เมนู

บรรดาภัตเหล่านั้น ในสังฆภัตไม่มีลำดับเป็นธรรมดา, เพราะฉะนั้น
ในสังฆภัตนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า 10 วัน หรือ 12 วัน
ทั้งวันนี้แล้ว เฉพาะที่พวกเราฉัน, บัดนี้ท่านจงนิมนต์ภิกษุมาจากที่อื่นเถิด.
ทั้งไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนี้ว่า ในวันก่อน ๆ พวกเราไม่ได้เลย, บัดนี้ท่านจง
ให้พวกเรารับสังฆภัตนั้นบ้าง ดังนี้. เพราะว่า สังฆภัตนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุ
ผู้มาแล้ว ๆ เท่านั้น.

[ว่าด้วยอุทเทสภัต]


ส่วนในอุทเทสภัตเป็นต้น มีนัยดังนี้ :-
เมื่อพระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา ส่งคนไปนิมนต์ว่า ท่าน
จงเจาะจงสงฆ์ นิมนต์มาเท่านี้รูป ดังนี้ พระภัตตุทเทสก์ พึงแจ้งเวลาถามหา
ลำดับ, ถ้าลำดับมี พึงให้รับตั้งแต่ลำดับนั้น, ถ้าไม่มีพึงให้รับทั้งแต่เถรอาสน์
ลงมา, พระภัตตุทเทสก์อย่าพึงข้ามลำดับ แม้แห่งภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเสีย.
อันภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเหล่านั้น เมื่อจะรักษาธุดงค์ จักให้ข้ามเสียเอง.
เมื่อให้รับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ พระมหาเถระผู้มีปกติเฉื่อยชา มาภายหลัง,
อย่ากล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังให้ภิกษุ 20 พรรษารับ, ลำดับ
ของท่านเลยไปเสียแล้ว . พึงเว้นลำดับไว้ ให้พระมหาเถระเหล่านั้นรับเสร็จ
แล้วจึงให้รับตามลำดับในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า ที่สำนักโน้น อุทเทสภัตเกิดขึ้นมาก จึง
พากันมาแม้จากสำนักซึ่งมีระยะคั่นกันโยชน์หนึ่ง พึงให้ภิกษุเหล่านั้นรับ
จำเดิมแต่สถานที่พวกเธอมาทันแล้ว ๆ ยืนอยู่.
เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนอาจารย์และอุปัชฌาย์แม้ผู้มาไม่ทัน
แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว พึงให้รับเถิด.

พวกเธอกล่าวว่า ท่านจงให้รับแทนภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร
สีมา, อย่าให้รับ. แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้อยู่ที่ประตูสำนักหรือที่ภายในสำนักของตน
เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาแล้ว. สีมาจัดว่า
ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท เพราะฉะนั้น พึงให้รับ.
แม้ให้แก่สังฆนวกะแล้ว ก็ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังรับ
เหมือนกัน. แต่เมื่อส่วนที่ 2 ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ 1 ย่อมไม่ถึง
แก่ภิกษุผู้มาทีหลัง. พึงให้รับตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ 2 ไป.
ในสำนักหนึ่ง อุทเทสภัตที่ทายกกำหนดสถานที่แจกภัตไว้แห่งหนึ่งแล้ว
บอกในที่ใดที่หนึ่งในอุปจารสีมาแม้มีประมาณคาวุตหนึ่ง ต้องให้รับในสถานที่
แจกภัตนั้นแล.
ทายกผู้หนึ่ง ส่งข่าวแก่ภิกษุรูปหนึ่งว่า เฉพาะพรุ่งนี้ ขอท่านเจาะจง
สงฆ์ส่งภิกษุไป 10 รูป. ภิกษุนั้น พึงบอกเนื้อความนั้นแก่พระภัตตุทเทสก์
ถ้าวันนั้นลืมเสีย, รุ่งขึ้นต้องบอกแต่เช้า. ถ้าลืมเสียแล้วจะเข้าไปบิณฑบาต
จึงระลึกได้, สงฆ์ยังไม่ก้าวล่วงอุปจารสีมาเพียงใด, พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับ
ตามปกติในโรงฉันเพียงนั้น.
แม้ถ้าภิกษุทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงอุปจารสีมาไปแล้ว เป็นผู้เนื่องเป็นแถว
เดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา คือเดินไปไม่ทิ้งระยะกันและกัน
12 ศอก. พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับตามปกติ แต่เมื่อความเนื่องเป็นแถวเดียวกัน
เช่นนั้นของภิกษุทั้งหลายไม่มี, ตนระลึกได้ในที่ใดภายนอกอุปจารสีมา, พึงจัด
ลำดับใหม่ให้ถือเอาในที่นั้น. เมื่อระลึกได้ที่โรงฉันภายในบ้าน พึงให้ถือเอา
ตานลำดับในโรงฉัน. ระลึกได้ในที่ใดที่หนึ่งก็พึงให้ถือเอาแท้ จะไม่ให้ถือเอา
ไม่ควร. เพราะว่าในวันที่ 2 จะไม่ได้ภัตนั้น.

