เมนู

ย่อมมีในสถานบางตำบล, เพราะฉะนั้น จึงควรถามว่า ควรเข้าไปเวลาไร ?
ควรออกมาเวลาไร ?
สองบทว่า พหิ ฐิเตน มีความว่า เห็นทางของงูหรือของอมนุษย์
กำลังออกไป พึงยืนดูอยู่ข้างนอก.
หลายบทว่า สเจ อุสฺสหติ โสเธตพฺโพ มีความว่า ถ้าว่าตน
สามารถ, พึงชำระสำนักทั้งหมดให้สะอาด, เมื่อไม่สามารถ พึงจัดแจงโอกาส
เป็นที่อยู่ของตน.
ก็แลในธรรมเนียมแห่งการชำระสำนักให้สะอาด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้ว สำหรับภิกษุผู้สามารถชำระสำนักทั้งหมดให้สะอาด พึงทราบ
วินิจฉัย ตามนัยที่กล่าวแล้วในมหาขันธกะนั่นแล.

[อาวาสิกวัตร]


วินิจฉัยในอาวาสิกวัตร พึงทราบดังนี้:-
เมื่ออาคันตุกะผู้แก่กว่ามา พึงงดจีวรกรรมหรือนวกรรมเสีย ทำกิจ
ทั้งปวง มีอาทิอย่างนี้ว่า พึงแต่งตั้งอาสนะ ดังนี้ กำลังกวาดลานเจดีย์ พึง
เก็บไม้กวาดเสีย เริ่มทำวัตรแก่เธอ.
หากว่า อาคันตุกะเป็นผู้ฉลาด. เธอจักกล่าวว่า จงกวาดลานเจดีย์
เสียก่อนเถิด ผู้มีอายุ.
อนึ่ง กำลังทำยาเพื่อคนไข้อยู่ ถ้าว่า คนไข้ไม่ทุรนทุรายนัก, พึงงด
ทำไว้ ทำวัตรเสียก่อน, แต่สำหรับ ไข้หนัก ต้องทำยาก่อน ถ้าอาคันตุกะเป็น
ผู้ฉลาด, เธอจักกล่าวว่า จงทำยาเสียก่อน.
เมื่อถามถึงน้ำฉัน ถ้าว่า อาคันตุกะดื่มน้ำที่นำมาแล้วครั้งเดียวหมด,
พึงถามท่านว่า ผมจักต้องนำมาอีกไหม ?

อนึ่ง พึงพัดท่านด้วยพัด. เมื่อพัด พึงพัดที่หลังเท้าครั้งหนึ่งกลางตัว
ครั้งหนึ่ง ศีรษะครั้งหนึ่ง. เธออันท่านกล่าวว่า พอหยุดเถิดพึงพัดให้อ่อนลง.
เธออันท่านกล่าวว่า พอละ พึงพัดให้อ่อนลงกว่านั้น. ท่านกล่าวถึงครั้งที่ 3
พึงวางพัดเสีย. พึงล้างเท้าของท่าน. ครั้นล้างแล้ว ถ้าน้ำมันของตนมี, พึงทา
ด้วยน้ำมัน. ถ้าไม่มี, พึงทาด้วยน้ำมันของท่าน. ส่วนการเช็ดรองเท้า พึงทำ
ตามความชอบใจของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สเจ
อุสฺสหติ. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่เช็ดรองเท้า.
เธออันท่านถามว่า เสนาสนะถึงแก่เราที่ไหน ? พึงจัดแจง เสนาสนะ อธิบาย
ว่า พึงบอกอย่างนี้ว่า เสนาสนะที่ถึงแก่ท่าน ดังนี้. แลสมควรแท้ ที่จะตบ
เสียก่อน จึงปูลาด.
วินิจฉัยในวัตรของอาคันตุกะผู้นวกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า ปานียํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงบอก
ว่า ท่านจงถือเอาน้ำนั้นดื่ม ดังนี้. แม้ในน้ำใช้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ
เหมือนคำก่อนนั่นแล.
จริงอยู่ ภิกษุเจ้าถิ่นจะไม่ทำวัตรแก่อาคันตุกะ ผู้มาถึงสำนักของตน
แม้ในอาวาสใหญ่ ย่อมไม่ได้.

[ คมิกวัตร]


วินิจฉัยในคมิกวัตร พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ทารุภณฺฑํ ได้แก่ เตียงและตั่งเป็นต้น ที่กล่าวแล้วในเสนา-
สันกขันธกะ. แม้ภัณฑะดิน ก็ได้แก่ภาชนะสำหรับย้อมเป็นต้น ภัณฑะทั้งปวง
มีประเภทดังกล่าวแล้วในเสนาสนักขันธกะนั่นแล.
ภัณฑะทั้งปวงนั้น อันภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บไว้ที่โรงไฟหรือใน
ที่อื่นซึ่งคุ้มได้แล้วจึงไป. จะเก็บไว้ในเงื้อมที่ฝนไม่รั่วก็ควร.