เมนู

ปิณฑจาริกวัตร


[426] สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไป
บ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้
เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์ เธอเข้าใจว่าประตูเข้าไปสู่ห้องน้อย
แห่งหนึ่ง ในห้องน้อยนั้นมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ เธอได้เห็นหญิงนั้น
แล้ว รู้ว่านี้ไม่ใช่ประตู นี้เป็นห้องน้อย จึงออกจากห้องน้อยนั้นไป สามีของ
หญิงนั้นได้เห็นหญิงนั้นเปลือยกายนอนหงายก็สำคัญว่า ภิกษุนี้ประทุษร้าย
ภรรยาของเรา จึงจับภิกษุนั้นทุบตี ในทันใด หญิงนั้นตื่นขึ้น เพราะเสียงนั้น
จึงถามสามีว่า นายท่านทุบตีภิกษุนี้ทำไม เขาตอบว่า เพราะภิกษุนี้ประทุษร้าย
เธอ นางตอบว่า นาย ภิกษุนี้ไม่ได้ประทุษร้ายฉันเลย ท่านไม่ได้ทำอะไร
แล้วให้ปล่อยภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไปอารามบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดา
ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุผู้
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่
กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อน
ออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง
กลับเร็วเกินไปบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ..ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
. . . จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้เทียวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติ
เรียบร้อย.
[427] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า
จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ
คดเอวห่มผ้าซ้อน 2 ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย
ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ
แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า
หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป
ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง
ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า
รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน
นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่
ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง
ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย
มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ
ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง
หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย
คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน
แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก
ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก
บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง
คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ
บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด
กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน
ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว
สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง
ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ
ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป
ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่
ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

อารัญญกวัตร


[428] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน อยู่ในป่า พวกเธอไม่ตั้งน้ำฉัน
ไม่ตั้งน้ำใช้ไว้ ไม่ติดไฟไว้ ไม่เตรียมไม้สีไฟไว้ ไม่รู้ทางนักษัตร ไม่รู้ทิศาภาค
พวกโจรพากันไปที่นั้น ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มีน้ำดื่ม
หรือ
ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย
จ. มีน้ำใช้หรือไม่