เมนู

เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำเนยใสมา สำหรับเนยใสทั้งปวง ควร
เป็นลำดับเดียวกัน. น้ำมันทั้งปวงก็เหมือนกัน
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำน้ำผึ้งมา สำหรับน้ำผึ้งควรเป็น
ลำดับอันเดียวกัน. น้ำอ้อยและเภสัชมีชะเอมเป็นต้นก็เหมือนกัน.
ถามว่า ถ้าพวกทายกถวายของหอมและระเบียบเฉพาะสงฆ์, จะควร
แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์หรือไม่ควร ?
พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควร เพราะท่านห้ามแต่อามิสเท่านั้น
แต่ไม่ควรถือเอาเพราะเขาถวายเฉพาะสงฆ์.
อุทเทสภัตตกถา จบ

[นิมันตนภัต]


นิมันตนภัต ถ้าเป็นของส่วนบุคคล, ผู้รับเองนั้นแลเป็นใหญ่ ส่วน
ที่เป็นของสงฆ์ พึงให้ถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.
แต่ในนิมันตนภัตนี้ ถ้าเป็นทูตผู้ฉลาด เขาไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตสำหรับภิกษุสงฆ์ในพระราชนิเวศน์ กล่าวว่า ขอท่าน
ทั้งหลายจงรับภิกษา ดังนี้ไซร้ ภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติก-
ธุดงค์.
ถ้าทูตไม่ฉลาดกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับภัต ดังนี้. พระภัตตุท-
เทสก์เป็นผู้ฉลาด ไม่ออกชื่อว่า ภัต กล่าวแต่ว่า ท่านจงไป ท่านจงไป
ดังนี้ แม้อย่างนี้ ภัตนั้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
แต่เมื่อพระภัตตุทเทสก์กล่าวว่า ภัตถึงแก่พวกท่านตามลำดับ ดังนี้
ไม่ควรแก่ภิกษุถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ถ้าคนทั้งหลาย ผู้มาเพื่อจะนิมนต์ เข้าไปยังโรงฉัน แล้วกล่าวว่า ท่าน
จงให้ภิกษุ 8 รูป หรือว่า ท่านจงให้บาตร 8 บาตร แม้อย่างนี้ ก็ควรแก่
ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า ท่านด้วย นิมนต์ไป.
แต่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุ 8 รูป ท่านทั้งหลายจงรับภัต หรือ
ท่านจงให้บาตร 8 บาตร ท่านทั้งหลายจงรับภัตดังนี้ พระภัตตุทเทสก์พึงให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ. และเมื่อจะให้ถือเอา ตัดบทเสียไม่ออกชื่อว่า
ภัต พูดแต่ว่า ท่านด้วย ท่านด้วยนิมนต์ไป ดังนี้ ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑ-
ปาติกธุดงค์.
แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงให้บาตรของพวกท่าน นิมนต์
ท่านมา ดังนี้ พึงรับว่า ดีละ อุบาสก แล้วไปเถิด.
เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายเจาะจงเฉพาะจากสงฆ์มาเถิด ดังนี้ พึง
ให้ถือเอาตามลำดับ.
อนึ่ง เมื่อเขามาจากเรือนนิมันตนภัต เพื่อต้องการบาตร พึงให้บาตร
ตามลำดับ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั้นแล.
ทายผู้หนึ่งไม่กล่าวว่า จงให้บาตรตามลำดับจากสงฆ์ กล่าวแค่เพียงว่า
ท่านจงให้บาตรใบหนึ่ง ดังนี้ เมื่อยังไม่ทันให้ถือเอาบาตร ก็ฉวยเอาบาตร
ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปบรรจุเต็มนำมา ภัตนั้น เป็นของภิกษุผู้เจ้าของบาตร
เท่านั้น อย่าให้ถือเอาตามลำดับเหมือนในอุทเทสภัต.
แม้ในนิมันตนภัตนี้ ทายกใดมาแล้วยืนนิ่งอยู่ ทายกนั้นอันภิกษุไม่
พึงถามว่า ท่านมาหาใคร หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป ? เพราะว่า
เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า ข้าพเจ้ามาหาท่าน จักนำบาตรของท่านไป เพราะ
เช่นนั้น ภิกษุนั้นจะพึงถูกภิกษุทั้งหลายเกลียดชัง.

