เมนู

ภิกษุทั้งหลายจะไปสู่สำนักอื่น เพื่อฟังธรรมตลอดทั้งคืน จึงสั่งว่า เรา
ทั้งหลายไม่รับทานในที่นั้นละ จักเที่ยวบิณฑบาตที่โคจรตามของเราแล้วจักมา
ดังนี้ ไม่รับสลากแล้วไปเสีย. ภิกษุเหล่านั้นจะมาเพื่อฉันสลากภัตที่ถึงแก่พระ
เถระในสำนักเช่นนี้ก็ควร.
ถ้าว่า แม้พระมหาเถระก็ไปกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยคิดว่า เราจะทำ
อะไรอยู่ที่นี่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ฉัน ที่สำนักซึ่งตนไป เที่ยวไปสู่โคจรคามตาม
ลำดับ อย่าพึงให้บาตร ในเมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงมอบบาตรให้
เถิด, ข้าพเจ้าจักนำสลากยาคูเป็นต้นมาถวาย.
เมื่อเขาถามว่า เหตุไรจึงไม่ให้เล่า ท่านผู้เจริญ ? พึงตอบเขาว่า
ภัตที่เจาะจงสำนัก ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในสำนัก เราทั้งหลายอยู่ในสำนัก
อื่น.
ก็เมื่อเขากล่าวว่า โปรดให้เถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้ถวาย
แก่สีมาแห่งสำนักไม่, ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน, ขอท่านจงรับภิกษาของข้าพเจ้า
เถิด ดังนี้ สมควรให้บาตรไปได้.
สลากภัตตกถา จบ

[ปักขิกภัตเป็นต้น]


ก็วินิจฉัยในปักขิกภัตเป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
ภัตใด อันชนทั้งหลายผู้ขวนขวายในการงาน ถวายในวันปักษ์ (ที่
บัณฑิตกำหนดไว้) เหล่านี้ คือ วัน 14 ค่ำ, วัน 15 ค่ำ วัน 7 ค่ำ วัน
8 ค่ำ, เพื่อต้องการเตือนสติ สำหรับทำอุโบสถภัตนั้นชื่อาปักขิกภัต. ปัก-
ขิกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตนั่นเอง พึงให้ภิกษุทั้งหลายรับไปฉัน.

ถ้าว่า สลากภัตก็ดี ปักขิกภัตก็ดี มีมากทั่วถึง แก่ภิกษุทั้งปวง, พระ-
ภัตตุทเทสก์พึงให้ถือเอาภัตแม้ทั้ง 2 เป็นแผนก ๆ.
หากว่า ภิกษุสงฆ์มีมาก, พึงให้ถือเอาปักขิกภัตแล้ว จึงให้ถือเอา
สลากภัตต่อลำดับแห่งปักขิกภัตนั้นก็ได้ หรือพึงให้ถือเอาสลากภัตแล้ว จึงให้
ถือเอาปักขิกภัต ต่อลำดับแห่งสลากภัตนั้นก็ได้.
ภัต 2 นั้น ยังไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จักเที่ยว
บิณฑบาต
แม้ถ้าว่า ภัตทั้ง 2 มีมาก, ภิกษุมีน้อย. ภิกษุย่อมได้สลากภัตทุกวัน.
เพราะฉะนั้น พึงงดสลากนั้นเสีย ให้ถือเอาแต่ปักขิกภัตเท่านั้นว่า ผู้มีอายุท่าน
จงฉันปักขิกภัตเถิด ดังนี้ .
พวกทายกถวายปักขิกภัตประณีต, พึงจัดลำดับไว้ต่างหาก. ไม่พึงให้
ถือเอาปักขิกภัตแต่ในวันนี้ว่า พรุ่งนี้ เป็นวันปักษ์.
ก็แล ถ้าทายกทั้งหลายกล่าวว่า พรุ่งนี้แล ในเรือนของพวกข้าพเจ้า
จักมีภัตเศร้าหมอง ขอท่านจงแจกปักขิกภัตเสียแต่ในวันนี้ทีเดียว. อย่างนี้ควร
ให้ถือเอาในวันนี้ได้.
ที่ชื่ออุโปสถิกภัตนั้น พึงทราบดังนี้ :-
บุคคลสมาทานองค์อุโบสถ ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือนแล้ว ตนเอง
บริโภคภัตใด, ภัตนั้นแลอันเขาย่อมให้.
ที่ชื่อปาฏิปทิกภัตนั้น ได้แก่ ทานที่ทายกให้ในวันปาฏิบทด้วยกำหนด
หมายว่า ในวันอุโบสถ ชนเป็นอันมากผู้ ศรัทธาเลื่อมใสย่อมสักการะแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย, ส่วนในวันปาฏิบท ภิกษุทั้งหลายย่อมลำบาก, ทานที่ถวายในวัน
ปาฏิบท ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่คล้ายทุพภิกขาทา, หรือทานที่ถวายในวันที่

2 แก่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เพราะอุโบสถกรรม ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่ ดังนี้.
ภัตทั้ง 2 แม้นั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.
ภัตทั้ง 7 อย่างนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ย่อมกระทำ
ความทำลายแห่งธุดงค์เป็นแท้ ด้วยประการฉะนี้.

[อาคันตุกภัตเป็นต้น]


ภัตแม้เหล่าอื่นอีก 4 ที่ นางวิสาขาขอประทานพรถวายในจีวรขันธกะ*
คือ อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฎฐากภัตมาแล้วในบาลีเหมือน
กัน.
บรรดาภัตทั้ง 4 นั้น ภัตที่ถวายแก่ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ชื่ออาคัน-
ตุกภัต. ในภัต 3 อย่างที่เหลือ มีนัยเช่นเดียวกัน.
ก็ถ้าว่า ในภัตทั้ง 4 อย่างนี้ ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งอาคันตุกภิกษุมีมาก,
พึงให้ภิกษุทั้งปวงถือเอารูปละส่วน ๆ เมื่อภัตไม่พอพึงให้เอาตามลำดับ.
ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง มาก่อนทีเดียว ให้ถือเอาคันตุกภัตทั้งหมดเพื่อ
ตนแล้วนั่งอยู่, อาคันตุกภัตทั้งปวง ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายผู้มาทีหลัง พึงฉันที่เธอให้แล้ว.
แม้เธอก็พึงถือเอาเพื่อคนส่วนหนึ่งแล้ว พึงให้ส่วนที่เหลือ. นี้เป็น
ความชอบยิ่ง.
แต่ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะนั้น แม้มาก่อน แต่ไม่ถือเอาเพื่อตนนั่งเฉย
อยู่. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายผู้นาทีหลัง พึงถือเอาตามลำดับพร้อมกับเธอ.
ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะมาเป็นนิตย์ พึงฉันอาคันตุกภัตเฉพาะในวันที่
มาเท่านี้, ถ้าว่า มาในระหว่าง ๆ, พึงฉัน รูปละ 2-3 วัน
* มหาวคฺค. ทุติย. 210