เมนู

ทั้งหลายที่รู้จักไปวาระ 1. จำเดิมแต่กาลที่ติดเนื่องกันไป เมื่อเริ่มวาระที่ 2
พึงนิมนต์ไปจากสงฆ์เท่านั้น .
อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นอาคันตุกะผู้มาใหม่ ๆ ไปด้วยทั้งใจว่า จัก
เยี่ยมญาติหรืออุปัฏฐาก นั้น ญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของภิกษุอาคันตุกะเหล่า
นั้นกระทำสักการะ.
ก็แลในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่าใดทราบ พึงนิมนต์ภิกษุ เหล่านั้นไป,
ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้มีลาภเหลือเฟือ ฐานะของเธอและฐานะของอาคันตุกะเป็น
เช่นเดียวกัน, ชนทั้งหลายในที่ทั้งปวงตระเตรียมสังฆภัตเสร็จแล้วอยู่. ภิกษุนั้น
พึงนิมนต์ภิกษุไปจากสงฆ์เท่านั้น, นี้เป็นความแปลกกันในนิมันตนภัต.
ปัญหาทั้งปวงที่ยังเหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.
ส่วนในกุรุนที่แก้ว่า เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจงให้พระมหาเถระ 8 รูป.
พึงให้พระมหาเถระเท่านั้น 8 รูป. ในภิกษุทั้งหลายมีภิกษุปูนกลางเป็นต้น ก็
นัยนี้แล.
แต่ถ้าเขากล่าวมิให้แปลกกันว่า ท่านจงให้ภิกษุ 8 รูป ดังนี้พึงนิมนต์
ให้ไปจากสงฆ์ ดังนี้แล.
นิมันตนภัตตกถา จบ

[สลากภัตตกกา]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในสลากภัต, เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้จดชื่อในสลาก หรือในแผ่นป้ายแล้ว รวมกันเข้าแจกกัน* ดังนี้
พระภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงเขียนอักษรลงในสลากไม้แก่น หรือ
ในแผ่นป้ายที่ทำด้วยตอกไม้ไผ่และใบตาลเป็นต้น อย่างนี้ว่า สลากภัตของทายก
* จุลฺลวคฺค. ทุติย. 7147

ชื่อโน้น แล้วรวมสลากทั้งหมดใส่ในกระเช้า หรือในขนดจีวร แล้วคนกลับ
ไปกลับมาจนทั่งถึงทั้งข้างล่างข้างบนทีเดียว ถ้าลำดับมี พึงแจกสลากจำเดิมแต่
ลำดับไป, ถ้าไม่มี พึงแจกตั้งแต่ที่เถรอาสน์ลงมา.
ภิกษุผู้มาภายหลังก็ดี ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล ด้วยอำนาจเนื่องถึงกันก็
ดี พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.
หากว่า โดยรอบสำนักมีโคจรคามมาก, ส่วนภิกษุมีไม่มาก สลาก
ทั้งหลายย่อมถึงแม้ด้วยอำนาจแห่งบ้าน พึงแจกสลากด้วยอำนาจแห่งบ้านทีเดียว
ว่าสลากภัตทั้งหลาย ในบ้านโน้น ถึงแก่พวกท่าน, สลากภัตทั้งหลาย ในบ้าน
โน้น ถึงแก่พวกท่าน.
เมื่อพระภัตตุทเทสก์ให้ถือเอาอย่างนั้น แม้หากว่า ในบ้านตำบลหนึ่งๆ
มีสลากภัต 60 ที่ มีประการต่าง ๆ กัน สลากภัตทั้งหมดเป็นอันเธอให้ถือเอา
เสร็จสิ้นไปแล้ว.
ในบ้านใกล้เคียงกับบ้านที่ถึงแก่ภิกษุ ยังมีสลากภัตอื่นอีก 2- 3 ที่, แม้
สลากภัตเหล่านั้น ก็ควรให้แก่เธอเสียด้วย. เพราะว่าพระภัตตุทเทสก์ไม่สามารถ
จะส่งภิกษุอื่นไป เพราะเหตุแห่งสลากภัตเหล่านั้นได้ ฉะนี้แล.
ถ้าว่า ในบางบ้านมีสลากภัตมาก พึงกำหนดให้แก่ภิกษุ 7 รูปบ้าง,
8 รูปบ้าง แต่เมื่อจะให้ต้องมัดสลากรวมกันให้แก่ภิกษุ 4-5 รูปผู้จะไป.
ถ้าว่า ถัดบ้านนั้นไป มีบ้านอื่น, และในบ้านั้นมีสลากภัตเพียงที
เดียว. และเขาถวายสลากภัตนั้นแต่เช้าเทียว. สลากภัตแม้นั้น พึงให้ด้วยบังคับ
แก่ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น แล้วสั่งเธอว่า ท่านจงรับสลากภัตนั้นเสียแต่
เช้า ภายหลังจึงค่อยรับภัตนอกนี้ที่บ้านใกล้.
ในกุรุนทีกล่าวนัยดังนี้ว่า ถ้าว่า เมื่อสลากภัตทั้งหลายในบ้านใกล้ ยัง
มิได้แจกจ่ายกันเลย ภิกษุนั้น ไปเสีย ด้วยสำคัญว่าได้แจกกันเสร็จแล้ว, ครั้น

