เมนู

ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอันเตวาสิกวัตรของอาจารย์ทั้งหลาย
ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก
วัตตขันธกะ ที่ 8 จบ
ในขันธกะนี้มี 19 เรื่อง 14 วัตร

หัวข้อประจำขันธกะ


[446] เรื่องพระอาคันตุกะ สวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ พาด
จีวรบนศีรษะ เข้าไปสู่อาราม ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่กว่า
ไม่ถามถึงเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม พึงถอดรองเท้า ลดร่ม
ห่มลดไหล่ เข้าอารามไม่ต้องรีบร้อน พึงสังเกตว่า เจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน
พึงวางบาตรจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง ถืออาสนะที่สมควร ถามถึงน้ำฉันน้ำใช้ พึง
ล้างเท้า พึงเช็ดรองเท้า ด้วยผ้าแห้งก่อน ด้วยผ้าเปียกทีหลัง พึงไหว้ภิกษุ
เจ้าถิ่นผู้แก่กว่า พึงให้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้อ่อนกว่าไหว้ พึงถามเสนาสนะ ทั้งที่มีภิกษุ
อยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่ได้รับ
สมมติว่าเป็นเสกขะ ที่ถ่ายอุจจาระ ที่ถ่ายปัสสาวะ น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า
กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่าควรเข้าเวลาเท่าไร พึงรอสักครู่หนึ่ง วิหารมีหยากเยื่อ
ต้องชำระ ก่อนชำระ ต้องขนเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง ฟูก หมอน
เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง พึงกวาดหยากเยื่อแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด
กรอบหน้าต่าง ประตู และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทาสีดำ พึงเอาผ้า
ชุบน้ำเช็ด พื้นไม่ได้ทำ พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาดเสีย พึงกวาดหยากเยื่อทิ้ง

เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
กระโถน พนักอิง ผึ่งแดดแล้วเก็บไว้ที่เดิม พึงเก็บบาตร จีวร อย่าวางบน
พื้นที่ปราศจากเครื่องรอง พึงเก็บจีวรให้ชายอยู่ด้านนอก ขนดอยู่ด้านใน มี
ลมพัดมาทางทิศตะวันออก ทะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง
ทางทิศนั้น ๆ ฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ฤดูร้อน
กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด พึงกวาดบริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน
โรงไฟ และวัจจกุฏี พึงตักน้ำฉัน น้ำใช้ และน้ำในหม้อชำระ อาคันตุกวัตร
ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณหาที่เปรียบมิได้ ทรงบัญญัติ
แล้ว.
เรื่องภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ลุกรับ ไม่ถาม
ด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
พากันโพนทะนา ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำ ลุก
รับ ถามด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ เช็ดรองเท้าผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงไหว้
พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวาย พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่
หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่เป็นเสกขสมมติ
ฐาน น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า และพึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า
ควรออก พระอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่าพึงนั่งบอก พึงแนะนำพระอาคันตุกะ
ผู้อ่อนพรรษาให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะ นอกนั้นเหมือนนัยหนหลัง อาวา-
สิกวตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงนำหมู่ ทรงแสดงแล้ว.
เรื่องภิกษุผู้เตรียมจะไป ไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตู
หน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนา-
สนะไม่มีใครรักษา บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา.

ภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง
มอบหมายเสนาสนะแล้วจึงหลีกไป พึงมอบหมาย ภิกษุสามเณร คนวัด หรือ
อุบาสกก็ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลากองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บ
เครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง ถ้าวิหารฝนรั่ว ภิกษุผู้เตรียมจะไป
อุตสาหะอยู่ พึงมุงหรือพึงทำความขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน
ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน ในที่แจ้งก็เหมือนกัน
ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียง ตั่งก็คงเหลืออยู่บ้าง นี้เป็นวัตรอันภิกษุ
ผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติ.
เรื่องภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้
พระเถระอนุโมทนา ภิกษุทั้งหลายเหลือพระเถระไว้รูปเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระรออยู่ 4-5 รูป พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระ
กลั้นจนสลบลง นี้เป็นวัตรในการอนุโมทนา.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท เดินแซง นั่ง
เบียดเสียดพระเถระ เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีล
เป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงนุ่งห่มปกปิดมณฑลสาม คาดประคดเอว
ห่มผ้า 2 ชั้น กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี
มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น พึงมีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน
ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง ปกปิดกายด้วยดี
สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย
ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่ง
เบียดเสียดพระเถระ ไม่เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ เมื่อเขา
ถวายน้ำ พึงรับไปล้างบาตรถือต่ำ ๆ พึงค่อย ๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วย
คิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวาย

ข้าวสุก พึงประคองบาตรรับ พึงไว้โอกาสสำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน
หรือแกงอ่อม พระเถระพึงบอกว่า จงถวายภิกษุทุกรูปเท่า ๆ กัน พึงรับ
บิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตร พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง
พอเสมอขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนในเมื่อข้าวสุกยังไม่ทั่วถึงภิกษุ
ทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรฉัน พึงฉัน
บิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันพอสมกับแกง ไม่พึงฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึง
ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่พึงขอแกง หรือกับข้าวมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของ
ภิกษุอื่นด้วยมุ่งจะยกโทษ ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่ พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม
ไม่พึงอ้าปากไว้คอยท่า ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าปาก ไม่พึงพูดทั้งคำข้าวยัง
อยู่ในปาก ไม่พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำแก้มให้ตุ่ย
ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่ทำเสียงดัง
จั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ด ๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึง
ฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับขันน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อน
ที่ภิกษุทั้งหมดยังฉันไม่เสร็จ พึงค่อย ๆ ล้างบาตร พึงค่อย ๆ เทน้ำลงใน
กระโถน อย่าให้กระโถนเลอะเทอะ อย่าให้กระเซ็นถูกภิกษุใกล้เคียง อย่าให้
กระเซ็นถูกสังฆาฏิ พึงค่อย ๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมี
เมล็ดข้าว เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิด
กายด้วยดี ไม่พึงเดินกระโหย่ง ภัตตัคควัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว.
เรื่องภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน
ออกจากบ้านไม่กำหนด เข้าออกรีบร้อนเกินไป ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป
นานเกินไป กลับเร็วเกินไป ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตอีกรูปหนึ่งก็เป็นเช่นนั้น

ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาต จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอด
ลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลง
ศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบ
ร้อนเข้าออก อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืน
กำหนดว่า เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะตั้งไว้หรือไม่
พึงแหวกผ้าซ้อนประคองบาตรรับภิกษา ขณะรับไม่พึงนองดูหน้าผู้ถวาย แม้ใน
แกงก็พึงกำหนดเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว ภิกษุพึงคลุมบาตร
ด้วยผ้าซ้อนกลับไป พึงปกปิดกายด้วยดีเดินไป พึงสำรวมด้วยดี มีตาทอดลง
ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง รูปใดกลับก่อนพึงปูอาสนะไว้ จัด
กระโถนไว้ เตรียมน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดกลับทีหลังประสงค์จะฉันก็พึงฉัน ถ้า
ไม่ประสงค์ก็พึงเททิ้ง พึงเก็บอาสนะน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่าง
เปล่า พึงจัดตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย แต่ไม่พึง
เปล่งวาจา นี้เป็นบิณฑปาติกวัตร
เรื่องภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร
ไม่รู้ทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทุบตี ภิกษุ ที่อยู่ป่า
พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ ครั้นจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าใส่
ถุงคล้องบ่าปกปิดมณฑลสาม นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล แม้ในอารัญญกวัตร
ก็มีนัยเหมือนบิณฑจาริกวัตรออกจากบ้านแล้ว พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พับ
จีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป พึงเตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ
ไม้เท้า เรียนนักษัตร ทั้งสิ้นหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ อารัญญกวัตร
ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทรงบัญญัติแล้ว