หากว่า ทายกบางคนเห็นภิกษุทั้งหลายออกจากที่อยู่ของตนไปสู่สำนัก
อื่น จึงขอให้แจกอุทเทสภัต.
ภิกษุทั้งหลายในภายในที่ใกล้เคียงกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา
เป็นผู้เนื่องเป็นแถวเดียวกัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นเองเพียงใด, พึงให้ถือเอา
ด้วยอำนาจลำดับในที่อยู่ของคนนั่นแลเพียงนั้น.
ส่วนอุทเทสภัต ที่ทายกถวายภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร เมื่อเขา
กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงแสดงภิกษุเพียงเท่านี้รูปจากสงฆ์ ดังนี้ พึงให้
ถือเอาตามลำดับแห่งภิกษุผู้มาทัน.
แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล โดยนัยคือเนื่องเป็นแถวเดียวกัน ไม่ทิ้ง
ระยะกัน 12 ศอกนอกอุปจารนั้นนั่นแล พึงทราบว่า ผู้มาทันเหมือนกัน.
ถ้าภิกษุทั้งหลายไปสู่สำนักใด, เขาบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไปใน
สำนักนั้นแล้ว; พึงถือเอาด้วยอำนาจลำดับแห่งสำนักนั้น.
แม้ถ้าทายกคนใดคนหนึ่ง พบภิกษุที่ประตูบ้าน หรือที่ถนน หรือที่
ทาง 4 แพร่ง หรือในละแวกบ้าน จึงบอกภัตที่จะพึงแสดงจากสงฆ์ ให้ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ภายในอุปจารในที่นั้นถือเอา.
ก็บรรดาอุปจารแห่งประตูบ้านเป็นต้นนี้ อุปจารเรือน พึงทราบด้วย
อำนาจแห่งเรือนเหล่านี้ คือ:-
เรือนหลังเดียว มีอุปจารเดียว, เรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน.
เรือนต่างหลังกัน มีอุปจารเดียวกัน, เรือนต่างหลังกัน ต่างอุปจารกัน.
ในเรือนเหล่านั้น เรือนใดของสกุลหนึ่ง เป็นที่พึงใช้สอย (แต่ออก
โดยประตูเดียวกัน ) เรือนนั้น ชื่อว่ามีอุปจารเดียวในร่วมในแห่งแดนกำหนด
ชั่วกระด้งตก.

อุทเทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้ยืนอยู่ แม้
ด้วยภิกขาจารวัตรในอุปจารนั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียวมีอุปจารเดียว.
ส่วนเรือนใดหลังเดียว เขากั้นฝาตรงกลาง เพื่อต้องการอยู่สบาย
สำหรับภรรยา 2 คน ทำประตูสำหรับใช้สอยคนละทาง, อุทเทสลาภที่เกิดขึ้น
ในเรือนนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในห้องฝาด้านหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้นั่ง อยู่ใน
ที่นั้นเท่านั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน.
ส่วนในเรือนใด เขานิมนต์ภิกษุเป็นอันมากให้นั่งเนื่องเป็นกระบวน
เดียวกัน ตั้งแต่ภายในเรือนจนเต็มหลามไปถึงเรือนเพื่อนบ้านผู้คุ้นเคย. อุท-
เทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ถึงแก่ภิกษุทั่วทุกรูป.
เรือนแม้ใดของต่างสกุล เขาไม่ทำฝากันกลางใช้สอยทางประตูเดียวกัน
นั่นเอง, แม้ในเรือนนั้น ก็มีนัยนี้แล. นี้ชื่อว่าต่างเรือนมีอุปจารเดียวกัน.
ก็อุทเทสลาภใด เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนต่างสกุล, ภิกษุ
ทั้งหลายย่อมเห็นกันทางช่องฝาก็จริง, ถึงกระนั้น อุทเทสลาภนั้น ย่อมถึงแก่
ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนนั้น ๆ เท่านั้น. นี้ชื่อว่าต่างเรือนต่างอุปจารกัน.
อนึ่ง ภิกษุใดได้อุทเทสภัตที่ประตูบ้าน ถนน และทาง 4 แพร่ง
สถานใดสถานหนึ่ง, เมื่อภิกษุอื่นไม่มี จึงให้ถึงแก่ตนเสียแล้ว จะได้อุทเทส-
ภัตอื่นในที่นั้นนั่นเอง แม้ในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุนั้นเห็นภิกษุอื่นใดเป็นนวกะหรือ
แก่ก็ตาม พึงให้ภิกษุนั้นรับ. ถ้าว่า ไม่มีใคร ๆ เลย, ถึงแก่ตนแล้วฉันเถิด.
หากว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งคอยเวลาอยู่ที่โรงฉัน อุบาสกบางคนมา
กล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่เจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้บาตรเฉพาะจากสงฆ์
ท่านจงให้บาตรของสงฆ์. อุทเทสบาตรควรให้ภิกษุรับตามลำดับ แล้วให้ไปเถิด.
แม้ในคำที่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุเจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุ
เฉพาะจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุเป็นของสงฆ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ก็ในเรื่องอุทเทสภัตนี้ จำต้องปรารถนาพระภัตตุทเทสก์ ผู้มีศีลเป็น
ที่รัก มีความละอาย มีความฉลาด. ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์นั้น พึงถามถึงลำดับ 3
ครั้ง ถ้าไม่มีใคร ๆ ทราบลำดับ พึงให้ถือเอาที่เถรอาสน์. แต่ถ้าภิกษุบางรูป
กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบภิกษุ 10 พรรษาได้ พึงถามว่า ผู้มีอายุ 10 พรรษา
มีไหม ? ถ้าภิกษุได้ฟังคำของเธอจึงบอกว่า เรา 10 พรรษา เรา 10 พรรษา
แล้วมากันมาก. อย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่ท่าน พึงสั่งว่า พวกท่าน
จงเงียบเสียงทั้งหมด แล้ว จัดตามลำดับ.
ครั้นจัดแล้ว พึงถามอุบาสกว่า ท่านต้องการภิกษุเท่าไร ?
เมื่อเขาตอบว่า เท่านี้เจ้าข้า แล้วอย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่
ท่าน พึงถามถึงจำนวนพรรษา ฤดู ส่วนแห่งวันและเงาของภิกษุผู้มาใหม่กว่า
ทุกรูป.
ถ้าเมื่อกำลังถามถึงเงาอยู่ ภิกษุผู้แก่กว่ารูปอื่นมาถึง, พึงให้แก่เธอ
ถ้าเมื่อถามถึงเงาเสร็จแล้ว สั่งว่า ถึงท่านด้วย ดังนี้ ภิกษุผู้แก่กว่ามาถึง ก็หา
ได้ไม่.
จริงอยู่ เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า นั่งด้วยความชักช้าแห่งถ้อยคำก็ดี หลับ
เสียก็ดี อุทเทสภัตที่ให้ภิกษุผู้ใหม่กว่า ถือเอาแล้ว ก็เป็นอันให้ถือเอาเสียแล้ว
ด้วยดี, ข้ามเลยไปเสีย ก็เป็นอันข้ามเลยไปด้วยดี เพราะว่า ธรรมดาของที่
ควรแจกกันนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้มาทันเท่านั้น, ความเป็นผู้มาทันในที่นั้น
พึงกำหนดด้วยอุปจา.
ก็แล ภายในโรงฉัน เครื่องล้อมเป็นอุปจาร. ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุผู้
อยู่ในอุปจารนั้น ฉะนี้แล.
ทายกบางคน ใช้คนให้นำอุทเทสบาตร 8 บาตรมาจากโรงฉัน บรร-
จุโภชนะประณีตเต็ม 7 บาตร ใส่น้ำเสียบาตรหนึ่ง ส่งไปยังโรงฉันคนถือมา

