เมนู

สองบทว่า ภึสํ ฆสานสฺส ความว่า เคี้ยวกินเหง้า (บัว).
ในคำว่า นทีสุ ชคฺคโต นี้ มีเนื้อความว่า ได้ยินว่า พญาช้าง
นั้น เมือลงสู่สระโบกขรณี อันมีนามว่า นที นั้น เล่นอยู่ในเวลาเย็น ชื่อ
ว่ายังราตรีทั้งปวงให้ผ่านไป คือทำความเป็นผู้ตื่น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เล่นอยู่ในน้ำ.

[ว่าด้วยองค์แห่งทูตเป็นต้น]


บทว่า สุตา ได้แก่ ผู้ฟัง.
บาทคาถาว่า อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ มีความว่า เป็นผู้ไม่มีความ
สงสัยบอกเล่า คือผู้บอกประกอบด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันสืบต่อกันตามลำดับ.
เทวทัตจะเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นชาวอบาย. เธอเป็นชาวนรก
ก็เหมือนกัน. เทวทัตจักตั้งอยู่ตลอดกัป (ในนรก) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
บัดนี้ เทวทัต แม้พระพุทธเจ้าตั้งพันองค์ ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะ
ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า อเตกิจฺโฉ ผู้อันพระพุทธเจ้าเยียวยาไม่ได้.
หลายบทว่า มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมึ มีความว่า แม้ในกาล
ไหน ๆ สัตว์ไร ๆ อย่า (เกิด) ในโลกเลย.
บทว่า อุปปชฺชถ ได้แก่ เกิด.
บาทคาถาว่า ชลํว ยสสา อฏฺฐา มีความว่า เทวทัตตั้งอยู่ประหนึ่ง
ผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ.
บาทคาถาว่า ทวทตฺโตติ เม สุตํ มีความว่า แม้คำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสดับแล้วว่า เทวทัตเป็นเช่นนี้ ก็มีอยู่, คำว่า เทวทัตตั้งอยู่
ประหนึ่งผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ นี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว หมายเอาคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วนั่นแล.

ในคำว่า โส ปมาทํ อนุจิณฺโณ นี้ มีความว่า เทวทัตนั้นย่อม
สร้างสมความประมาท เพราะฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าผู้สร้างสมเนือง ๆ อธิบายว่า
ความประมาทอันเธอไม่ละเสีย.
สองบทว่า อาสชฺช นํ มีความว่า ถึงหรือว่าเบียดเบียนพระตถาคต
นั่น ด้วยจิตลามก.
ส่วนคำว่า อวีจินิรยํ ปตฺโต นี้ เป็นคำกล่าวเนื้อความที่ล่วงไป
แล้ว เป็นไปในความหวัง.
บทว่า เภสฺมา คือนำภัยมา.

[ว่าด้วยสังฆราชี ]


ข้อว่า เอกโต อุปาลิ เอโถ มีความว่า ในฝ่ายธรรมวาทีมีรูป
เดียว.
ข้อว่า เอกโต เทฺว ความว่า ในฝ่ายอธรรมวาที มี 2 รูป.
ข้อว่า จตุตฺโถ อนุสาเวติ สลากํ คาเหติ มีความว่า อธรรม-
วาทีเป็นรูปที่ 4 คิดว่า เราจักทำลายสงฆ์.
บทว่า อนุสาเวติ ความว่า ประกาศให้ผู้อื่นพลอยรับรู้. อธิบายว่า
เธอประกาศเภทกรวัตถุ 18 ประการอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง
ธรรมว่า ธรรม ดังนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทั้งพวกท่าน ทั้งพวกเรา ไม่มี
ความกลัวต่อนรกเลย ทางแห่งอเวจี แม้พวกเราก็ไม่ได้ปิดไว้ พวกเราไม่
กลัวต่ออกุศล ก็ถ้าว่า ข้อนี้ พึงเป็นสภาพมิใช่ธรรม หรือข้อนี้ พึงเป็นสภาพ
มิใช่วินัย หรือว่า ข้อนี้ไม่พึงเป็นคำสั่งสอนของพระศาสดาไซร้; เราทั้งหลาย
ไม่พึงถือเอา.