เมนู

2 แก่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เพราะอุโบสถกรรม ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่ ดังนี้.
ภัตทั้ง 2 แม้นั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.
ภัตทั้ง 7 อย่างนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ย่อมกระทำ
ความทำลายแห่งธุดงค์เป็นแท้ ด้วยประการฉะนี้.

[อาคันตุกภัตเป็นต้น]


ภัตแม้เหล่าอื่นอีก 4 ที่ นางวิสาขาขอประทานพรถวายในจีวรขันธกะ*
คือ อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฎฐากภัตมาแล้วในบาลีเหมือน
กัน.
บรรดาภัตทั้ง 4 นั้น ภัตที่ถวายแก่ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ชื่ออาคัน-
ตุกภัต. ในภัต 3 อย่างที่เหลือ มีนัยเช่นเดียวกัน.
ก็ถ้าว่า ในภัตทั้ง 4 อย่างนี้ ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งอาคันตุกภิกษุมีมาก,
พึงให้ภิกษุทั้งปวงถือเอารูปละส่วน ๆ เมื่อภัตไม่พอพึงให้เอาตามลำดับ.
ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง มาก่อนทีเดียว ให้ถือเอาคันตุกภัตทั้งหมดเพื่อ
ตนแล้วนั่งอยู่, อาคันตุกภัตทั้งปวง ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายผู้มาทีหลัง พึงฉันที่เธอให้แล้ว.
แม้เธอก็พึงถือเอาเพื่อคนส่วนหนึ่งแล้ว พึงให้ส่วนที่เหลือ. นี้เป็น
ความชอบยิ่ง.
แต่ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะนั้น แม้มาก่อน แต่ไม่ถือเอาเพื่อตนนั่งเฉย
อยู่. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายผู้นาทีหลัง พึงถือเอาตามลำดับพร้อมกับเธอ.
ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะมาเป็นนิตย์ พึงฉันอาคันตุกภัตเฉพาะในวันที่
มาเท่านี้, ถ้าว่า มาในระหว่าง ๆ, พึงฉัน รูปละ 2-3 วัน
* มหาวคฺค. ทุติย. 210

ส่วนในมหาปัจจรีแก้ว่า ควรฉันได้ 7 วัน. ภิกษุผู้เจ้าถิ่นไปไหน ๆ
มาก็ดี, แม้เธอก็พึงฉันอาคันตุกภัต.
อนึ่ง ถ้าว่า อาคันตุกภัตนั้น เป็นของที่เขาให้เนื่องในสำนักต้องให้
ถือเอาในสำนัก. ถ้าสำนักอยู่ไกล เขาจึงให้เนื่องในโรงฉัน ต้องให้ถือเอาใน
โรงฉัน.
ก็ถ้าว่า ครั้นเมื่อภิกษุอาคันตุกะไม่มี ทายกจึงสั่งว่า แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น
ก็ฉันได้ ดังนี้, สมควรที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นจะฉัน. เมื่อเขาไม่สั่ง ไม่ควร.
ทางของเรื่อง แม้ในคมิกภัตก็ เหมือนกันนี้. ส่วนเนื้อความที่แปลก
ดังนี้ :-
อาคันตุกภิกษุ ย่อมได้แต่อาคันตุกภัตเท่านั้น.
คมิกภิกษุ ย่อมได้ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งคมิกภัต. แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น
ผู้จำนงจะหลีกไป ย่อมกลายเป็นคมิกภิกษุ ย่อมได้คมิกภัต. เหมือนอย่างว่า
อาคันตุกภัต อันอาคันตุกภิกษุย่อมได้ฉันใด คมิกภัตนี้ อันคมิกภิกษุ ย่อม
ได้ตั้ง 2-3 วัน หรือ 7 วัน ฉันนั้นหามิได้.
ภิกษุผู้ฉันด้วยตั้งใจว่าเราจักไป ตลอดวันนั้นไปไม่ได้ เพราะกรณียะ
อะไร ๆ ก็ตาม, แม้ในวันรุ่งขึ้นจะฉันก็ควร เพราะยังมีอุตสาหะ (ที่จะไป).
ในมหาปัจจรีแก้ว่า เมื่อภิกษุตั้งใจว่า จักไป ฉันเสร็จแล้ว พวกโจร
ดักทางเสียก็ดี, น้ำหลากมาก็ดี, ฝนตกก็ดี, หมู่เกวียนยังไม่ไปก็ดี, เธอผู้ยัง
มีอุตสาหะ พึงฉัน.
อันภิกษุผู้รอดอุปัทวะเหล่านั้นอยู่ จะฉัน 2- 3 วันก็ควร แต่ภิกษุ
ผู้อ้างเลศว่า จักไป จักไป ย่อมไม่ได้เพื่อฉัน .
คิลานภัตเล่า ถ้ามีพอแก่ภิกษุผู้อาพาธทั่วกัน ก็พึงให้ ๆ ทั่วกัน หาก
ว่าไม่พอ ก็พึงจัดลำดับให้ถือเอา.

ภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง ท่วงทีเหมือนคนไม่มีโรค ยังอาจไปภายในบ้าน
ได้, รูปหนึ่งไม่อาจ รูปนี้ชื่อผู้อาพาธหนัก. พึงให้คิลานภัตแก่เธอแท้.
ภิกษุผู้อาพาธหนัก 2 รูป, รูปหนึ่งรวยลาภ เป็นผู้มีชื่อเสียงได้
ขาทนียโภชนียะมาก, รูปหนึ่งอนาถา ต้องเข้าไปภายในบ้านเพราะมีลาภอัตคัค,
พึงให้คิลานภัตแก่รูปหลังนั้น.
ในคิลานภัต ไม่มีกำหนดวัน, ภิกษุผู้อาพาธพึงฉันตลอดเวลาที่โรค
ยังไม่สงบ เมื่อไม่ฉันโภชนะที่สบาย จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้.
แต่ในกาลใด เมื่อภิกษุผู้อาพาธนั้น แม้ฉันยาคูที่ระคน หรือภัตที่
ระคน โรคก็ไม่กำเริบ, จำเดิมแต่กาลนั้นไป ไม่พึงฉันคิลานภัต.
คิลานุปัฏฐากภัตเล่า มีพอแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ทั่วถึงกัน พึงให้ ๆ ทั่ว
ถึงกัน, หากว่าไม่พอ พึงจัดลำดับให้ถือเอา.
แม้คิลานุปัฏฐากภัตนี้ ก็พึงแจกให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธนัก
ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธ 2 รูป.
สกุลใด ถวายทั้งคิลานภัต ทั้งคิลานุปัฏฐากภัต แก่ภิกษุผู้พยาบาล
ภิกษุอาพาธที่อนาถา ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธหนัก 2 รูป ภัตในสกุลนั้น ถึง
แก่ภิกษุผู้อาพาธรูปใด แม้ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธรูปนั้น ก็พึงให้ถือเอา
ในสกุลนั้นแล.
แม้ในคิลานุปัฏฐานภัต ก็ไม่มีกำหนดวัน. ภิกษุผู้อาพาธยังได้อยู่เพียง
ใด, แม้ผู้พยาบาลของเธอยู่ย่อมได้เพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น ภัต 4 อย่างนี้ ถ้า
เป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ภิกษุอาคันตุกะ, ภิกษุผู้เตรียมตัวไป, ภิกษุผู้
อาพาธ. และภิกษุผู้พยาบาลภิกษุผู้อาพาธ, จงรับภิกษาของข้าพเจ้า ย่อมควร
แม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. แต่ถ้าเป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

จัดภัตไว้ให้เป็นประจำ เพื่อภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น . ภิกษุอาคันตุกะเป็นต้นจง
รับภัตของข้าพเจ้า ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

[ภัตอีก 3 ชนิด]


ภัตอื่นอีก 3 ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ . ในภัต 3
ชนิดนั้น นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต. ธุวภัตนั้น มี 2 อย่าง คือ ของสงฆ์
ของเฉพาะบุคคล 1.
ใน 2 อย่างนั้น ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า ข้าพเจ้า
ถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้ ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. ก็แล
ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของ
ข้าพเจ้า ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายถือปิณฑปาติกธุดงค์.
แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้ ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือ
ปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำ
ของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่, ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.
แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว 2- 3 วัน เขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย
จงรับธุวภัต ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ เพราะเป็นของที่เธอรับ
ไว้ดีแล้วในวัน แรก.
ที่ชื่อกุฏิภัต คือภัตที่ทายกสร้างที่อยู่ถวายสงฆ์แล้ว ถวายให้เป็นประจำ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า จงรับภัต
ของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. พึง
ให้ภิกษุทั้งหลายรับมาฉัน.