ให้ถือ เอาสลากภัตในบ้านไกลแล้ว ต้องกลับมาวิหารอีก รับแจกสลากภัตนอก
นั้น แล้วจึงค่อยไปบ้านใกล้ เพราะว่าลาภสงฆ์จะแจกกันภายนอกสีมา ย่อม
ไม่ได้.
แต่ถ้าภิกษุมีมาก. สลากด้วยอำนาจแห่งบ้านไม่พอกัน ; พึงให้ถือ
เอาด้วยอำนาจถนนหนึ่ง หรือด้วยอำนาจฟากหนึ่งในถนนหรือด้วยอำนาจสกุล
หนึ่งก็ได้
ก็แล ในถนนเป็นต้น ในที่ใดมีภัตรมาก, ในที่นั้น พึงให้ภิกษุมาก
รูปถือเอง ตามนัยที่กล่าวในบ้านนั่นแล. เมื่อสลากไม่มี พึงเจาะจงให้ถือเอาก็
ได้. อันภิกษุผู้ให้สลากต้องรู้จักวัตร.
จริงอยู่ ภิกษุผู้ให้สลากนั้น พึงลุกขึ้นแต่เช้า ถือบาตรและจีวรไปสู่
หอฉัน กวาดสถานที่ซึ่งยังมิได้กวาด จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้กะเวลาว่า บัดนี้
วัตรจักเป็นอันภิกษุทั้งหลายทำเสร็จแล้ว จึงตีระฆัง เมื่อภิกษุทั้งหลายประชุม
กันแล้ว พึงให้ถือสลากภัตที่บ้านเวรเสียก่อน คือพึงกล่าวว่า สลากที่บ้านเวร
ชื่อโน้น ถึงแก่ท่าน ท่านจงไปที่บ้านนั้น.
ถ้าว่า บ้านอยู่ในระยะทางเกินกว่า 1 คาวุต, ภิกษุผู้ไปในวันนั้นย่อม
เหน็ดเหนื่อย, พึงให้เอาเสียแค่ในวันนี้ทีเดียวว่า พรุ่งนี้สลากที่บ้านเวรถึงแก่
ท่าน.
ภิกษุใด ถูกส่งไปบ้านเวร ไม่ยอมไป จะเลือกเอาสลากอื่นอย่าพึงให้
แก่ภิกษุนั้น. เพราะว่า จะเสื่อมบุญของพวกชนผู้มีศรัทธาและจะขาดลาภสงฆ์ ;
เพราะฉะนั้น แม้ในวันที่ 2 ที่ 3 ก็อย่าพึงให้สลากอื่นแก่เธอ. พึงบอกเธอว่า
ท่านจงไปยังสถานที่ถึงแก่ตนแล้วฉัน เถิด. แต่เมื่อเธอไม่ยอมไปครบ 3 วัน พึง
ให้เธอถือเอาสลากที่บ้านในแต่บ้านเวรเขามา.