ไม่พูดว่ากระไร ประเคนไว้ในมือภิกษุทั้งหลายแล้วหลีกไป. ภัตใดภิกษุใดได้
แล้ว ภัตนั้น ย่อมเป็นของภิกษุนั้นนั่นแล.
ส่วนน้ำภิกษุใดได้ พึงงดลำดับแม้ที่ข้ามเลยไปแล้วของภิกษุนั้นเสีย
ให้เธอถือเอาอุทเทสภัตส่วนอื่น.
ก็แล เธอได้อุทเทสภัตส่วนนั้น จะทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม มี
ไตรจีวรเป็นบริวารก็ตาม ภัตนั้น ย่อมเป็นของเธอทั้งนั้น.
จริงอยู่ ลาภเช่นนี้เป็นบุญพิเศษของเธอ, แค่เพราะน้ำไม่ใช่อามิส
เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องได้อุทเทสภัตอื่น
แต่ถ้าชนผู้ถือมานั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ภัตทั้งปวงนี้
ท่านจะแบ่งกันฉันเองเถิด ดังนี้ แล้วจึงไป. น้ำอันภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันดื่ม.
แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านเจาะจงเฉพาะสงฆ์ให้พระมหาเถระ 8 รูป,
ให้ภิกษุปูนกลาง, ให้ภิกษุใหม่, ให้สามเณรผู้มีปีครบ. ให้ภิกษุผู้กล่าวมัชญิม-
นิกายเป็นต้น จงให้ภิกษุผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า.
ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์พึงชี้แจงว่า อุบาสก ท่านพูดอย่างนี้, แต่ลำดับของ
ท่านเหล่านั้นยังไม่ถึง ดังนี้แล้ว พึงให้เนื่องด้วยลำดับนั้นเอง.
อนึ่ง เมื่อภิกษุหนุ่มและสามเณรได้อุทเทสภัตกันแล้ว. ถ้าในเรือน
ของพวกทายก มีการมงคล, พึงสั่งว่า พวกเธอจงนิมนต์อาจารย์และอุปัชฌาย์
ของเธอมาเถิด.
ก็ในอุทเทสภัตใด ส่วนที่ 1 ถึงแก่สามเณร ส่วนรองถึงแก่พระมหา-
เถระทั้งหลาย. ในอุทเทสภัตนั้น สามเณรย่อม. ไม่ได้เพื่อจะไปข้างหน้าด้วยทำ-
ในใจว่า เราทั้งหลายได้ส่วนที่ 1 พึงไปตามลำดับเดินนั่นแล.

เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจงเจาะจงจากสงฆ์มาเองเถิด ดังนี้ ภิกษุพึง
กล่าวว่า สำหรับเรา ท่านจักทราบได้โดยประการอื่นบ้าง แต่ลำดับย่อมถึง
อย่างนี้ แล้วพึงให้ถือเอาด้วยอำนาจแห่งลำดับนั่นแล.
หากว่า เขากล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่อุทิศจากสงฆ์ ดังนี้ เมื่อ
บาตรอันพระภัตตุทเทสก์ยังไม่ทันสั่งให้ถือ ก็ฉวยเอาบาตรของภิกษุรูปใดรูป
หนึ่งบรรจุเต็มนำมา. แม้อุทเทสภัตที่เขานำมาแล้ว พึงให้ถือเอาตามลำดับ
เหมือนกัน.
ชนผู้หนึ่ง ซึ่งเขาใช้ไปว่า ท่านจงนำบาตรเจาะจงสงฆ์มา ดังนี้
กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงมอบบาตรใบหนึ่ง เราจักนำนิมันตนภัตมาถวาย
ถ้าชนนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ผู้นี้มาจากเรือนอุทเทสภัต จึงถามว่า ท่าน
มาจากเรือนโน้น มิใช่หรือ ? จึงตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญ ไม่ใช่นิมันตน-
ภัต เป็นอุทเทสภัต, พึงให้ถือเอาตามลำดับ.
ฝ่ายชนใด ซึ่งสั่งเขาว่า จงนำบาตรลูกหนึ่งมา จึงย้อนถามว่า จะนำ
บาตรอะไรมา ได้รับตอบว่า จงนำมาตามใจชอบของท่าน ดังนี้ แล้วมา;
ชนนี้ ชื่อ วิสสฏัฐทูต (คือทูตที่เขายอมตามใจ) เขาต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์
หรือบาตรตามสำดับ หรือบาตรส่วนตัวบุคคล อันใด พึงให้บาตรนั้นแก่เขา.
ผู้หนึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาด ซึ่งเขาใช้ไปว่า จงนำบาตรเฉพาะสงฆ์มา
ดังนี้ ไม่เข้าใจที่จะพูด จึงยืนนิ่งอยู่ ภิกษุไม่ควรถามเขาว่า ท่านมาหาใคร
หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป เพราะว่า เขาถูกถามอย่างนั้น แล้ว จะ
พึงตอบเลียนคำถามว่า มาหาท่าน หรือว่า จักนำบาตรของท่านไป. เพราะ
เหตุที่กล่าวนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชัง ไม่พึงแลดูภิกษุนั้นก็ได้. ที่เหมาะ
ควรถามว่า ท่านจะไปไหน ? หรือว่า ท่านเที่ยวทำอะไร.

เมื่อเขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์ ดังนี้ พึงให้ภิกษุ
ถือเอาแล้ว ให้บาตรไป.
ที่จัดว่า ลำดับโกงมีอยู่ชนิดหนึ่ง. จริงอยู่ ในพระราชนิเวศน์หรือ
ในเรือนของราชมหาอำมาตย์ ถวายอุทเทสภัตอย่างประณีตยิ่ง 8 ที่เป็นนิตย์
ภิกษุทั้งหลายจัดอุทเทสภัตเหล่านั้น ให้เป็นภัตที่จะพึงถึงแก่ภิกษุรูปละครั้ง ฉัน
ตามลำดับแผนกหนึ่ง.
ภิกษุบางพวกคอยกำหนดลำดับของตนว่า พรุ่งนี้แล จักถึงแก่พวกเรา
ดังนี้ แล้วไป.
ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้น ยังมิทันจะมา ภิกษุอาคันตุกะเหล่าอื่นมานั่งที่
โรงฉัน. ในขณะนั้นเอง ราชบุรุษพากันกล่าวว่า ท่านจงให้บาตรสำหรับ
ปณีตภัต พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ทราบลำดับ จะให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. ใน
ขณะนั้นเอง ภิกษุผู้ทราบลำดับก็พากันมา จึงถามว่า ท่านให้ถือเอาอะไร.
ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า ปณีตภัตในพระราชนิเวศน์ ตั้งแต่พรรษา
เท่าไรไป ? ตั้งแต่พรรษาเท่านี้ไป.
พวกภิกษุผู้ทราบลำดับ พึงห้ามว่า อย่าพึงให้ถือ แล้วให้ถือเอาตาม
ลำดับ.
ภิกษุทั้งหลายผู้ทราบลำดับมาแล้ว ในเมื่อภิกษุอาคันตุกะให้ภิกษุ
ทั้งหลายถือเอาแล้ว ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่จะให้บาตรก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ให้
ไปแล้วก็ดี, มาแล้วใน เวลาที่ราชบุรุษยังบาตรให้เต็มนำมาจากพระราชนิเวศน์
ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถือบิณฑบาต ซึ่งพระราชาทรง
ใช้ราชบุรุษไปว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลายจงมาเองเถิด ดังนี้แล้ว ทรงประเคน
บิณฑบาตในมือของภิกษุทั้งหลายนั่นแล มาแล้วก็ดี พึงห้ามว่า อย่าฉัน
แล้วพึงให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ เถิด.