แต่ครั้นเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร ? เมื่อ
เขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตร ดังนี้ พึงถือเอาบาตรตามลำดับเรียงตัวกัน
เหมือนกัน.
ถ้าเขานำมาแล้วกล่าวว่า ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงฉัน พึงแบ่งกันฉัน
ต้องงดลำดับแม้ที่ล่วงไปแล้ว ของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสียให้เธอถือเอา
ภัตเนื่องในลำดับอื่นใหม่.
ทายกผู้หนึ่ง นำภัตมาด้วยถาดแล้ว กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ พึง
แบ่งกัน โดยสังเขปเป็นคำ ๆ ตั้งต้นแต่ลำดับแห่งอาโลปภัตไป.
อนึ่ง ถ้าเขานิ่งอยู่ ภิกษุอย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร ท่าน
ประสงค์จะถวายใคร ? และถ้าเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ? ท่านเที่ยว
ทำอะไร ? เขาจึงตอบว่า ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อสงฆ์ ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อ
พระเถระ ดังนี้ พึงรับแล้วแบ่งให้ตามลำดับแห่งอาโลปภัต.
ก็ถ้าว่า ภัตที่เขานำมาอย่างนั้น มีมาก พอแก่สงฆ์ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่า
อภิหฏภิกฺขา (ภาษาที่เขานำมาพอ) ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
ไม่มีกิจที่จะต้องถามถึงลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.
อุบาสกส่งข่าวไปถึงพระสังฆเถระก็ดี ภิกษุผู้มีชื่อเสียงเนื่องด้วยคันถ-
ธุระและธุดงค์ก็ดี พระภัตตุทเทสก์ก็ดี ว่า ท่านจงพาภิกษุมา 8 รูป เพื่อ
ประโยชน์แก่การรับภัตของข้าพเจ้า.
แม้หากว่า ข่าวนั้นจะเป็นข่าวที่ญาติและอุปัฏฐากส่งไปก็ดี ภิกษุ 3 รูป
(มีพระสังฆเถระเป็นต้น ) นี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะสอบถามเขา. ลำดับเป็นอันยก
ขึ้นทีเดียว. พึงให้นิมนต์ภิกษุ 8 รูปจากสงฆ์ มีตนเป็นที่ 9 ไปเถิด เพราะ
เหตุไร ? เพราะว่าลาภอาศัยภิกษุเหล่านั้น จึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์.

