เมนู

วินิจฉัยในคำว่า เสนาสนํ อาปุจฺฉิตพฺพํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เสนาสนะใด สร้างไว้บนศิลาดาดหรือบนเสาศิลา, ปลวกทั้งหลายขึ้น
ไม่ได้ในเสนาสนะใด, ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่บอกมอบเสนาสนะนั้น.
คำว่า จตูสุ ปาสาณเกสุ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อ
แสดงอาการที่จะพึงกระทำ ในเสนาสนะมีบรรณศาลาเป็นต้น อันเป็นสถานที่
เกิดแห่งปลวกทั้งหลาย.
ข้อนี้ว่า บางที แม้ส่วนทั้งหลาย จะพึงเหลืออยู่บ้าง ดังนี้ เป็น
อานิสงส์ในเสนาสนะที่ตั้งไว้กลางแจ้ง.
ส่วนในเรือนที่ฝนรั่วได้ เมื่อหญ้าและก้อนดินตกลงข้างบน (แห่งเตียง
และตั่ง) แม้ส่วนทั้งหลายแห่งเตียงและตั่ง ย่อมฉิบหายไป

[เรื่องอนุโมทนา]


วินิจฉัยในเรื่องอนุโมทนา พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า อิทธํ อโหสิ มีความว่า ภัตได้เป็นของถึงพร้อมแล้ว.
ข้อว่า จตูหิ ปญฺจหิ มีความว่า เมื่อพระสังฆเถระนั่งแล้วเพื่อต้อง
การจะอนุโมทนา ภิกษุ 4 รูปพึงนั่งตามลำดับข้างท้าย. เมื่อพระอนุเถระนั่ง
แล้ว พระมหาเถระพึงนั่ง และภิกษุ 3 รูปพึงนั่งข้างท้าย. เมื่อภิกษุรูปที่ 5
นั่งแล้ว ภิกษุ 4 รูปพึงนั่งข้างบน. เมื่อภิกษุหนุ่มข้างท้าย อันพระสังฆเถระแม้
เชิญแล้ว ภิกษุ 4 รูป พึงนั่งตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาทีเดียว.
ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้อนุโมทนากล่าวว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ ไม่มีกิจที่จะ
ต้องคอย ดังนี้ ควรไป. เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกเราจะไปละ
เธอกล่าวว่า นิมนต์ไปเถิด, แม้อย่างนี้ ก็ควรไป.

พระมหาเถระแม้ทำความผูกใจว่า พวกเราจักคอยอยู่นอกบ้านดังนี้ ไป
ถึงนอกบ้านแล้ว แม้จะสั่งนิสิตของตนว่า เธอทั้งหลายจงคอยความมาของภิกษุ
นั้น ดังนี้ แล้วไปเสีย ควรเหมือนกัน.
แต่ถ้าชาวบ้านให้ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งตนพอใจ ทำการอนุโมทนา หาเป็น
อาบัติแก่ภิกษุนั้น ผู้อนุโมทนาอยู่ไม่, ไม่เป็นภาระแก่พระมหาเถระ.
จริงอยู่ เพราะในอุปนิสินนกถา ต้องเรียนพระเถระก่อนในเมื่อชนทั้ง-
หลายให้กล่าว. ส่วนภิกษุที่พระมหาเถระเชิญเพื่ออนุโมทนาแทน ภิกษุทั้งหลาย
ต้องคอย. นี้เป็นลักษณะในเรื่องอนุโมทนานี้.
บทว่า วจฺจิโต มีความว่า พระเถระเกิดปวดอุจจาระ, อธิบายว่า
ผู้อันอุจจาระบีบคั้นแล้ว.

[ภัตตัคควัตร]


วินิจฉัยในภัตตัคควัตร พึงทราบดังนี้:-
ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า จะเป็นในละแวกบ้านหรือในวัดก็ตาม
การที่ภิกษุผู้จะไปสู่ที่เลี้ยงของชนทั้งหลาย ห่มจีวรคาดประคดนั่นแล สมควร.
หลายบทว่า น เถเร ภิกฺขู อนูปขชฺช มีความว่า ไม่พึงนั่งเบียด
ภิกษุผู้เป็นเถระนัก หากว่า อาสนะเสมอกับอาสนะที่พระมหาเถระนั่ง, เมื่อ
อาสนะมีมาก พึงนั่งเว้นไว้ 1 หรือ 2 อาสนะ ไม่พึงนั่งบนอาสนะที่เขานับ
ภิกษุแต่งตั้งไว้, พระมหาเถระสั่งว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง. ถ้าพระมหาเถระไม่
สั่ง, พึงเรียนว่า อาสนะนี้สูงขอรับ เมื่อท่านบอกว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง, ก็
ถ้าว่า เมื่อภิกษุใหม่ แม้เรียนแล้วอย่างนั้น พระมหาเถระไม่อนุญาต, ไม่เป็น
อาบัติแก่เธอผู้นั่ง. เป็นอาบัติแก่พระมหาเถระเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุใหม่ไม่
เรียนก่อน นั่งบนอาสนะเห็นปานนั้น ย่อมต้องอาบัติเหมือนพระเถระอันภิกษุ
ใหม่เรียนแล้วไม่อนุญาตฉะนั้น.