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลายถือสิ่งใดเป็น
ฝ้ายหรือกระด้งหรือสาก ทำการอยู่ เป็นผู้ยืนก็ตาม นั่งก็ตาม, วางสิ่งนั้นเสีย.
ข้อว่า น จ ภิกฺขาทายิกาย มีความว่า ผู้ถวายภิกษา จะเป็นสตรี
ก็ตาม บุรุษก็ตาม ในเวลาถวายภิกษา ภิกษุไม่พึงมองหน้า (เขา).

[อารัญญกวัตร]


วินิจฉัยในอารัญญกวัตร พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า เสนาสนา โอตริตพฺพํ มีความว่า พึงออกจากที่อยู่.
ในคำว่า ปตฺตํ ถวิกาย ปกฺขิปิตฺวา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่าภาย