หากว่า พระราชาทรงนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ฉันแล้ว ยัง
บาตรของพวกเธอให้เต็มแล้ว ถวายด้วย. ภัตที่เธอนำมา พึงให้ถือเอาตามลำดับ
แต่ถ้ามีภัตเพียงเล็กน้อยที่เขาใส่ในบาตร ด้วยคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่าไปมือ
เปล่า. ภัต ไม่พึงให้ถือเอา.
พระมาหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าฉันเสร็จแล้ว มีบาตรเปล่ากลับมา ภัต
ที่พวกเธอฉันแล้ว ย่อมเป็นสินใช้แก่พวกเธอ.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า ในการฉันปณีตภัตนี้ ไม่มีกิจเนื่อง
ด้วยสินใช้. ภิกษุผู้ไม่ทราบลำดับ พึงนั่งรอจนกว่าภิกษุผู้ทราบจะมา, แม้เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ภัตที่ฉันแล้ว เป็นอันฉัน แล้วด้วยดี, แต่ไม่พึงให้เธอถือเอาภัตอื่น
ในที่ ๆ ถึงเข้าในบัดนี้. บิณฑบาตหนึ่งมีราคาหนึ่งร้อย มีไตรจีวรเป็นบริวาร
ถึงแก่ภิกษุไม่มีพรรษา. และภิกษุในวิหารจดไว้ว่า บิณฑบาตเห็นปานนี้ ถึง
แก่ภิกษุไม่มีพรรษา ถ้าว่า ต่อล่วงไป 60 ปี บิณฑบาตเห็นปานนั้นอื่น จึง
เกิดขึ้นอีกไซร้.
ถามว่า บิณฑบาตนี้ จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้ไม่มีพรรษา
หรือว่า จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้มีพรรษา 60 ?
ตอบว่า ในอรรถกถาทั้งหลายท่านกล่าวว่า พึงให้ถือเอาตามลำดับ
ภิกษุผู้มีพรรษา 60 เพราะว่า ภิกษุนี้รับลำดับแล้วก็แก่ไปเอง.
ภิกษุรูปหนึ่งฉันอุทเทสภัตแล้ว (ลาสิกขา) เป็นสามเณร ย่อมได้
เพื่อถือเอาภัตนั้น อันถึงตามลำดับแห่งสามเณรอีก. ได้ยินว่า ภิกษุนี้ชื่อว่า
ผู้ตกเสียในระหว่าง.
ฝ่ายสารเณรรูปใด มีปีบริบูรณ์ จักได้อุทเทสภัตในวันพรุ่ง แต่เธอ
อุปสมบทเสียในวันนี้ ลำดับของสามเณรรูปนั้น เป็นอันเลยไป.

อุทเทสภัตถึงแก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แต่บาตรของเธอไม่เปล่า, เธอจึงให้
มอบบาตรของภิกษุอื่นซึ่งนั่งใกล้กันไปแทน.
ถ้าว่า ชนเหล่านั้นนำบาตรนั้นไปเสียด้วยความเป็นขโมย, เป็นสินใช้
แก่เธอ. แต่ถ้าว่า ภิกษุนั้นยอมให้ไปเองว่า เราให้บาตรของเราแทนท่าน
นี้ไม่เป็นสินใช้.
แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีความต้องการด้วยภัตนั้น จึงบอกกะ
ภิกษุอื่นว่า ภัตของเราพอแล้ว, เราให้ภัตนั้นแก่ท่าน ท่านจงส่งบาตรไปให้
นำมาเถิด สิ่งใดเขานำมาจากที่นั้น, สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของภิกษุผู้เจ้าของ
บาตร.
หากว่า คนที่นำบาตรไปเลยลักไปเสีย, ก็เป็นอันลักไปด้วยดี, ไม่เป็น
สินใช้ เพราะเธอได้ให้ภัตแก่เจ้าของบาตร.
ในสำนักมีภิกษุ 10 รูป ใน 10 รูปนั้น เป็นผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เสีย
9 รูป รูป 1 รับ* เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจะบอกบาตรสำหรับอุทเทสภัต 10
บาตร ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ ไม่สามารถจะให้ถือเอา ภิกษุนอกนี้รับ
ด้วยคิดว่า อุทเทสภัตทั้งหมดถึงแก่เรา ดังนี้ ลำดับไม่มี.
หากว่า เธอรับเอาให้ถึงที่ละส่วน ๆ ลำดับย่อมคงอยู่. ภิกษุนั้น
ครั้นรับแล้วอย่างนั้น ให้เขานำมาทั้ง 10 บาตรแล้ว ถวาย 9 บาตรแก่ภิกษุ
ผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ว่า ขอท่านผู้เจริญ จงทำความสงค์เคราะห์แก่ข้าพเจ้า
ภัตเช่นนี้ จัดเป็นภัตที่ภิกษุถวาย ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์สมควรรับ.
หากว่า อุบาสกนั้น นิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญพึงไปเรือน และภิกษุนั้น
ชวนภิกษุเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ จงเป็นเพื่อนข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไป
* สาทิยนโก-(ส+อาทิยนโก).

