เมนู

พระมหาเถระแม้ทำความผูกใจว่า พวกเราจักคอยอยู่นอกบ้านดังนี้ ไป
ถึงนอกบ้านแล้ว แม้จะสั่งนิสิตของตนว่า เธอทั้งหลายจงคอยความมาของภิกษุ
นั้น ดังนี้ แล้วไปเสีย ควรเหมือนกัน.
แต่ถ้าชาวบ้านให้ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งตนพอใจ ทำการอนุโมทนา หาเป็น
อาบัติแก่ภิกษุนั้น ผู้อนุโมทนาอยู่ไม่, ไม่เป็นภาระแก่พระมหาเถระ.
จริงอยู่ เพราะในอุปนิสินนกถา ต้องเรียนพระเถระก่อนในเมื่อชนทั้ง-
หลายให้กล่าว. ส่วนภิกษุที่พระมหาเถระเชิญเพื่ออนุโมทนาแทน ภิกษุทั้งหลาย
ต้องคอย. นี้เป็นลักษณะในเรื่องอนุโมทนานี้.
บทว่า วจฺจิโต มีความว่า พระเถระเกิดปวดอุจจาระ, อธิบายว่า
ผู้อันอุจจาระบีบคั้นแล้ว.

[ภัตตัคควัตร]


วินิจฉัยในภัตตัคควัตร พึงทราบดังนี้:-
ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า จะเป็นในละแวกบ้านหรือในวัดก็ตาม
การที่ภิกษุผู้จะไปสู่ที่เลี้ยงของชนทั้งหลาย ห่มจีวรคาดประคดนั่นแล สมควร.
หลายบทว่า น เถเร ภิกฺขู อนูปขชฺช มีความว่า ไม่พึงนั่งเบียด
ภิกษุผู้เป็นเถระนัก หากว่า อาสนะเสมอกับอาสนะที่พระมหาเถระนั่ง, เมื่อ
อาสนะมีมาก พึงนั่งเว้นไว้ 1 หรือ 2 อาสนะ ไม่พึงนั่งบนอาสนะที่เขานับ
ภิกษุแต่งตั้งไว้, พระมหาเถระสั่งว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง. ถ้าพระมหาเถระไม่
สั่ง, พึงเรียนว่า อาสนะนี้สูงขอรับ เมื่อท่านบอกว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง, ก็
ถ้าว่า เมื่อภิกษุใหม่ แม้เรียนแล้วอย่างนั้น พระมหาเถระไม่อนุญาต, ไม่เป็น
อาบัติแก่เธอผู้นั่ง. เป็นอาบัติแก่พระมหาเถระเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุใหม่ไม่
เรียนก่อน นั่งบนอาสนะเห็นปานนั้น ย่อมต้องอาบัติเหมือนพระเถระอันภิกษุ
ใหม่เรียนแล้วไม่อนุญาตฉะนั้น.

หลายบทว่า น สงฺฆาฏึ โอตฺถริตฺวา มีความว่า ไม่พึงปูสังฆาฏิ
แล้วนั่งทับ.
คำว่า อุโภหิ หตฺเถหิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาน้ำสำหรับ
ล้างบาตร ส่วนน้ำทักษิโณทก พึงวางบาตรบนเชิงข้างหน้าแล้วจึงรับ.
บทว่า สาธุกํ ได้แก่ ไม่ทำให้มีเสียงน้ำ.
สองบทว่า สูปสฺส โอถาโส มีความว่า โอกาสแห่งแกงจะมีอย่าง
ใด พึงรับข้าวสุกพอประมาณอย่างนั้น.
คำว่า ท่านจงได้ทั่วถึงเท่า ๆ กัน นี้ อันพระเถระพึงกล่าวในเนยใส
เป็นอาทิอย่างเดียวหามิได้, แม้ในข้าวสุก ก็พึงกล่าว.
ก็บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น สิ่งใดมีน้อย, สิ่งนั้นสมควรแก่ภิกษุรูป
เดียว หรือ 2 รูป, เมื่อพระเถระกล่าวว่า ท่านจงให้ทั่วถึงเท่า ๆ กันแก่ภิกษุทั้ง
ปวง ความลำบากย่อมมีแก่พวกชาวบ้าน เพราะฉะนั้น ของเช่นนั้น พึงรับครั้ง
เดียวหรือ 2 ครั้งแล้ว ที่เหลือไม่ควรรับ.
คำว่า น ตาว เถเรน ภุญฺชิตพฺพํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอาโรงเลี้ยงที่มีภิกษุอันทายกจำกัดไว้ (และ) โรงเลี้ยงที่ชนทั้งหลายเป็น
ผู้ประสงค์จะให้อาหารถึงแก่ภิกษุทั่วกันแล้วไหว้.
ส่วนโรงเลี้ยงใด เป็นโรงใหญ่, คือ ในโรงเลี้ยงใด ภิกษุทั้งหลายฉัน
อยู่ในประเทศหนึ่ง, ทายกถวายน้ำในประเทศหนึ่ง, ในโรงเลี้ยงนั้น พึงฉัน
ตามสบาย.
คำว่า น ตาว เถเรน อุทกํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
น้ำล้างมือ, ฝ่ายภิกษุมีความระหายในระหว่าง หรือผู้มีอามิสติดคอ พึงดื่มน้ำ
ไม่พึงล้างมือ.

ถ้าว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า นิมนต์ล้างบาตรและมือเถิดท่านผู้เจริญ หรือ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าท่านจงรับน้ำเถิด, พระเถระควรล้างมือ.
ด้วยคำว่า นิวตฺตนฺเตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
สงฆ์เมื่อจะลุกขึ้นกลับจากโรงเลี้ยง พึงกลับอย่างนี้. อย่างไร ? พึงเห็นคำ
ทั้งปวงว่า นเวเกหิ เป็นต้น .
จริงอยู่ ในเรือนทั้งหลายที่คับแคบ ไม่มีโอกาสที่พระเถระทั้งหลาย
ออก; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
ก็นวกภิกษุทั้งหลาย ผู้กลับอยู่อย่างนั้น รออยู่ที่ประตูเรือน พึงไป
ตามลำดับกันได้ ในเมื่อพระเถระทั้งหลายออกอยู่.
แต่ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลาย เป็นผู้นั่งอยู่ไกล พวกนวกภิกษุนั่ง
อยู่ภายในเรือน, พึงออกตามแถวตั้งแต่เถรอาสน์ลงมาทีเดียว อย่าให้กายกับกาย
เบียดกัน เดินเป็นแถวห่าง ๆ ให้ชนทั้งหลายอาจไปในระว่างได้.

[ปิณฑจาริกวัตร]


วินิจฉัยในปิณฑจาริกวัตร พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า กมฺมํ วา นิกฺขิปนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลายถือสิ่งใดเป็น
ฝ้ายหรือกระด้งหรือสาก ทำการอยู่ เป็นผู้ยืนก็ตาม นั่งก็ตาม, วางสิ่งนั้นเสีย.
ข้อว่า น จ ภิกฺขาทายิกาย มีความว่า ผู้ถวายภิกษา จะเป็นสตรี
ก็ตาม บุรุษก็ตาม ในเวลาถวายภิกษา ภิกษุไม่พึงมองหน้า (เขา).

[อารัญญกวัตร]


วินิจฉัยในอารัญญกวัตร พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า เสนาสนา โอตริตพฺพํ มีความว่า พึงออกจากที่อยู่.
ในคำว่า ปตฺตํ ถวิกาย ปกฺขิปิตฺวา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่าภาย