เมนู

สองบทว่า ภึสํ ฆสานสฺส ความว่า เคี้ยวกินเหง้า (บัว).
ในคำว่า นทีสุ ชคฺคโต นี้ มีเนื้อความว่า ได้ยินว่า พญาช้าง
นั้น เมือลงสู่สระโบกขรณี อันมีนามว่า นที นั้น เล่นอยู่ในเวลาเย็น ชื่อ
ว่ายังราตรีทั้งปวงให้ผ่านไป คือทำความเป็นผู้ตื่น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เล่นอยู่ในน้ำ.

[ว่าด้วยองค์แห่งทูตเป็นต้น]


บทว่า สุตา ได้แก่ ผู้ฟัง.
บาทคาถาว่า อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ มีความว่า เป็นผู้ไม่มีความ
สงสัยบอกเล่า คือผู้บอกประกอบด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันสืบต่อกันตามลำดับ.
เทวทัตจะเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นชาวอบาย. เธอเป็นชาวนรก
ก็เหมือนกัน. เทวทัตจักตั้งอยู่ตลอดกัป (ในนรก) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
บัดนี้ เทวทัต แม้พระพุทธเจ้าตั้งพันองค์ ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะ
ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า อเตกิจฺโฉ ผู้อันพระพุทธเจ้าเยียวยาไม่ได้.
หลายบทว่า มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมึ มีความว่า แม้ในกาล
ไหน ๆ สัตว์ไร ๆ อย่า (เกิด) ในโลกเลย.
บทว่า อุปปชฺชถ ได้แก่ เกิด.
บาทคาถาว่า ชลํว ยสสา อฏฺฐา มีความว่า เทวทัตตั้งอยู่ประหนึ่ง
ผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ.
บาทคาถาว่า ทวทตฺโตติ เม สุตํ มีความว่า แม้คำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสดับแล้วว่า เทวทัตเป็นเช่นนี้ ก็มีอยู่, คำว่า เทวทัตตั้งอยู่
ประหนึ่งผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ นี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว หมายเอาคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วนั่นแล.