หากว่า เธอยอมรับสลากนั้นไซร้, จำเดิมแค่นั้น ไป ไม่สมควรให้
สลากอื่นแก่เธอ.
ส่วนทัณฑกรรมต้องลงให้หนัก คือ พึงลงทัณฑกรรมให้ตักน้ำ อย่า
ให้น้อยกว่า 60 หรือ 50 หม้อ หรือให้ขนฟืนอย่าให้น้อยกว่า 60 หรือ 50
มัด หรือให้ขนทรายอย่าให้หย่อนกว่า 60 หรือ 50 บาตร .
ครั้นให้รับสลากที่บ้านเวรแล้ว พึงให้รับวาระเฝ้าสำนัก. พึงบอกเธอ
ว่า วาระเฝ้าสำนักถึงแก่ท่าน. พึงให้สลากยาคู 2-3 ที่ และสลากภัต 3 หรือ
4 ที่ แก่ภิกษุผู้รับวาระเผาสำนัก, แต่อย่าให้เป็นประจำ. เพราะว่า ทายกผู้
ถวายยาคูและภัต จะพึงถึงความเสียใจว่า พวกภิกษุผู้เผาสำนักเท่านั้น ฉันยาคู
และภัตของพวกเรา เพราะฉะนั้น จึงควรให้สลากในสกุลอื่น ๆ.
หากว่า พวกภิกษุผู้ชอบพอกันของภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนัก นำมาถวาย
เอง. อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ; ถ้าว่า พวกเธอไม่นำมาถวาย, พึงให้รับวาระ
แทน. ให้นำยาคูและภัตมาให้ แก่ภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักเหล่านั้น. และสลาก
เหล่านั้นของพวกภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักนั้นย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้ง
หลายย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้งหลายย่อมได้เพื่อถือเอาสลากภัตประณีต
แม้อื่น ในที่ซึ่งถึงตามลำดับพรรษาด้วย, พึงแจกสลากจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง
สำหรับเอกวาริยภัต ที่มีเครื่องปิ้งจี่เหลือเฟือ.
ถ้าว่า สลากอันภิกษุใดได้แล้ว, แต่ภิกษุนั้นไม่ได้ภัตนั้นในวันนั้น
พึงให้เธอรับในรุ่งขึ้น.
ภิกษุใดได้แต่ภัต ไม่ได้เครื่องปิ้งจี่, แม้อย่างนี้ ก็พึงให้รับใหม่.
แม้ในสลากภัตมีนมสด ก็นัยนี้แล.
แต่ถ้าว่า ได้แต่นมสด ไม่ได้ภัต, อย่าพึงให้รับซ้ำอีก จำเดิมแต่ได้
นมสดไปแล้ว. เอกวาริยภัต 2-3 ที่ ถึงแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น. ในทุพภิกข-