ยังเรือนของอุบาสกนั้น เธอได้สิ่งใดที่ในเรือนนั้น สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็น
ของเธอเท่านั้น ภิกษุนอกนี้ย่อมได้ของที่เธอถวาย.
หากว่า อุบาสกนั้นนิมนต์ให้นั่งในเรือนแล้วและถวายน้ำทักษิโณทก
แล้วถวายยาคูและของขบเคี้ยวเป็นต้นแก่ภิกษุเหล่านั้น ยาคูเป็นต้นนั้น ย่อมควร
แก่ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์นอกนี้ เฉพาะด้วยถ้อยคำของภิกษุนั้นที่ว่า ท่าน
ผู้เจริญ ชนทั้งหลายถวายสิ่งใด ท่านจงถือเอาสิ่งนั้นเถิด ดังนี้.
พวกทายกบรรจุภัตลงในบาตรจนเต็มแล้ว ถวายเพื่อต้องการให้ถือ
เอาไป ภัตทั้งหมดย่อมเป็นของภิกษุนั่นเท่านั้น ภัตที่ภิกษุนั้นให้ จึงควรแก่
พวกภิกษุนอกนี้.
แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์เหล่านั้น อันภิกษุนั้นเผดียงไว้
แต่ในสำนักว่า ท่านผู้เจริญ จงรับภิกษุของข้าพเจ้า และสมควรทำตามถ้อย
คำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไปไซร้ พวกเธอฉันภัตใดในที่นั้น และนำภัต
ใดในที่นั้นไป ภัตนั้นทั้งหมดเป็นของพวกเธอเท่านั้น.
แม้ถ้าว่า พวกเธออ้อนภิกษุนั้นมิได้เผดียงว่า ท่านจงรับภิกษาของ
ข้าพเจ้า แต่ได้รับเผดียงว่า สมควรทำตามคำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไป.
หากว่า พวกชาวบ้านฟังภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำอนุโมทนาด้วยเสียง
อันไพเราะ และเลื่อมใสในอาการอันสงบระงับของพระเถระทั้งหลาย จงถวาย
สมณบริขารเป็นอันมาก ลาภนี้ เกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในเหล่าพระเถระ
จัดเป็นส่วนพิเศษ เพราะฉะนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน.
ทายกผู้หนึ่ง นำบาตรที่ให้เฉพาะสงฆ์แล้ว ให้ถือเอาตามลำดับไป
บรรจุบาตรเต็มด้วยขาทนียะและโภนียะอันประณีตนำมาถวายว่า ท่านเจ้าข้า
สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภคภัตนี้ ภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันฉัน แต่ต้องงดลำดับ แม้ที่
ล่วงไปแล้วของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสีย ให้อุทเทสภัตอื่น.