เรื่องภิกษุมากรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกธุลีกลบ ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
พากันโพนทะนา ถ้าวิหารรก เมื่อจะชำระ ชั้นต้นพึงขนบาตรจีวรออก ขน
ฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง ออกไป พึงกวาดหยากเยื่อลงจาก
เพดาน พึงเช็ดกรอบประตู หน้าต่าง และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทา
สีดำ พื้นไม่ได้ทำ พึงเช็ดทำให้สะอาด พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ไม่พึงเคาะ
เสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำฉัน น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่สูง เหนือ
ลม ใต้ลม เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้า เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้านิสีทนะ
กระโถน พนักอิง พึงตากชำระ เก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตร จีวร บาตรอย่า
วางบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอก ขนดไว้ด้านใน
ลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว กลางวันเปิด
หน้าต่าง กลางคืนปิด ฤดูร้อน กลางวันปิดหน้าต่าง กลางคืนเปิด กวาด
บริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี ตักน้ำฉัน น้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำมา
ใส่หม้อน้ำชำระไว้ อยู่กับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่ได้บอกกล่าว อย่าให้อุเทศ
ปริปุจฉา อย่าสาธยาย อย่ากล่าวธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง
อย่าปิดหน้าต่าง พึงเดินตามภิกษุผู้แก่กว่า อย่ากระทบแม้ด้วยชายผ้า พระผู้
มีพระภาคเจ้าผู้มหาวีระ ทรงบัญญัติเสนาสนะวัตรนั้นไว้แล้ว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระห้าม ปิดประตู พระเถระสลบ ภิกษุผู้มี
ศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงเทเถ้าทิ้งเสีย กวาดเรือนไฟ ชานภาย-
นอกบริเวณ ซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุณแช่ดิน ตักน้ำไว้ในรางน้ำ เอา
ดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ไม่นั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่
เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟ
อย่าอาบน้ำ น้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง เรือนไฟเปรอะเปื้อน รางแช่ดิน
เก็บตั่ง ดับไฟ เปิดประตู นี้ชันตาฆรวัตร

เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้แก่กว่า
ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วบ้าง เวิกผ้า
นุ่งเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม่ชำระฟันบ้าง
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกรางบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางบ้าง ใช้ไม้ชำระหยาบ
บ้าง ทิ้งใช้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินบ้าง เวิกผ้าออกมา
บ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปูบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง ภิกษุยืนอยู่
ข้างนอกพึงกระแอม ภิกษุอยู่ข้างในพึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราว
สายระเดียง อย่ารีบด่วนเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียง อย่าถอน-
หายใจใหญ่ อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะนอกราง อย่าบ้วน
เขฬะลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระหยาบ อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย พึงยืนบน
เขียงถ่าย ปิดผ้า อย่าออกมาให้เร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา ยืนบนเขียงถ่าย
แล้วจึงปิด อย่าชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียง
ถ่ายแล้วจึงเวิกผ้า วัจจกุฎีเปรอะเปื้อน ต้องชำระให้สะอาด ตะกร้าไม้ชำระ
เต็มพึงเทเสีย วัจจกุฎี ชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตู พึงตักน้ำใส่ในหม้อ
ชำระ นี้วัจจกุฎีวัตร
เรื่องสัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปู
อาสนะ ถวายยาคู น้ำล้างภาชนะ เก็บอาสนะ ที่รก เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง
ประคดเอวผ้าซ้อนสองชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ ปัจฉาสมณะ ปิดมณฑลสาม
นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอวซ้อนผ้าสองชั้น ล้างบาตร เป็นปัจฉา-
สมณะ เดินไม่ไกลไม่ชิดนัก รับของในบาตร พระอุปัชฌายะกำลังพูด กล่าว
ถ้อยคำล่อแหลมต่ออาบัติ กลับมาก่อน ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ ถวายผ้านุ่งผลัด ผึ่งที่แดด อย่าผึ่งทิ้งไว้ รอยพับ

สอดประคดเอวไว้ในขนด อุปัชฌายะจะฉันพึงน้อมบิณฑบาตถวาย ถามถึงน้ำ
ฉัน ถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ ผึ้งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ อย่าเก็บ
มาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรองพาดชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ช้างใน เก็บ
อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้ากวาดที่รก พระอุปัชฌายะจะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำ
ร้อน เรือนไฟ บดจุณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร ถวายจุณ
ถวายดิน ถ้าอุตสาหะ ทาหน้า ปิดข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดพระเถระ ไม่
เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ ปิดข้างหน้าข้างหลัง
ทำบริกรรมในน้ำ อาบน้ำแล้วพึงขึ้นก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัว อุปัชฌายะถวายผ้า
นุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งรองเท้า กระ-
เบื้องเช็ดเท้าไว้ ถามถึงน้ำฉัน เรียนบาลีอรรถกถา ถ้าอุตสาหะ พึงปัดกวาด
วิหารที่รก ก่อนปัดกวาดพึงขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน ฟูก หมอน เตียง
ตั่งเขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง เครื่องลาดพื้นออกไป พึงกวาดหยาก
ไย่แต่เพดานลงมา เช็ดกรอบประตูหน้าต่าง ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่
ได้ทำ พึงเก็บเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้า
ปูนั่ง ปูนอน กระโถน พนักอิง เก็บบาตรจีวร ลมทิศตะวันออก ทิศตะวัน
ตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว ฤดูร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ่ม
น้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีตักน้ำฉัน น้ำใช้ น้ำชำระ พระอุปัชฌายะกระสัน
รำคาญ เห็นผิด ต้องครุกาบัติ ควรมูลายปฏิกัสสนา นานัต อัพภาน ถ้าถูก
ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฎิสารณียกรรม และ
อุกเขปนียกรรม จีวรของพระอุปัชฌายะควรซัก ทำ ย้อม พึงซัก ทำ ย้อม
ให้พลิกกลับไปกลับมา รับบาตร จีวร และบริขารโกนผม ทำบริกรรม ทำ
ความขวนขวายเป็นปัจฉาสมณะ ให้บิณฑบาต เข้าบ้านอย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่