สมัย พึงเฉลี่ยให้ถือเป็นแผนก ๆ ในเวลาที่สังฆนวกะได้แล้ว. สลากภัตตาม
ปกติ แม้ภิกษุที่ยังไม่ได้ ก็พึงให้รับในวันรุ่งขึ้น.
ถ้าเป็นสำนักเล็ก, ภิกษุทั้งปวงฉันรวมกัน, เมื่อจะให้ถือเอาสลากอ้อย
จะให้ถึงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงหน้าแล้วปอกถวายพระมหาเถระเป็น
ต้นในกาล ก็ควร.
สลากน้ำอ้อย ครั้นแจกกันแล้ว แม้ภายหลังภัต พึงกรองหรือให้ทำ
เป็นผาณิตแล้ว ถวายแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เป็นต้น, ต้องรู้ว่า ภิกษุ
อาคันตุกะมาแล้วหรือยังไม่มาก่อน จึงให้ถือเอาสลาก.
ในอาวาสใหญ่ ต้องจัดลำดับให้ถือเอา. สลากเปรียง*เล่า จะให้ถึงใน
ที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน หรือจะให้อุ่น หรือจะให้เจียวถวายพระเถระทั้งหลาย
ก็ควร. พึงปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้วในอาวาสใหญ่นั่นแล.
แม้สลากผลไม้ สลากขนมและสลากเภสัชของหอมและระเบียบเป็นต้น
พึงให้ถือเอาตามลำดับเป็นแผนก ๆ.
ก็แล ในสลากเหล่านี้ สลากเภสัชเป็นต้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือ
ปิณฑปาติกธุดงค์ก็ไม่พึงยินดี เพราะเป็นปัจจัยที่ให้ถือเอาเนื่องด้วยสลาก.
ทายกถวายสลากภัต แม้มีแต่สักว่าภิกษาเลิศ, พึงถามถึงลำดับแล้วให้
ถือเอา. เมื่อไม่มีลำดับ พึงให้ตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. หากว่า ภัตเช่นนั้นมีมาก
พึงให้แก่ภิกษุรูปละ 2-3 ที่. ถ้ามีไม่มาก, พึงให้รูปละที่เท่านั้น เมื่อลำดับ
หมดแล้วตามลำดับ พึงให้แต่ที่เถระอาสน์ลงมาอีก. ถ้าขาดลงเสียกลางคัน, พึง
จำลำดับไว้ แต่ถ้าภัตเช่นนั้น เป็นของมีเป็นประจำทีเดียว. ภัตนั้นถึงแก่ภิกษุ
พึงบอกภิกษุนั้นว่า ท่านได้แล้วก็ตาม ยังไม่ได้ก็ตาม แม้พรุ่งนี้ก็พึงรับ.
* ฆต เรียกตามฮินดูว่า ฆิ (Ghee) เขมรว่า เปรง แปลว่าน้ำมัน เราเรียกเพี้ยนไป.

ภัตรายหนึ่ง เป็นของที่เขามิได้ให้เป็นนิตย์ แต่ในวันที่ได้ย่อมได้พอ
ฉัน . วันที่ไม่ได้มีมากกว่า. ภัตนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุใด, พึงสั่งภิกษุนั้น ว่า ท่าน
ไม่ได้ พึงรับในพรุ่งนี้ เถิด.
เมื่อให้จับสลากแล้ว ภิกษุใดมาภายหลัง, สลากของภิกษุนั้น เป็นอัน
เลยไปแล้ว อย่าพึงจัดแจงให้เลย.
จำเดิมแต่ตีระฆังไป ภิกษุผู้มายื่นมือแล ย่อมได้ลาภคือสลากเป็นแท้.
เมื่อภิกษุอื่น แม้มายืนอยู่ในที่ใกล้ สลากก็เป็นอัน เลยไปแล้ว แต่ถ้า
ภิกษุอื่น ผู้จะรับแทนภิกษุนั้นมีอยู่, ภิกษุนั้นแม้ไม่มาเอง ย่อมได้.
ในฐานะที่เป็นผู้ชอบพอกัน ภิกษุผู้แจกทราบว่า ภิกษุโน้น ยังไม่มา
จะเก็บไว้ให้ด้วยตั้งใจว่า นี่สลากของภิกษุนั้น ดังนี้ก็ควร.
ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำกติกาไว้ว่า ไม่พึงให้ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่มา,
กติกานั้น ไม่เป็นธรรม. เพราะว่า ภัณฑะที่จะพึงแจกกันย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ตั้ง
อยู่ภายในอุปจาร. และถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำเสียงอื้ออึงว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุ
ผู้ไม่มา พึงเริ่มตั้งทัณฑกรรมพึงสั่งว่า จงมารับเอาเองเถิด
สลากหายไป 5-6 ที่, พระภัตตุทเทสก์นึกชื่อทายกไม่ได้ ถ้าว่าพระ-
ภัตตุทเทสก์นั้น ให้สลากที่หายถึงแก่พระมหาเถระหรือแก่ตนแล้ว พึงสั่งภิกษุ
ทั้งหลายว่า สลากภัตที่บ้านโน้น เราให้ถึงแก่ตัวเรา ท่านทั้งหลายพึงฉัน สลากภัต
ที่ได้ในบ้านนั้นเถิด ดังนี้ สมควร
แต่ไม่มอบถวายในสำนัก ได้ภัตนั้นที่โรงฉัน แล้วจะแจกกันฉัน ที่
โรงฉันนั้นเอง หาควรไม่.
เมื่อทายกกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัต ของ
ข้าพเจ้า ดังนี้ จะให้ถือเอาที่โรงฉันในที่นั้น ไม่ควร. ต้องนำมายังสำนักแล้ว
จึงให้ถือเอา.

