เมนู

ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับ กรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของลัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงซัก
อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซัก
จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงสั่งว่า
ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ
พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึง
สั่งว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม
อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นสัทธิวิหาริกวัตรของอุปัชฌายะทั้งหลาย
ซึ่งอุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก.
ทุติยภาณวาร จบ

มูลเหตุอาจริยวัตร


[442] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
อันเตวาสิกทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอาจริยวัตรแก่ภิกษุ
อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอันเตวาสิกทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน
อาจารย์.

อาจริยวัตร


[443] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์
วิธีพระพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้ :-
อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้ว ถวาย
ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะเสียก่อน
แล้วน้อมยาคูเข้าไป เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือ
ต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บ
อาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึง
ถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอาจารย์ปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม นุ่ง
ให้เป็นปริมณฑลคาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้น ห่มคลุม กลัดลูกดุม
ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้
ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นใน
ระหว่าง ๆ อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ พึงกลับ