เมนู

ให้ห้อขึ้น เป็นอนุปสัมบันไม่พึงให้อุปสมบท เป็นอุปสันบัน พึงให้ฉิบหาย
เสีย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภายหลังแต่สังฆเภท; เพราะเหตุนั้น สงฆ์ชื่อ
ว่าอันพระเทวทัตผู้ปกตัตต์ทำลายแล้ว.

[ว่าด้วยสังฆเภท]


วินิจฉัยในเภทกรวัตถุ 18 ประการ มีข้อว่า แสดงอธรรมว่าธรรม
เป็นต้น.
โดยสุตตันตปริยายก่อน. กุศลกรรมบถ 10 ชื่อว่าธรรม. อกุศลกรรม
บถ 10 ชื่อว่าอธรรม.
อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน
4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า
ธรรม. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน 3 สัมมัปปธาน 3 อิทธิบาท 3 อินทรีย์ 6
พละ 6 โพชฌงค์ 8 มรรคมีองค์ 9 ชื่อว่าธรรม.
อนึ่ง ข้อนี้ คือ อุปาทาน 4 นีวรณ์ 5 อนุสัย 7 มิจฉัตตะ 8
ชื่อว่าอธรรม. ข้อนี้ คือ อุปาทาน 3 นีวรณ์ 4 อนุสัย 6 มิจฉัตตะ 7 ชื่อ
ว่าอธรรม.
บรรดาธรรมและอธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ถือเอาส่วนคืออธรรมอัน
หนึ่ง บางข้อบางอย่าง กล่าวอยู่ซึ่งอธรรมนั้นว่า นี้เป็นธรรม ด้วยทำในใจ
ว่า เราจักทำอธรรมนี้ว่าธรรม ด้วยประการอย่างนี้ สกุลแห่งอาจารย์ของพวก
เราจักยอดเยี่ยม, และพวกเราจักเป็นคนมีหน้ามีตาในโลก ชื่อว่าแสดงอธรรม
ว่า ธรรม
เมื่อถือเอาส่วนอันหนึ่ง ในส่วนแห่งธรรมทั้งหลายกล่าวอยู่ว่า นี้เป็น
อธรรม อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม

โดยวินัยปริยาย ส่วนกรรมที่พึงโจทแล้วให้ ๆ การแล้วทำตาม
ปฏิญญา ด้วยวัตถุที่เป็นจริง ชื่อว่าธรรม. กรรมที่ไม่โจท ไม่ให้ ๆ การ
ทำด้วยไม่ปฏิญญา ด้วยวัตถุไม่เป็นจริง ชื่อว่าอธรรม
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ ราควินัย โทสวินัย โมหวินัย สังวร
ปหานะ การพิจารณา ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ ความไม่กำจัดกิเลสมีราคะเป็น
ต้น ความไม่สำรวม ความไม่ละ การไม่พิจารณา ชื่อว่าอวินัย.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนา
สมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ วัตถุวิบัติ ฯลฯ
ปริสวิบัติ ชื่อว่าอวินัย.
โดยสุตตันตปริยาย คำนี้ว่า สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8
ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงภาษิตแล้ว ตรัสแล้ว. คำนี้ว่า สติปัฎฐาน 3 ฯลฯ
มรรคมีองค์ 9 ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.
โดยวินัยปริยาย คำนี้ว่า ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ชื่อว่าอัน พระตถาคตทรงภาษิตแล้ว . ตรัสแล้ว คำนี้ว่า
ปาราชิก 3 สังฆาทิเสส 14 อนิยต 3 นิสสิคคิยปาจิตตีย์ 31 ชื่อว่าอันพระ-
ตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ การเข้าผลสมาบัติ การเข้ามหากรุณา
สมาบัติ การเล็งดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุทุกวัน การแสดงสุตตันตะ การตรัส
ชาดกเนื่องด้วยความเกิดเรื่องขึ้น ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติเสมอ. ข้อ
นี้ คือ การไม่เข้าผลสมาบัติทุกวัน ฯลฯ การไม่ตรัสชาดก ชื่อว่าอันพระ-
ตถาคตไม่ทรงประพฤติเลย.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ การอยู่จำพรรษาแล้ว บอกลาแล้ว จึง
หลีกไปสู่ที่จาริก ของภิกษุผู้รับนิมนต์แล้ว การปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก
ความทำการต้อนรับก่อนกับภิกษุอาคันตุกะ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติ

เสมอ ความไม่กระทำกิจมีไม่บอกลาก่อนเที่ยวไปสู่ที่จาริกนั้นนั่นแล ชื่อว่า
อันพระตถาคตไม่ทรงประพฤติและ
โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ สติปัฎฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8
ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน 3 ฯลฯ มรรค
มีองค์ 9 ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.
โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ ปาราชิก 4 ฯลฯ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ 30
ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ ปาราชิก 3 ฯลฯ นิสสัคคีย-
ปาจิตตีย์ 31 ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.
อนาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วในสิกขาบทนั้น ๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ไม่รู้ ผู้ไม่มีไถยจิต ผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ผู้ไม่ประสงค์จะอวด ผู้
ไม่ประสงค์จะปล่อย ชื่อว่าอนาบัติ อาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วโดยนัยเป็นต้น
ว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ชื่อว่าอาบัติ. อาบัติ 5 กอง ชื่อว่า
อาบัติเบา. อาบัติ 2 กอง ชื่อว่าอาบัติหนัก. อาบัติ 6 กอง ชื่อว่าอาบัติมี
ส่วนเหลือ. กองอาบัติปาราชิกกองเดียว ชื่อว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ. อาบัติ 2
กอง ชื่อว่าอาบัติชั่วหยาบ. อาบัติ 5 กอง ชื่อว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ก็ในธรรมและอธรรมเป็นต้น ที่กล่าวแล้วโดยวินัยปริยายนี้ ภิกษุผู้
กล่าวอยู่ซึ่งธรรมมีประการดังกล่าวแล้วว่า นี้ไม่ใช่ธรรม โดยนัยก่อนนั่นแล
ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม.
เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งข้อที่มิใช่วินัยว่า นี้เป็นวินัย ชื่อว่า แสดงข้อที่มิใช่
วินัยว่า วินัย ฯลฯ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ชื่อว่าแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.
ครั้นแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ฯลฯ หรือครั้นแสดงอาบัติไม่ชั่ว
หยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนั้นแล้ว ได้พวกแล้วกระทำสังฆกรรม 4

อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแผนก ในสีมาเดียวกัน สงฆ์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุเหล่านั้น
ทำลายแล้ว .
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมแตกไปเพราะเภทกรวัตถุ 18 ประการนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกสฺสนฺติ มีความว่า ย่อมแย่ง คือ
ย่อมแบ่งซึ่งบริษัท ได้แก่ย่อมคัดบริษัทให้ลุกไปนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า อวปกาสนฺติ มีความว่า ย่อมยุยงอย่างยิ่ง คือ ภิกษุทั้งหลาย
จะเป็นผู้ไม่ปรองดองกันโดยประการใด ย่อมกระทำโดยประการนั้น.
บทว่า อาเวณิกํ คือ แผนกหนึ่ง.
ข้อว่า เอตฺตาวตา โข อุปาลิ สงฺโฆ ภินฺโน โหติ มีความ
ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลาย แสดงวัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุอันเดียว ใน
เภทกรวัตถุ 18 แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วยเหตุนั้น ๆ ว่า ท่านทั้ง-
หลายจงจับสลากนี้ ท่านจงชอบใจสลากนี้ ดังนี้ ให้จับสลากแล้ว ทำสังฆกรรม
แผนกหนึ่ง อย่างนั้นแล้ว สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน. ส่วนในคัมภีร์บริวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ* 5 เป็นอาทิ.
คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทักขันธกะนี้ โดยใจความไม่
มีความแตกต่างกัน. และข้าพเจ้าจักประกาศข้อแตกต่างกันแห่งคำนั้น ในคัมภีร์
บริวารนั้นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
สังฆเภทักขันธกวรรณนา จบ
* ปริวาร. 495.

วัตตขันธกะ


เรื่องพระอาคันตุกะ


[414] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระอาคันตุกะ สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม
ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำ
ฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี มีพระ-
อาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มแล้วผลักบานประตูเข้าไปสู่วิหารที่ไม่มีใครอยู่โดย
พลัน งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของเธอ เธอกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุทั้ง
หลายรีบเข้าไปถามว่า ท่านร้องสุดเสียงทำไม เธอจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉน พระอาคันตุกะจึงสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อาราม
ก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้า
ด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี
แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
ภิกขุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม
ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน
ก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.