เมนู

แม้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ก็สามารถฉันได้. ส่วนภัตที่ทายกถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ถวายแก่ภิกษุ 8 รูป, ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุ 4 รูป ดังนี้ ชื่ออัฎฐกภัต และ
ชื่อจตุกภัต.
อัฏฐกภัตและจตุกภัตแม้นั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ควรแก่ภิกษุ
ผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
ภัตที่ทายกหมายบาตรไว้ ด้วยขนมมีรสอร่อยยิ่ง มีเครื่องปรุงมาก
แล้วถวาย ชื่อคุฬกภัต. ภัต 3 อย่างนี้ มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.
แม้ภัตอื่นอีกที่ชื่อ คุฬกภัต ก็ยังมี (คือ) คนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้
ให้ทำการฟังธรรมเป็นการใหญ่ และการบูชาในสำนักแล้วกล่าวว่า พวกข้าพเจ้า
ไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งสิ้นได้, ภิกษุ 2 - 3 ร้อย จงรับภิกษาของพวก
ข้าพเจ้า ดังนี้, แล้วถวายน้ำอ้อยงบ เพื่อทราบจำนวนภิกษุ. คุฬกภัตนี้
ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
จีวรที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในจีวรขันธกะ ส่วนเสนาสนะที่
ควรแจก และบิณฑบาตที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวในเสนาสนักขันธกะนี้
ด้วยประการฉะนี้.

[คิลานปัจจัยที่ควรแจก]


ส่วนคิลานปัจจัยที่ควรแจก พึงทราบอย่างนี้ :-
บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น พระราชาหรือราชมหาอมาตย์ ส่งเนยใส
ร้อยหม้อก็ดี พันหม้อก็ดี ไปสู่สำนักก่อน. พระภัตตุทเทสก์พึงตีระฆัง ให้ๆ
เต็มภาชนะที่ถือมา จำเดิมแต่เถรอาสน์ลงมา. เนยใสนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลายเป็นผู้มักล่าช้า มาภายหลัง อย่าพึงกล่าว
กะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังแจกแก่ภิกษุผู้มีพรรษา 20, ลำดับของ
พวกท่านเลยไปเสียแล้ว, พึงพักลำดับไว้ ถวายแก่พระมหาเถระเหล่านั้นแล้ว
จึงถวายตามลำดับในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง (ข่าว) ว่า ที่สำนักโน้น มีเนยใสเกิดขึ้นมาก จึง
พากันมาแม้จากสำนักในระยะโยชน์หนึ่ง. พึงให้ตั้งแต่สถานที่เธอทั้งหลายมา
ทัน ๆ กันยืนอยู่.
เมื่อพวกนิสิตมีอันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนภิกษุทั้งหลายแม้ผู้มา
ไม่ทัน แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว ก็ควรให้แท้.
พวกนิสิตเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ผู้ตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา ดังนี้ ไม่พึงให้.
ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุผู้เข้าสู่อุปจาร-
สีมาแล้ว มีที่ประตูสำนักของตนก็ดี ที่ภายในแห่งสำนักทีเดียวก็ดี, สีมาชื่อว่า
ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท; เพราะฉะนั้น พึงให้. แม้เมื่อให้ส่วนแก่สังฆนวกะ
เสร็จแล้ว ก็พึงให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.
แต่ว่า เมื่อส่วนที่ 2 ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ 1 ย่อมไม่ถึง
แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาทีหลังอีก, พึงให้ตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ 2 ไป
เนยใสเป็นของที่ทายกเข้าไปสู่อุปจารสีมาแล้วให้ในที่ใดที่หนึ่ง, เนยใสทั้งหมด
พึงแจกในที่ประชุมเท่านั้น.
ในสำนักใด มีภิกษุ 10 รูป และหม้อเนยใสเป็นต้น อันทายกถวาย
10 หม้อเหมือนกัน, ในสำนักนั้น พึงแจกกันรูปละหม้อ.
เนยใสมีหม้อเดียว, ภิกษุมี 10 รูป, พึงแบ่งออกแล้วให้ถือเอา.

ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาว่า เนยใสทั้งหม้อตามที่ตั้งอยู่นั่นแล ย่อม
ถึงแก่พวกเรา ดังนี้, เนยใสนั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ, ย่อมเป็นของสงฆ์
ในที่ซึ่งตนไปแล้ว ๆ ทีเดียว.
แต่ว่า ภิกษุเอียงหม้อ เทเนยใสลงในภาชนะหน่อยหนึ่งแล้วกล่าวว่า
นี่ถึงแก่พระมหาเถระ, ที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้แล้ว กลับใส่เนยใสนั้นลง
ในหม้อนั่นเอง ถือเอาไปตามต้องการ ควรอยู่.
ถ้าว่า เนยเป็นแท่ง แม้ขีดเป็นรอยถือเอาด้วยคิดว่า. ส่วนอื่นจากรอย
ที่ขีด ย่อมถึงแก่พระมหาเถระ, ส่วนที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นอัน
ถือเอาชอบ.
ในภิกษุและหม้อเนยใส แม้หย่อนหรือเกินกว่ากำหนดดังกล่าวแล้ว
ก็พึงแบ่งกันโดยอุบายนั้นแล. ก็ถ้าว่า ภิกษุมีอยู่รูปเดียว เนยใสก็มีอยู่หม้อเดียว
ภิกษุนั้นจะตีระฆังแล้วถือเอาด้วยคิดว่า นี้ถึงแก่เรา ดังนี้ก็ดี ควรอยู่. แม้จะ
ให้ถึง (แก่ตน) ทีละน้อย ๆ อย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ 1 ถึงแก่เรา นี้ส่วนที่ 2
ดังนี้ก็ควร. แม้ในเภสัชที่เหลือมีเนยข้นเป็นต้น ก็นัยนี้.
แต่ว่า รอยขีดไม่คงอยู่ในน้ำมันงาเป็นต้นที่ใสใด, น้ำมันงาเป็นต้น
นั้น พึงตักแจกแท้.
เภสัชมีขิงสดและพริกเป็นต้นก็ดี, สมณบริขารมีบาตรและภาชนะที่
เหลือเป็นต้นก็ดี, ทั้งหมดพึงกำหนดให้ดีแล้วแจกตามนัยอันสมควรแก่อธิบาย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ภิกษุผู้เฉียวฉลาด พึงพิจารณาบาลีและอรรถกถาแล้วอย่าประมาท
แจกปัจจัยของสงฆ์อย่างนั้นเถิด.
กถาว่าด้วยปัจจัยที่ควรแจกโดยอาการทั้งปวง จบแล้วด้วยประการฉะนี้.


[ว่าด้วยหน้าที่ผู้แจก]


ภิกษุเจ้าหน้าที่ มีเจ้าหน้าที่แจกยาคูเป็นต้น ที่สงฆ์สมมติตั้งไว้ไม่
ต้องถาม (สงฆ์) ก่อนก็ได้ พึงให้ชนทั้งหลายผู้มาสู่สถานที่แจกคนละกึ่งส่วน
แต่ว่า ภิกษุที่มิได้รับสมมติต้องอปโลกน์ให้.
เจ้าหน้าที่ผู้แจกของเล็กน้อย พึงให้เข็ม 2 เล่ม คือ ยาวเล่มหนึ่ง
สั้นเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้ทำจีวรกรรมซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านจงให้เข็ม ดังนี้. ไม่มี
กิจที่จะต้องถามเพราะเกิดความรังเกียจว่า ภัณฑะของสงฆ์ไม่ควรแจก.
พึงให้มีดเล็กเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยมีดเล็ก.
พึงให้รองเท้าคู่หนึ่ง แก่ภิกษุผู้ประสงค์จะเดินทางกันดาร.
พึงให้ประคดเอว แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยประคดเอว.
พึงให้อังสะ แก่ภิกษุผู้มา (ขอ) ว่า อังสะของข้าพเจ้าเก่าแล้ว.
พึงให้ผ้ากรองน้ำ แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้ากรองน้ำ.
พึงให้กระบอกกรอง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยกระบอกกรอง ถ้า
ไม่มีผ้า พึงให้กระบอกกรองพร้อมทั้งผ้า.
เมื่อภิกษุขออยู่ว่า ข้าพเจ้าจักเพิ่มแผ่นผ้าดาม พึงให้ ๆ พอแก่กุสิและ
อัฑฒกุสิ.
เมื่อภิกษุมา (บอก) ว่า ผ้ามณฑลไม่พอ พึงให้ผ้ามณฑลผืนหนึ่ง,
พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล 2 ผืน. เมื่อเธอขอผ้ามณฑล 2 ผืน ไม่พึงให้ 2 ผืน.
พึงให้ผ้าที่พอแก่จีวรตัวหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้าอนุวาต
ด้านรีและด้านสกัด.
ตวงเภสัชได้ประมาณทะนานหนึ่ง พึงให้ส่วนที่ 3 จากทะนานหนึ่งนั้น
แก่ภิกษุผู้อาพาธ ซึ่งมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น.