อนึ่ง เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ตั้ง
แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ พึงบอกแก่พระภัตตุเทสก์ว่าสกุลชื่อโน้น ถวายสลากภัต
ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป, ท่านพึงนึกในเวลาให้จับสลาก.
ในคราวทุพภิกขภัย ชนทั้งหลายงดสลากภัตเสีย เมื่อถึงคราวหาภิกษา
ได้ง่าย พบภิกษุบางรูปแล้ว เริ่มตั้งไว้อีกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของพวก
ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป. อย่าแจกกันภายในบ้าน ต้องนำมาสำนักก่อน จึงค่อย
แจกกัน. เพราะว่าธรรมดาสลากภัตนี้ ไม่เป็นเหมือนอุทเทสภัต, ทายกย่อม
หมายเฉพาะสำนักถวาย ; เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรแจกกันนอกอุปจาร.
อนึ่ง เมื่อทายกบอกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ดัง
แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ ต้องแจกกันในสำนักเหมือนกัน.
คมิกภิกษุประสงค์จะไปสู่ทิศาภาคใด, สลากที่บ้านเวรในทิศาภาคนั้น
เป็นของอันภิกษุอื่นได้แล้ว, คมิกภิกษุจะถือเอาสลากนั้น แล้วสั่งภิกษุนอกนี้
ว่า ท่านจงถือสลากที่ถึงแก่เรา ดังนี้ แล้วไป ก็ควร. แก่ภิกษุนั้น ต้องถือ
เอาสลากของคมิกภิกษุนั้นเสีย ในเมื่อเธอยังมิทันก้าวล่วงอุปจารสีมาไปทีเดียว.
ชนทั้งหลายอยู่ในสำนักร้าง จัดตั้งสลากภัตไว้ ด้วยคิคว่า ภิกษุทั้งหลาย
ปรนนิบัติต้นโพธิ์ และเจดีย์เป็นต้น แล้ว จงฉัน เถิด ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายค้าง
อยู่ในที่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้ว ไปแต่เช้ามืด กระทำวัตรในสำนักร้างนั้นแล้ว
ฉันภัตนั้น ควรอยู่.
หากว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น ให้ถึงแก่ตนเพื่อจะได้ฉันในพรุ่งนี้ แล้ว
พากันไป ภิกษุอาคันตุกะอยู่ในสำนักร้าง กระทำวัตรแต่เช้าทีเดียว ตีระฆัง
แล้วให้สลากภัตถึงแก่ตนแล้วไปสู่โรงฉัน . ภิกษุอาคันตุกะนั้นแล เป็นใหญ่
แห่งภัตนั้น.