ส่วนภิกษุเจ้าของถิ่น ซึ่งไม่มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์เป็นต้น
จะถามก็ได้. เพราะฉะนั้น เธอพึงถามเขาว่า ข้าพเจ้าจะนิมนต์จากสงฆ์ หรือ
ว่าจะมากับภิกษุทั้งหลายที่ข้าพเจ้ารู้จัก ? ดังนี้แล้ว จึงจัดเข้าลำดับปฏิบัติตามที่
ทายกเขาสั่ง.
ก็เมื่อเขาสั่งว่า ท่านจงพานิสิตของท่าน หรือภิกษุที่ท่านรู้จักมาเถิด
ดังนี้ จะไปกับภิกษุที่ตนปรารถนาจะนิมนต์ก็ได้.
ถ้าเขาส่งข่าวมาว่า ท่านจงส่งภิกษุมา 8 รูป พึงส่งไปจากสงฆ์เท่านั้น.
ถ้าตนเป็นผู้อาจจะได้ภิกษาในบ้านอื่น พึงไปบ้านอื่น หากว่า เป็นผู้ไม่อาจจะ
ได้ ก็พึงเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านนั้นแล.
ภิกษุทั้งหลายที่รับนิมนต์ นั่งอยู่ในโรงฉัน ถ้าคนมาที่โรงฉันนั้น
บอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บาตร ภิกษุผู้มิได้รับนิมนต์อย่าให้ พึงบอกว่า
นี่ ภิกษุที่ท่านนิมนต์ไว้. แต่เมื่อเขาตอบว่า ท่านจงให้ด้วย ดังนี้ ควรให้.
ในคราวมีมหรสพเป็นต้น ชนทั้งหลายไปสู่บริเวณและเรือนบำเพ็ญ-
เพียร นิมนต์ภิกษุผู้ทรงไตรปิฏกและพระธรรมกถึก กับภิกษุร้อยรูปเองทีเดียว.
ในกาลนั้น ภิกษุผู้ทรงไตรปิฎกและธรรมกถึกเหล่านั้น จะพาภิกษุ
ทั้งหลายที่ทราบไป ก็ควร. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าชนทั้งหลาย มี
ความต้องการด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงไปยังบริเวณและเรือนบำเพ็ญเพียรหา
มิได้. แต่เขานิมนต์ภิกษุทั้งหลายตามสติตามกำลังไป จากที่ชุมชนแห่งภิกษุ
ทั้งหลาย.
ก็ถ้าว่า พระสังฆเถระหรือภิกษุผู้มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์
หรือพระภัตตุทเทสก์ก็ดี จำพรรษาในที่อื่น หรือไปในที่บางแห่ง กลับมาสู่
สถานของตนอีก. ชนทั้งหลายจึงทำสักการะสำหรับอาคันตุกะ พึงพาภิกษุ

ทั้งหลายที่รู้จักไปวาระ 1. จำเดิมแต่กาลที่ติดเนื่องกันไป เมื่อเริ่มวาระที่ 2
พึงนิมนต์ไปจากสงฆ์เท่านั้น .
อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นอาคันตุกะผู้มาใหม่ ๆ ไปด้วยทั้งใจว่า จัก
เยี่ยมญาติหรืออุปัฏฐาก นั้น ญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของภิกษุอาคันตุกะเหล่า
นั้นกระทำสักการะ.
ก็แลในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่าใดทราบ พึงนิมนต์ภิกษุ เหล่านั้นไป,
ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้มีลาภเหลือเฟือ ฐานะของเธอและฐานะของอาคันตุกะเป็น
เช่นเดียวกัน, ชนทั้งหลายในที่ทั้งปวงตระเตรียมสังฆภัตเสร็จแล้วอยู่. ภิกษุนั้น
พึงนิมนต์ภิกษุไปจากสงฆ์เท่านั้น, นี้เป็นความแปลกกันในนิมันตนภัต.
ปัญหาทั้งปวงที่ยังเหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.
ส่วนในกุรุนที่แก้ว่า เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจงให้พระมหาเถระ 8 รูป.
พึงให้พระมหาเถระเท่านั้น 8 รูป. ในภิกษุทั้งหลายมีภิกษุปูนกลางเป็นต้น ก็
นัยนี้แล.
แต่ถ้าเขากล่าวมิให้แปลกกันว่า ท่านจงให้ภิกษุ 8 รูป ดังนี้พึงนิมนต์
ให้ไปจากสงฆ์ ดังนี้แล.
นิมันตนภัตตกถา จบ

[สลากภัตตกกา]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในสลากภัต, เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้จดชื่อในสลาก หรือในแผ่นป้ายแล้ว รวมกันเข้าแจกกัน* ดังนี้
พระภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงเขียนอักษรลงในสลากไม้แก่น หรือ
ในแผ่นป้ายที่ทำด้วยตอกไม้ไผ่และใบตาลเป็นต้น อย่างนี้ว่า สลากภัตของทายก
* จุลฺลวคฺค. ทุติย. 7147