หากว่า ทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรเป็นของเฉพาะสงฆ์ทั้งปวง
ให้ก่อนทีเดียว พึงมอบให้บาตรเป็นของภิกษุลัชชีรูปหนึ่ง และเมื่อเขานำมา
แล้วกล่าวว่า สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภค ดังนี้พึงแบ่งกันฉัน .
อนึ่ง ทายกผู้นำภัตมาด้วยถาดหนึ่งถวายว่า ข้าพเจ้าขอถวายภัตเฉพาะ
สงฆ์ อย่าให้รูปละคำ พึงให้กะให้พอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุรูปหนึ่งตาม
ลำดับ.
หากว่า เขานำภัตมาแล้ว ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรจึงเป็นผู้นิ่งอยู่,
อย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร ? ท่านประสงค์จะถวายใคร ? เพราะว่า
เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า นำมาเพื่อท่าน ประสงค์จะถวายท่าน. เพราะ
เช่นนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชังภิกษุนั้น จะไม่พึงเอาใจใส่เธอ แม้ซึ่งเป็น
ผู้ควรเอี้ยวคอแลดู.
แต่ถ้าภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร ? ดังนี้ เขา
จะตอบว่า ข้าพเจ้าถือเอาอุทเทสภัตมา ภิกษุลัชชีรูปหนึ่งพึงให้ถือเอาตามลำดับ.
ถ้าภัตที่เขานำมามีมาก และพอแก่ภิกษุทั้งปวง ไม่ต้องให้ถือเอาตาม
ลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.
เมื่อทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรที่เฉพาะสงฆ์ให้ อย่าถามว่า
ท่านจะนำอะไรมา ? พึงให้ถือเอาตามลำดับปกตินั่นแล.
ส่วนข้าวปายาสหรือบิณฑบาตมีรสอันใด สงฆ์ได้อยู่เป็นนิตย์, สำหรับ
โภชนะประณีตเช่นนั้น พึงจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง. ยาคูพร้อมทั้งของบริวารก็ดี
ผลไม้ที่มีราคามากก็ดี ของขบเคี้ยวที่ประณีตก็ดี ควรจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง
เหมือนกัน. แต่ภัตยาคูผลไม้และของขบเคี้ยวตามปกติ ควรจัดลำดับเป็นอัน
เดียวกันเสีย.

เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำเนยใสมา สำหรับเนยใสทั้งปวง ควร
เป็นลำดับเดียวกัน. น้ำมันทั้งปวงก็เหมือนกัน
อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำน้ำผึ้งมา สำหรับน้ำผึ้งควรเป็น
ลำดับอันเดียวกัน. น้ำอ้อยและเภสัชมีชะเอมเป็นต้นก็เหมือนกัน.
ถามว่า ถ้าพวกทายกถวายของหอมและระเบียบเฉพาะสงฆ์, จะควร
แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์หรือไม่ควร ?
พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควร เพราะท่านห้ามแต่อามิสเท่านั้น
แต่ไม่ควรถือเอาเพราะเขาถวายเฉพาะสงฆ์.
อุทเทสภัตตกถา จบ

[นิมันตนภัต]


นิมันตนภัต ถ้าเป็นของส่วนบุคคล, ผู้รับเองนั้นแลเป็นใหญ่ ส่วน
ที่เป็นของสงฆ์ พึงให้ถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.
แต่ในนิมันตนภัตนี้ ถ้าเป็นทูตผู้ฉลาด เขาไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตสำหรับภิกษุสงฆ์ในพระราชนิเวศน์ กล่าวว่า ขอท่าน
ทั้งหลายจงรับภิกษา ดังนี้ไซร้ ภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติก-
ธุดงค์.
ถ้าทูตไม่ฉลาดกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับภัต ดังนี้. พระภัตตุท-
เทสก์เป็นผู้ฉลาด ไม่ออกชื่อว่า ภัต กล่าวแต่ว่า ท่านจงไป ท่านจงไป
ดังนี้ แม้อย่างนี้ ภัตนั้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
แต่เมื่อพระภัตตุทเทสก์กล่าวว่า ภัตถึงแก่พวกท่านตามลำดับ ดังนี้
ไม่ควรแก่ภิกษุถือปิณฑปาติกธุดงค์.