ฝ่ายภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำวัตรอยู่เทียว กวาดที่แผ่นดิน
2-3 ที่แล้ว ตีระฆังแล้ว ไปด้วยทำในใจว่า สลากภัตที่บ้านไกลถึงแก่เรา.
สลากภัตนั้น ย่อมไม่ถึงภิกษุนั้น เพราะเธอถือเอาด้วยอาการลอบชิง, ย่อม
เป็นของภิกษุผู้กระทำวัตรเสร็จแล้วให้ถึงแก่ตนมาภายหลังเท่านั้น .
บ้านหนึ่งอยู่ไกลนัก, ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะไปเป็นนิตย์ . ชน
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าเป็นผู้เหินห่างบุญ. พึงสั่งภิกษุทั้งหลายที่ชอบ
พอกันในสำนักใกล้บ้านนั้นว่า ในวันที่ภิกษุเหล่านี้ไม่มา พวกท่านจงฉันแทน.
อนึ่ง สลากต้องให้จับทุกวัน. ก็และสลากเหล่านั้นแล ไม่เป็นอัน
พระภัตตุทเทสก์นั้นให้จับแล้ว ด้วยอาการสักว่าตีระฆัง หรือสักว่าคนกระเช้า.
แต่ต้องจับกระเช้าเกลี่ยสลากลงในตะกร้า และอย่าจับกระเช้าที่ขอบ
ปาก. เพราะถ้าว่า ในกระเช้านั้นมีงูหรือแมลงป่อง มันจะก่อทุกข์ให้ เพราะ
ฉะนั้น ต้องจับข้างใต้ หันปากกระเช้าออกนอก และครั้นจับกระเช้าแล้วพึง
เกลี่ยสลากลง.
ถ้าแม้จักมีงู, มันจักหนีไปข้างโน้นเทียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเกลี่ย
สลากอย่างนั้น. สลากพึงให้จับเนื่องด้วยบ้านเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วใน
ก่อนนั่นแล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้แจกสลากนั้น ให้สลากหนึ่งถึงแก่พระมหาเถระ
แล้ว จึงให้ถึงแก่ตนว่า สลากที่เหลือ ย่อมถึงแก่เรา ดังนี้ ทำวัตรไหว้เจดีย์
แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่โรงระงับวิตกถามว่า ผู้มีอายุ สลากให้จับเสร็จ
แล้วหรือ ? พึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงรับสลากภัตที่บ้านซึ่งพวกท่านไป
แล้ว ๆ เถิด.
จริงอยู่ สลากแม้ที่ให้ถึงแล้วอย่างนี้ จัดว่าให้ถึงแล้วด้วยดีเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลายจะไปสู่สำนักอื่น เพื่อฟังธรรมตลอดทั้งคืน จึงสั่งว่า เรา
ทั้งหลายไม่รับทานในที่นั้นละ จักเที่ยวบิณฑบาตที่โคจรตามของเราแล้วจักมา
ดังนี้ ไม่รับสลากแล้วไปเสีย. ภิกษุเหล่านั้นจะมาเพื่อฉันสลากภัตที่ถึงแก่พระ
เถระในสำนักเช่นนี้ก็ควร.
ถ้าว่า แม้พระมหาเถระก็ไปกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยคิดว่า เราจะทำ
อะไรอยู่ที่นี่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ฉัน ที่สำนักซึ่งตนไป เที่ยวไปสู่โคจรคามตาม
ลำดับ อย่าพึงให้บาตร ในเมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงมอบบาตรให้
เถิด, ข้าพเจ้าจักนำสลากยาคูเป็นต้นมาถวาย.
เมื่อเขาถามว่า เหตุไรจึงไม่ให้เล่า ท่านผู้เจริญ ? พึงตอบเขาว่า
ภัตที่เจาะจงสำนัก ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในสำนัก เราทั้งหลายอยู่ในสำนัก
อื่น.
ก็เมื่อเขากล่าวว่า โปรดให้เถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้ถวาย
แก่สีมาแห่งสำนักไม่, ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน, ขอท่านจงรับภิกษาของข้าพเจ้า
เถิด ดังนี้ สมควรให้บาตรไปได้.
สลากภัตตกถา จบ

[ปักขิกภัตเป็นต้น]


ก็วินิจฉัยในปักขิกภัตเป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
ภัตใด อันชนทั้งหลายผู้ขวนขวายในการงาน ถวายในวันปักษ์ (ที่
บัณฑิตกำหนดไว้) เหล่านี้ คือ วัน 14 ค่ำ, วัน 15 ค่ำ วัน 7 ค่ำ วัน
8 ค่ำ, เพื่อต้องการเตือนสติ สำหรับทำอุโบสถภัตนั้นชื่อาปักขิกภัต. ปัก-
ขิกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตนั่นเอง พึงให้ภิกษุทั้งหลายรับไปฉัน.