ทิศ พระอุปัชฌายะอาพาธต้องพยาบาลตลอดชีวิต วัตรดังกล่าวทานี้เป็นอุปัช-
ฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ
เรื่องอุปัชฌายะสงเคราะห์ด้วยโอวาท อนุศาสนี อุเทศ ปริปุจฉา บาตร
จีวร และบริขาร ความอาพาธ ไม่พึงเป็นปัจฉาขาสมณะ อุปัชฌายวัตรฉันใด
แม้อาจริยวัตรก็ฉันนั้น สิทธิวิหาริกวัตรฉันใด อันเตวาสิกวัตรก็ฉันนั้น อาคัน-
ตุกวัตรฉันใด อาวาสิกวัตรก็ฉันนั้น คมิกวัตร อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร
บิณฑปาติกวัตร อารัญญกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจจกุฎีวัตร
อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร อันเตวาสิกวัตร เหมือนกันใน
ขันธกะนี้ มี้ 19 เรื่อง 14 วัตร ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญาย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มี
อารมณ์มาก ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม ย่อมไม่พ้น
จากทุกข์ ภิกษุบำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อม
ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีอารมณ์อย่างเดียว ย่อมเห็นธรรม
โดยชอบ เมื่อเห็นพระสัทธรรมย่อมพ้นจากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น แล โอรส
ของพระชินเจ้า ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาท
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน ดังนี้แล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

วัตตักขันธก วรรณนา


[วินิจฉัยในวัตตักขันธกะ]


วินิจฉัยในวัตตักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงที่ใกล้อุปจารสีมา ด้วยพระพุทธพจน์นี้ว่า
บัดนี้ เราจักเข้าสู่อาราม; เพราะฉะนั้น ภิกษุถึงอุปจารสีมาแล้ว พึงทำคารวกิจ
ทั้งปวง มีถอดรองเท้าเป็นต้น.
บทว่า คเหตฺวา ได้แก่ ใช้ไม้เท้าคอนรองเท้าไป.
บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.
หลายบทว่า อุปาหนปุญฺฉนโจฬนํ ปุจฺฉิตฺวา อุปาหนา ปุญฺฉิ-
ตพฺพา
มีความว่า พึงถามภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าถิ่นว่า ผ้าเช็ดรองเท้าอยู่ที่ไหน.
บทว่า วิสชฺเชตพฺพํ คือ พึงผึ่งไว้.
ข้อว่า โคจโร ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า พึงถามถึงที่เที่ยว เพื่อ
ภิกษาอย่างนี้ว่า โคจรคามอยู่ใกล้หรือไกล. ภิกษุพึงเที่ยวบิณฑบาตแต่เช้า
หรือสาย ? ดังนี้ . บ้านของพวกมิจฉาทิฏฐิก็ดี บ้านที่มีภิกษาเขาจำกัดไว้ก็ดี
ชื่อว่า อโคจร.
ภิกษาในบ้านใด เขาถวายแก่ภิกษุรูปเดียวหรือ 2 รูป บ้านแม้นั้น
ก็ควรถาม.
หลายบทว่า ปานียํ ปุจฺฉิตพฺพํ, ปริโภชนียํ ปุจฺฉิตพฺพํ มี
ความว่า พึงถามถึงน้ำใช้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมดื่มน้ำที่ควรดื่มแห่ง
สระนี้ ทั้งทำการใช้สอย มีอาบเป็นต้นด้วยหรือ ? สัตว์ร้ายหรือเหล่าอมนุษย์